เวลาสากลเชิงพิกัด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวลาสากลเชิงพิกัด (UTC - Coordinated Universal Time) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมาย บวก (+) หรือ ลบ (-) เทียบจากหน่วย เวลาสากล ซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจาก Greenwich Mean Time (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่าน Royal Greenwich Observatory ใน กรีนิช, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลา GMT ยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน)
ตัวอย่างเวลาของที่ต่าง ๆ ในโลก ถ้าเวลาสากลเชิงพิกัดมีค่า 10:00
- ลอสแองเจอลีส สหรัฐอเมริกา (UTC -8) – เวลาท้องถิ่น 2:00
- นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (UTC -5) – เวลาท้องถิ่น 5:00
- ลอนดอน สหราชอาณาจักร (UTC) – เวลาท้องถิ่น 10:00
- กรุงเทพ ประเทศไทย (UTC +7) – เวลาท้องถิ่น 17:00
- โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (UTC +9) – เวลาท้องถิ่น 19:00
อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูร้อน ในบางพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ช่วงเวลาจากวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม จนถึงวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เวลาท้องถิ่น จะใช้เวลาออมแสงแทน ซึ่งโดยทั่วไปมีค่าแตกต่างจากเวลาปกติ 1 ชั่วโมง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- What is Universal Time ? กองทัพเรือสหรัฐ