มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) |
ชื่อ (อังกฤษ) | Kasetsart University (KU) |
ก่อตั้ง | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 |
ประเภทสถาบัน | รัฐ |
อธิการบดี | รศ. ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ |
คำขวัญ | ประชาชน คือ เจ้าของประเทศ เกษตรศาสตร์ คือ ภาษีของประชาชน |
เพลงประจำสถาบัน | เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ |
ต้นไม้ประจำสถาบัน | นนทรี |
สีประจำสถาบัน | สีเขียวใบไม้ |
ที่ตั้ง/วิทยาเขต | เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 |
เว็บไซต์ | www.ku.ac.th |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่ม ทำการเปิดสอนเฉพาะด้านเกษตรศาสตร์ ต่อมา ได้มีการขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ และ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาด้านการเกษตรของไทย โดยทั้ง 2 ท่านได้เริ่มก่อตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ขึ้นที่ ตำบลหอวัง เยื้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 และได้ย้ายไปที่ ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม
ในเวลาต่อมา หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษดากร และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ขยายการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมไปสู่ระดับภูมิภาค โดยภาคกลาง ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี ภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสงขลา แต่ในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วย โดยหลวงอิงคศรีกสิการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และพระช่วงเกษตรศิลปการ ได้ร่วมกันเสนอให้คงโรงเรียนไว้ที่ อำเภอแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" แต่ไม่นานโรงเรียนก็ได้ปิดลงตามการปรับระบบราชการในกระทรวงธรรมการ
แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ขึ้นที่ อำเภอแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ อีกครั้ง ตามความต้องการของกระทรวงเกษตราธิการ แต่เนื่องจากกระทรวงเกษตราธิการมีสถานีกสิกรรมอยู่ที่ อำเภอบางเขน ดังนั้น จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่ อ. บางเขน แทนและให้ส่วนราชการที่ อำเภอแม่โจ้ เป็น "โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์" เพื่อเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป
ในปี พ.ศ. 2486 " วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ใน สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
- ตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปวงกลม มีรูปพระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงายและมีข้อความว่า "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.๒๔๘๖" ล้อมรอบเป็นชั้นนอกสุด
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ "ต้นนนทรี" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
- สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเขียวใบไม้
- เพลงประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แต่งคำร้องถวาย
[แก้] หน่วยงาน
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย วิทยาเขตที่เปิดเรียนแล้ว 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร, วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี, วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และวิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และโครงการจัดตั้ง 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่ และวิทยาเขตลพบุรี จังหวัดลพบุรี
[แก้] วิทยาเขตบางเขน
เป็นวิทยาเขตหลัก ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 15 คณะ 1 วิทยาลัย ได้แก่
[แก้] วิทยาเขตกำแพงแสน
|
|
[แก้] วิทยาเขตศรีราชา
|
|
[แก้] วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
|
|
[แก้] โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี
เป็นการขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ ในปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดตั้งคณะอย่างเป็นทางการ แต่ได้เปิดสอนในบางหลักสูตรแล้ว ได้แก่
- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (ภาคพิเศษ)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (4 ปี) (ภาคพิเศษ )
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ)
[แก้] โครงการจัดตั้งวิทยาเขตกระบี่
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตกระบี่ยังไม่สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคปริญญาตรีได้ แต่ได้ให้โควต้าในเขต 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ กระบี่ ตรัง ภูเก็ต พังงา สตูล และระนอง เข้าเรียนเป็นนิสิตปริญญาตรี โดยศึกษาอยู่ที่วิทยาเขตบางเขน และกำแพงแสน อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยได้เตรียมการเปิดคณะต่าง ๆ ในอนาคต ดังนี้
|
|
[แก้] โครงการจัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี
ปัจจุบัน ยังไม่มีการเปิดการเรียนการสอนในวิทยาเขตนี้ อย่างไรก็ตาม ได้มีแผนเตรียมเปิดคณะต่าง ๆ ดังนี้
|
|
[แก้] สถาบันสมทบ
- วิทยาลัยการชลประทาน
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
[แก้] สถาบันอื่นๆ
- [สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.]
- [สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร]
- [สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร]
- [สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม]
- [สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร]
- [สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์]
- [สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์]
- [สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์]
[แก้] ศูนย์วิจัยต่างๆ
- ศูนย์การศึกษานานาชาติ (International Studies Center)
- ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ
- ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
- ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- ศูนย์พัฒนาถ่ายทอดและเทคโนโลยี รัฐร่วมเอกชน (ศรอ.)
- ศูนย์พุทธศาสนศึกษา
- ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอาหารและบริการที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST)
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
- ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามัน
- ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาและศูนย์ประสานงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
- พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้และธนาคารองค์ความรู้อัจฉริยะ
- ศูนย์ประสานเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและแก้ปัญหาความยากจนของประเทศ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ยางพารา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
- ศูนย์วิชาการด้านทรัพยากรชีวภาพทางการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ดินและปุ๋ย
- ศูนย์วิทยาศาสตร์พืชผัก
- ศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ
- ศูนย์ประสานงานเกษตรศาสตร์สัมพันธ์
- ศูนย์ความร่วมมือทางวิชาการไทย-ฝรั่งเศส(DORAS Center)
- ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร
[แก้] งานกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
- งานเกษตรแฟร์
- งานวันลอยกระทง
[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (คณะวิทยาศาสตร์)
- สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ป่าไม้ (คณะวนศาสตร์)
- ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
- วิโรจ อิ่มพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
[แก้] เกร็ด
- ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น มีลักษณะสำคัญเหมือนกัน คือ รูปพระพิรุณ เนื่องจาก ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน โดยในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งวิทยาเขตหลักของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน และได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้มาบางเขน[1]
[แก้] อ้างอิง
- ↑ ความเป็นมาก่อนจัดตั้งมหาวิทยาลัย เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดู 4 ก.ย. 2549
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รายการหมายเลขโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ข่าวการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ศูนย์ข่าวชุมชน มก. KU city
|
หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
วิทยาเขต | หน่วยงาน |
---|---|
บางเขน |
เกษตร - บริหารธุรกิจ - ประมง - มนุษยศาสตร์ - วนศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - วิศวกรรมศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ - เศรษฐศาสตร์ - สถาปัตยกรรมศาสตร์ - สังคมศาสตร์ - สัตวแพทยศาสตร์ - อุตสาหกรรมเกษตร - เทคนิคการสัตวแพทย์ - บัณฑิตวิทยาลัย - วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม |
กำแพงแสน |
เกษตร - วิศวกรรมศาสตร์ - วิทยาศาสตร์การกีฬา - ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ - สัตวแพทยศาสตร์ |
ศรีราชา |
คณะวิทยาการจัดการ - วิศวกรรมศาสตร์ - ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม |
สกลนคร |
ศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ - วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ - ทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร |
สถาบันสมทบ |
วิทยาลัยการชลประทาน - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ |
ดูเพิ่ม |
สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แก้ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|