พ.ศ. 2533
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2530 2531 2532 - พ.ศ. 2533 - 2534 2535 2536 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531-2534)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2533
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 2 กุมภาพันธ์ – ประธานาธิบดี เฟรเดอริก วิลเลม เดอ คลาร์ก ประกาศสิ้นสุดการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้
- 7 กุมภาพันธ์ – คณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต เห็นชอบที่จะยุติการผูกขาดอำนาจ นับเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- 11 มีนาคม – ประเทศลิทัวเนีย ได้รับเอกราชคืนจากสหภาพโซเวียต
- 24 เมษายน – กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี นำกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขึ้นสู่อวกาศ
- 15 พฤษภาคม – Portrait of Doctor Gachet โดย วินเซนต์ แวน โกะห์ ถูกจำหน่ายด้วยมูลค่า 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นภาพเขียนที่แพงที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น
- 22 พฤษภาคม – สาธารณรัฐอาหรับเยเมนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน ผนวกเข้าด้วยกันเป็นสาธารณรัฐเยเมน
- 22 มิถุนายน - เวลาประมาณ 2.00 น. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือ รสช. อ้างเหตุความมั่นคงบุกยึดรถถ่ายทอดของอ.ส.ม.ท. ที่จอดอยู่บริเวณหน้าวัดไผ่ตัน เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเหตุนี้ต่อมาได้ลุกลามกลายเป็นเหตุขัดแย้งประการหนึ่งที่ทำให้ทหารคณะนี้ทำการรัฐประหารในปีต่อมาด้วย
- 30 มิถุนายน – เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออกรวมเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน
[แก้] กรกฎาคม-สิงหาคม
- 27 กรกฎาคม – วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- 27 กรกฎาคม – เบลารุสประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
- 29 กรกฎาคม – วันสถาปนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- 30 กรกฎาคม – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา
- 28 กรกฎาคม – อัลแบร์โต ฟูจิมูริ ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศเปรู และเป็นชาวเอเชียตะวันออกคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของชาติที่ไม่ใช่เอเชีย
- 2 สิงหาคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: อิรักรุกรานคูเวต เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าว
- 6 สิงหาคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สั่งการให้ทั่วโลกคว่ำบาตรทางการค้าต่อประเทศอิรัก เพื่อตอบโต้การรุกรานคูเวต
- 10 สิงหาคม – ยานแมเจลแลนเดินทางถึงดาวศุกร์
- 12 สิงหาคม – นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ ในมลรัฐเซาท์ดาโคตา
- 23 สิงหาคม – เยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออกประกาศว่าจะผนวกเข้าด้วยกันในวันที่ 3 ตุลาคม
- 28 สิงหาคม – ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักประกาศว่าคูเวตเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรัก
[แก้] กันยายน-ธันวาคม
- 1 กันยายน – สืบ นาคะเสถียร ใช้อาวุธปืนกระทำอัตวินิบาตกรรมในป่าห้วยขาแข้ง
- 24 กันยายน – เวลา 23.15 น. เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามไปทั่วบริเวณ มีผู้เสียชีวิต 89 ราย บาดเจ็บ 113 ราย และบ้านเรือนเผาไหม้ไป 91 หลัง เหตุครั้งนี้เป็นข่าวครึกโครมอย่างมากในปีนั้น
- 3 ตุลาคม – การกลับมารวมชาติของเยอรมนี: รัฐเยอรมัน 5 รัฐ ในเยอรมนีตะวันออก เข้ารวมกับเยอรมนีตะวันตกอย่างเป็นทางการ
- 15 ตุลาคม – มิคาเอล กอร์บาชอฟ ผู้นำรัสเซีย ได้รับการประกาศให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการลดความตึงเครียดจากสงครามเย็น และเปิดประเทศมากขึ้น
- 22 ตุลาคม – สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ณ กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมของทหารไทย ที่เดินทางไปปฏิบัติการรบร่วมกับชาติพันธมิตร ในสงครามเวียดนาม
- 13 พฤศจิกายน – เว็บเพจแรก ถูกสร้างขึ้น [1]
- 14 พฤศจิกายน – เยอรมนีแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้แนวโอเดอร์-ไนเซ เป็นเขตแดนระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์
- 22 พฤศจิกายน – นางมากาเร็ต แทตเชอร์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
- 1 ธันวาคม – อังกฤษและฝรั่งเศสเชื่อมต่ออุโมงค์รถไฟใต้ดิน Channel Tunnel ลอดช่องแคบอังกฤษที่ความลึกจากพื้นทะเล 40 เมตร ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางไปมาหากันระหว่างเกาะบริเตนใหญ่และทวีปยุโรปได้เป็นครั้งแรกนับจากยุคน้ำแข็ง
- 8 ธันวาคม – พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ยุวชนทหาร ที่สะพานท่านางสังข์ ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
[แก้] ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
- 26 มกราคม – สุริยุปราคาวงแหวน (ทวีปแอนตาร์กติกา ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก)
- 9 กุมภาพันธ์ – จันทรุปราคาเต็มดวง มองเห็นได้ในประเทศไทย
- 22 กรกฎาคม – สุริยุปราคาเต็มดวง (ตอนเหนือของรัสเซีย ตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก)
- 6 สิงหาคม – จันทรุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในประเทศไทย
[แก้] วันเกิด
- 15 เมษายน – เอมมา วัตสัน นักแสดงชาวอังกฤษ (รับบทเป็น เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์)
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 24 กุมภาพันธ์ – มาลคอล์ม ฟอร์บ ผู้พิมพ์นิตยสารฟอร์บ (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2462)
- 26 สิงหาคม – มิโนะรุ ฮอนดะ นักดาราศาสตร์ชาวญี่ปุ่น (เกิด 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456)
- 15 สิงหาคม - จิมมี่ คาร์รัทเธอร์ อดีตแชมป์โลกมวยสากลชาวออสเตรเลีย
- 1 กันยายน - สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติคนสำคัญของไทย
- 15 กันยายน - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช