ไพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำหรับไพความหมายอื่นดูที่ ไพ (แก้ความกำกวม)
ไพ (อ่านออกเสียง พาย) π คือค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว "p" ในอักษรละติน มีชื่อว่า "pi" (อ่านว่า พาย ในภาษาอังกฤษ แต่อ่านว่า พี ในภาษากรีก) บางครั้งเรียกว่า ค่าคงที่ของอาร์คิมิดีส หรือจำนวนของLudolph
ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังกำลังสอง ในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อยสุดที่ทำให้ sin(x) = 0
ค่า π โดยประมาณ 50 ตำแหน่งคือ
- 3.14159 26535 89793 23846 26433 83279 50288 41971 69399 37510
แม้ว่าค่านี้มีความละเอียดพอที่จะใช้ในงานวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์แล้ว ปัจจุบันมีการคำนวณค่า π ได้หลายตำแหน่ง ซึ่งหาได้ทั่วไปจากอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปสามารถคำนวณค่า π ได้พันล้านหลัก ขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์คำนวณค่า π ได้เกินล้านล้านหลัก และไม่พบว่ามีรูปแบบที่ซ้ำกันของค่า π ปรากฏอยู่
สารบัญ |
[แก้] สูตรที่เกี่ยวข้องกับ π
[แก้] เรขาคณิต
π มักปรากฏในสูตรที่เกี่ยวกับวงกลมและทรงกลม
รูปร่างทางเรขาคณิต | สูตร |
---|---|
เส้นรอบวงของวงกลมที่มีรัศมี r และเส้นผ่านศูนย์กลาง d | |
พื้นที่ของวงกลมที่มีรัศมี r | |
พื้นที่ของวงรีที่มีแกนเอก a และแกนโท b | |
ปริมาตรของทรงกลมที่มีรัศมี r และเส้นผ่านศูนย์กลาง d | |
พื้นที่ผิวของทรงกลมที่มีรัศมี r | |
ปริมาตรของทรงกระบอกที่สูง h และรัศมี r | |
พื้นที่ผิวของทรงกระบอกที่สูง h และรัศมี r | |
ปริมาตรของกรวยที่สูง h และรัศมี r | |
พื้นที่ผิวของกรวยที่สูง h และรัศมี r |
[แก้] การวิเคราะห์
- François Viète, 1593:
- สูตรของไลบ์นิซ:
- หรือเขียนอีกแบบได้เป็น:
- ผลคูณของ Wallis:
- ปัญหาของBasel, ถูกแก้เป็นครั้งแรกโดย ออยเลอร์ (ดูเพิ่มเติม ฟังก์ชัน Riemann zeta):
- ฟังก์ชันแกมมา เมื่อหาค่า 1/2:
- สูตรของสเตอร์ลิง:
- เอกลักษณ์ของออยเลอร์ (เรียกโดย ริชาร์ด ไฟน์แมน):
[แก้] เศษส่วนต่อเนื่อง
π เขียนในรูปเศษส่วนต่อเนื่องได้หลายแบบ เช่น
(สำหรับรูปแบบอื่นๆ ดูได้ที่ The Wolfram Functions Site)
[แก้] ทฤษฎีจำนวน
- ความน่าจะเป็นในการสุ่มจำนวนเต็มขึ้นมา 2 จำนวน แล้วเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กัน เท่ากับ 6/π2
[แก้] ฟิสิกส์
- หลักการความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก:
- สมการสนามของไอน์สไตน์ ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป:
- กฎของคูลอมบ์ สำหรับแรงไฟฟ้า:
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ค่า π
10,000 หลัก | 100,000 หลัก | 1,000,000 หลัก
ไพ เป็นบทความเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |