ประเทศบัลแกเรีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: บัลแกเรีย: Съединението прави силата ("พลังจากความเป็นหนึ่งเดียว") |
|||||
เพลงชาติ: Mila Rodino ("มาตุภูมิที่รัก") |
|||||
เมืองหลวง | โซเฟีย |
||||
เมืองใหญ่สุด | โซเฟีย | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาบัลแกเรีย | ||||
รัฐบาล | ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา | ||||
- ประธานาธิบดี | เกออร์กี พาร์วานอฟ | ||||
- นายกรัฐมนตรี | เซียร์เกย์ สตานีเชฟ | ||||
เอกราช | จาก จักรวรรดิออตโตมาน | ||||
- Founded | พ.ศ. 1224 | ||||
- Christianized | พ.ศ. 1408 | ||||
- Gained autonomy | 3 มีนาคม พ.ศ. 2421 | ||||
- ประกาศ | 22 กันยายน พ.ศ. 2451 | ||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
111,001.9 กม.² (อันดับที่ 104) 42,858 ไมล์² 0.3% |
||||
ประชากร - 2548 ประมาณ - 2544 - ความหนาแน่น |
7,726,000 (อันดับที่ 93) 7,932,984 [1] 67/กม² (อันดับที่ 123) 174/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 62.292 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 66) 9,223 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 66) |
||||
HDI (2546) | 0.808 (อันดับที่ 55) – สูง | ||||
สกุลเงิน | เลฟ (BGN ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
EET (UTC+2) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .bg | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +359 |
สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Republic of Bulgaria) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและประเทศมาซิโดเนียทางตะวันออก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบ
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป บัลแกเรียมีฐานะเป็นรัฐชาติในปี พ.ศ. 1224 ประกอบขึ้นจากชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ (ชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน) ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1561 และต่อมาตกอยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมาน 5 ศตวรรษ จากปี พ.ศ. 1939 จนถึงปี พ.ศ. 2421 จึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวรรดิรัสเซีย บัลแกเรียเข้าร่วมในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งกับฝ่ายอักษะ และเมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครอง บัลแกเรียปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2533
[แก้] การเมือง
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 บัลแกเรียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 จังหวัด (provinces - oblasti) หลังจากที่เดิมแบ่งเป็น 9 จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยที่แต่ละแห่งตั้งชื่อตามเมืองหลวงของจังหวัด โดยที่เมืองหลวงประจำประเทศเป็นจังหวัดหนึ่งแยกต่างหาก
|
|
|
|
[แก้] ภูมิศาสตร์
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] เศรษฐกิจ
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
บัลแกเรียประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2533 ภายหลังที่ COMECON (องค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก) ล่มสลายลงพร้อมกับการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต เศรษฐกิจของบัลแกเรียฟื้นตัว เป็นครั้งแรกภายหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ. 2537 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บัลแกเรียได้ทำความตกลง Stand-by Arrangement กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีระยะเวลา 2 ปี ภายใต้วงเงิน 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจนถึงปัจจุบัน บัลแกเรียได้กู้เงินจาก IMF ภายใต้ความตกลงดังกล่าว จำนวน 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้สิ้นสุดการทบทวนการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของบัลแกเรียเป็นครั้งที่ 3 ของปี พ.ศ. 2546 และเห็นว่า ดัชนีเศรษฐกิจมีผล เป็นที่น่าพอใจ จึงอนุมัติให้บัลแกเรียมีสิทธิกู้เงินได้อีก จำนวน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาคของบัลแกเรียเป็นไปในเชิงบวก และเศรษฐกิจมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมีการดำเนินการตามแผนของ IMF และ Currency Board อย่างเคร่งครัด เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับ สถานะทางเศรษฐกิจของบัลแกเรียจึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามาก อาทิ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร ซึ่งการรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของบัลแกเรียต่อไปในระยะกลาง โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างความพร้อมให้กับบัลแกเรียในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550
[แก้] ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
บัลแกเรียถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายตัวได้อีกมากของไทย และเป็นประเทศที่อยู่ในระหว่างการปฏิรูปและมีลู่ทางที่จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรปต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียยังเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation) รวมทั้ง บัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550 บัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล อาทิ มาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น อีกทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นตัวเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง ปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น
[แก้] ประชากร
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] วัฒนธรรม
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หาความหมาย จากพจนานุกรม
หนังสือ จากวิกิตำรา
คำคม จากวิกิคำคม
ต้นแหล่งเอกสาร จากวิกิซอร์ซ
ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
ประเทศ ใน ทวีปยุโรป | |
กรีซ · โครเอเชีย · จอร์เจีย1 · สาธารณรัฐเช็ก · ซานมารีโน · เซอร์เบีย · ไซปรัส1 · เดนมาร์ก · ตุรกี2 · นอร์เวย์ · เนเธอร์แลนด์ · 1. ทางภูมิศาสตร์อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มักถูกจัดอยู่ในทวีปยุโรป เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน; 2. มีพื้นที่ทั้งในทวีปยุโรปและในทวีปเอเชีย |
|
|
---|---|
กรีซ · สาธารณรัฐเช็ก · ไซปรัส · เดนมาร์ก · เนเธอร์แลนด์ · เบลเยียม · โปแลนด์ · โปรตุเกส · |
ประเทศบัลแกเรีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |