วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงทราบด้วยพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลในความจำเป็นที่คนพิการไทยจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากทรงใกล้ชิดกับคนพิการแต่ละประเภทมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงเข้าพระทัยในสภาพปัญหาและความต้องการของคนพิการเป็นอย่างดี ทรงเชื่อในศักยภาพของคนพิการในอันที่จะศึกษาเล่าเรียน พัฒนาทักษะด้านอาชีพและด้านอื่น ๆ จนมีความพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข สามารถพึ่งตนเองและเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ แต่สิ่งที่คนพิการส่วนใหญ่ยังขาดก็คือ โอกาส และที่สำคัญที่สุดก็คือโอกาสทางการศึกษา
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2534 จึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่จะให้การสนับสนุนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมรรถภาพความพร้อมทางการศึกษา โอกาสในด้านการประกอบอาชีพ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนพิการ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่พระราชกฤษฏีกาการจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดาขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยมีฐานนะเทียบเท่าคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมกันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งมูลนิธิราชสุดาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยทรงเป็นสมเด็จองค์ประธาน เพื่อให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัยราชสุดาด้วย
สารบัญ |
[แก้] วิสัยทัศน์
วิทยาลัยราชสุดาใน พ.ศ. 2559 จะเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติในงานด้านคนพิการ ทั้งด้านการวิจัย การศึกษา การบริการวิชาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้] พันธกิจ
- วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านความพิการและคนพิการและคนพิการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการประยุกต์ใช้
- จัดการศึกษาและฝึกอบรมที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากลโดยคำนึงถึงโอกาสและความเท่าเทียม
- จัดบริการวิชาการเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและการเสริมศักยภาพของคนพิการ
- ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรคนพิการและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- พัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสนับสนุนภารกิจด้านการวิจัย การศึกษา การบริการวิชการ การฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยให้คนพิการมีส่วนร่วม
- ร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตไทย
[แก้] วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างผลงานวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์ที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านคนพิการและสังคม
- เพื่อพัฒนาคนพิการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการให้เป็นผู้นำ ด้านงานคนพิการ
- เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรคนพิการและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- เพื่อให้บริการวิชาการและบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานสากล แก่คนพิการ ผู้เกี่ยวข้องและสังคม
- เพื่อพัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้คนพิการมีส่วนร่วม
- เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- เพื่อสร้างชุมชนของวิทยาลัยราชสุดา ให้สามารถสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตไทย
[แก้] ที่ตั้ง
วิทยาลัยราชสุดา ตั้งอยู่ในเขตที่ดินมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายามีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ บนถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ปัจจุบัน วิทยาลัยราชสุดาได้เปิดดำเนินการ ปฏิบัติงาน และจัดการเรียนการสอน 5 หลัง เปิดดำเนินการใช้แล้ว 4 หลัง ในอาคารอำนวยการและอาคารหอพัก 3 หลัง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
หน่วยงานใน มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงาน | |
---|---|
คณะ |
กายภาพบำบัด · ทันตแพทยศาสตร์ · เทคนิคการแพทย์ · พยาบาลศาสตร์ · แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี · แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · เภสัชศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · ศิลปศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · เวชศาสตร์เขตร้อน · สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · สาธารณสุขศาสตร์ · สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ · บัณฑิตวิทยาลัย |
วิทยาลัย |
วิทยาลัยการจัดการ · วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา · วิทยาลัยนานาชาติ · วิทยาลัยศาสนศึกษา · วิทยาลัยราชสุดา · วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ |
สถาบันสมทบ |
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า · วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ · วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ · วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ · วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี (วิทยาเขตกรุงเทพ จักรีรัช ชัยนาท พระพุทธบาท ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ศรีธัญญา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเพชรบุรี) |
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |