พ.ศ. 2546
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2543 2544 2545 - พ.ศ. 2546 - 2547 2548 2549 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 - คริสต์ศตวรรษที่ 22 |
พุทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น:
- ปีสากลแห่งน้ำจืด
- ปีแห่งผู้ทุพพลภาพในยุโรป
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2546
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม
- 29 มกราคม – ข่าวลือในกัมพูชาที่ว่า สุวนันท์ คงยิ่ง ดารานักแสดงไทยขวัญใจชาวกัมพูชา กล่าวว่านครวัดเป็นของไทย เป็นเหตุให้เกิดจลาจล มีการบุกเผาสถานทูตไทยและอาคารพาณิชย์ที่คนไทยเป็นเจ้าของ ในกรุงพนมเปญ รัฐบาลส่งเครื่องบินลำเลียงซี-130 ไปรับคนไทยกว่า 500 คนกลับประเทศ ปิดด่านชายแดน ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และเรียกร้องให้กัมพูชาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหาย
[แก้] กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์:
- รัฐบาลไทยเริ่มสงครามต่อต้านยาเสพติด
- กระสวยอวกาศโคลัมเบียขององค์การนาซา ระเบิดเหนือเท็กซัส ระหว่างการเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ในเที่ยวบิน เอสทีเอส-107 คร่าชีวิตนักบิน 7 คน
- 15 กุมภาพันธ์ – ประชาชนราว 10-15 ล้านคนใน 600 เมืองทั่วโลก ร่วมกันประท้วงสหรัฐฯ ในการทำสงครามกับอิรัก เป็นการประท้วงที่มีคนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์
[แก้] มีนาคม
- 12 มีนาคม – องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนการแพร่ระบาดของโรคซาร์
- 15 มีนาคม – หู จิ่นเทา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีน ต่อจากนายเจียง เจ๋อหมิน
[แก้] พฤษภาคม
- 17 พฤษภาคม – โปรแกรมค้นดูเว็บที่ขณะนี้ใช้ชื่อว่า มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ เปลี่ยนชื่อจาก ฟีนิกซ์ เป็น ไฟร์เบิร์ด
- 22 พฤษภาคม – สภาผู้แทนราษฎร ลงมติให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตยแห่งชาติ
- 30 พฤษภาคม – กลุ่มทหารในสังกัดรัฐบาลประเทศพม่า บุกเข้าจับกุมตัวนางออง ซาน ซูจี ทำให้ความหวังที่จะเกิดประชาธิปไตยในประเทศพม่า มืดมนลงไปอีก
[แก้] มิถุนายน
- 21 มิถุนายน – แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ ตอนที่ 5 ของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ วางจำหน่ายทั่วโลก
[แก้] กรกฎาคม
- 8 กรกฎาคม – นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศแผนการจัดระเบียบเกมออนไลน์ เนื่องจากมีเด็กติดเกมออนไลน์จำนวนมาก
- 15 กรกฎาคม – ก่อตั้งมูลนิธิมอซิลลา
- 22 กรกฎาคม – ทหารสหรัฐฯ บุกโจมตีอาคารหลังหนึ่งในเมืองโมสูลของประเทศอิรัก เป็นผลให้บุตรชาย 2 คน ของซัดดัม ฮุสเซน คือ อูเดย์และคูเซย์ เสียชีวิต
- 25 กรกฎาคม – แลนซ์ อาร์มสตรอง สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการชนะเลิศการแข่งขันตูเดอฟรองซ์ เป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกัน
[แก้] สิงหาคม
- 4 สิงหาคม – ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย ทำผลงานดีที่สุดในชีวิตด้วยการขึ้นเป็นมืออันดับ 9 ของโลก
- 11 สิงหาคม
- องค์การนาโตรับหน้าที่บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพในอัฟกานิสถาน นับเป็นปฏิบัติการนอกทวีปยุโรปครั้งแรกในรอบ 54 ปี
- ริดวน อิซามุดดิน (ฮัมบาลี) หนึ่งในแกนนำขบวนการก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามมิยาห์ (เจไอ) ถูกจับกุมได้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยความร่วมมือระหว่างตำรวจไทยกับซีไอเอ
- 24 สิงหาคม – ยานวอยเอเจอร์ 2 อยู่ห่างจากโลก 71 หน่วยดาราศาสตร์ และกำลังเคลื่อนห่างออกจากระบบสุริยะด้วยอัตราเร็ว 3.3 หน่วยดาราศาสตร์ต่อปี (ประมาณ 15 กิโลเมตร/วินาที) อีกประมาณ 40,000 ปี ยานวอยเอเจอร์ 2 จะเดินทางถึงระบบดาวเคราะห์อื่น
- 27 สิงหาคม – ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี
- 30 สิงหาคม - เกิดเหตุวัยรุ่นนับร้อยยกพวกตีกันระหว่างชมคอนเสิร์ตที่สวนลุมไนท์พลาซ่า ในงานมหกรรมฟรีคอนเสิร์ตต่อต้านเทปผี ซีดีเถื่อน ของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 31 สิงหาคม เหตุครั้งนี้เป็นข่าวอาชญากรรมที่ครึกโครมในเวลานั้น
[แก้] กันยายน
- 10 กันยายน – แอนนา ลินห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนถูกแทงเสียชีวิต นับเป็นนักการเมืองชื่อดังคนที่ 2 ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาของสวีเดนที่ถูกลอบสังหาร
- 21 กันยายน – ภารกิจยาวนาน 14 ปี ตั้งแต่เดินทางออกจากโลกของยานกาลิเลโอสิ้นสุดลง เมื่อยานถูกบังคับให้ทำลายตัวเองในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
- 23 กันยายน – วันก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
- 27 กันยายน – ยานสมาร์ต-1 ขึ้นสู่อวกาศ
- 28 กันยายน – ทหารไทยชุดที่ 2 ออกเดินทางไปประเทศอิรัก ปฏิบัติหน้าที่บูรณะฟื้นฟูและช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก ณ เมืองคาบารา
[แก้] ตุลาคม
- 1 ตุลาคม – นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ปฏิเสธข่าวลือที่ว่าอาจมีขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ 6 ลูก ถูกนำมาใช้ก่อการร้ายในการประชุมเอเปคที่จะมีขึ้นในปลายเดือนตุลาคม
- 5 ตุลาคม – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเวลา 6 วัน
- 8 ตุลาคม
- เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 3 ของรัฐสภา เอกสารของคณะกรรมาธิการ อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งได้รับความเสียหาย ห้องประชุมดังกล่าวใช้เป็นที่เก็บเอกสารคดีการเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (พรรคประชากรไทย)
- นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะ แถลงผลการวิจัยบั้งไฟพญานาค ที่มักเกิดขึ้นในวันออกพรรษาบริเวณกลางแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ว่าทีมนักวิจัยสรุปว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- 9 ตุลาคม – อทัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดียและคณะ เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม 2546 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ
- 12 ตุลาคม – ช่วงช่วงและหลินฮุ่ย แพนด้าซึ่งเป็นทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เดินทางถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- 15 ตุลาคม
- โครงการอวกาศของจีน: สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งยานเสินโจว 5 พร้อมนักบินอวกาศคนแรกของตนขึ้นสู่อวกาศ ยานเสินโจว 5 โคจรรอบโลก 14 รอบ โดยใช้เวลา 21 ชั่วโมง ก่อนกลับสู่พื้นโลก
- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับรถไฟฟ้าขบวนแรกในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร โดยบริษัท ซีเมนส์ เอจี จำกัด จัดส่งมาทางเครื่องบินจากประเทศออสเตรีย ที่ท่าอากาศยานทหารกองทัพอากาศ
- 19-21 ตุลาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี ค.ศ. 2003
- 31 ตุลาคม – มหาธีร์ โมฮัมหมัด ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากดำรงตำแหน่งมานานถึง 22 ปี
[แก้] พฤศจิกายน
- 14 พฤศจิกายน – นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อย เซดนา
- 23 พฤศจิกายน – เอดูอาร์ด เชวาร์ดนาดเซ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งจอร์เจีย หลังเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่คัดค้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
[แก้] ธันวาคม
- 13 ธันวาคม – ซัดดัม ฮุสเซน ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา
- 27 ธันวาคม
- กำเนิดบทความแรก (ดาราศาสตร์) ในวิกิพีเดียภาษาไทย
- เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ในคาร์บาลา ประเทศอิรัก ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย
- 31 ธันวาคม – สหรัฐฯ แต่งตั้งให้ไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศพันธมิตรนอกนาโต อย่างเป็นทางการ
- 31 ธันวาคม – ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำสถิติเพิ่มขึ้นสูงสุดในโลกเมื่อเทียบกับปีก่อน (+116%)
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 30 เมษายน - ล้อต๊อก นักแสดงตลกและศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2457)
- 12 มิถุนายน – เกรกอรี เปก นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2459)
- 29 มิถุนายน – แคทารีน เฮปเบิร์น นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2450)
- 22 กรกฎาคม – อูเดย์ ฮุสเซน และ คูเซย์ ฮุสเซน บุตรของซัดดัม ฮุสเซน
- 30 สิงหาคม – ชาลส์ บรอนสัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464)
- 6 พฤศจิกายน – ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (ประสูติ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)
- 7 พฤศจิกายน – ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรีและอดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2455)
- 26 ธันวาคม - โยชิโอะ ชิราอิ แชมป์โลกมวยสากลคนแรกของประเทศญี่ปุ่น
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- 2003 Year in Review - ประมวลเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 2003
- 2003 Year-End Google Zeitgeist - เหตุการณ์สำคัญและคำค้นภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดใน ปี ค.ศ. 2003 โดยกูเกิล