Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มหาวิทยาลัยรามคำแหง - วิกิพีเดีย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Ramkhamhaeng

ชื่อ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.)
ชื่อ (อังกฤษ) Ramkhamhaeng University (RU)
ก่อตั้ง พ.ศ. 2514
ประเภทสถาบัน รัฐ มหาวิทยาลัยเปิด
อธิการบดี ศาสตราจารย์ประจำ รังสรรค์ แสงสุข
คำขวัญ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
เพลงประจำสถาบัน รามของเรา
ต้นไม้ประจำสถาบัน สุพรรณิการ์
สีประจำสถาบัน น้ำเงิน-ทอง
ที่ตั้ง/วิทยาเขต ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
เว็บไซต์ www.ru.ac.th

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบตลาดวิชา กล่าวคือรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน แต่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

ในการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..."

มหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะเริ่มก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะเริ่มก่อสร้าง

สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อีกครั้งในวาระที่ 2 ซึ่งในการประชุม นายแคล้ว นรปติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบ และวุฒิสภาได้เห็นชอบให้นำ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ..." ไปดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 8 คน มี นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรก) เป็นประธาน และ นายจิรโชค (บรรพต) วีระสัย (ต่อมาเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก)เป็นเลขานุการ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ในระยะเริ่มแรกคณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน

นับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงจนถึงปัจจุบันได้มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีทั้งสิ้น 8 ท่าน ได้แก่ 1.ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ 2.ศาสตราจารย์ไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี 3.ศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ 4.รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร 5.รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม นวลสกุล 6.รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์ 7.รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล และ8.ศาสตราจารย์ประจำ รังสรรค์ แสงสุข เป็นอธิการบดีคนปัจจุบัน

 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 1,900 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก และหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

[แก้] สัญลักษณ์ของรามคำแหง

[แก้] พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อนก็คือ ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เมื่อได้สร้างเสร็จและอัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาประดิษฐานเรียบร้อย ถาวรวัตถุนี้จะเป็นสัญญลักษณ์ที่รวมพลังกาย พลังใจของคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษาให้มุ่งประกอบแต่ความดีงามอันจักเป็นคุณต่อชาติบ้านเมืองสืบไป สำหรับพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้จัดสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นโลหะทองเหลืองผสมทองแดงและรมดำ ความสูงจากพื้นฐานถึงยอดพระมาลา 115 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือ และประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร การหล่อพระบรมรูปต้องใช้วิธีแยกเทองเป็นส่วนๆ รวมถึง 5 ส่วน กว่าจะเสร็จครบบริบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเศษ จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518

[แก้] ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว

[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย

เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

"สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ส่วน สีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง

[แก้] คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย

  • "บัณฑิตรามฯ ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม" ,
  • "รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ "
  • "เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"

[แก้] ลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาที่มีนักศึกษามากที่สุดในโลก รับนักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องสอบคัดเลือก จึงเป็นที่รวมของคนทุกประเภท ถ้าจะเปรียบกับน้ำ ก็มีทั้งน้ำสะอาด น้ำธรรมดา และน้ำไม่สะอาด มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ ที่ทำหน้าที่กรองน้ำใสสะอาดออกไปให้สังคมได้ดื่มกินกันต่อไป มหาวิทยาลัยจึงภาคภูมิใจกับการทำหน้าที่นี้มาตลอดเวลากว่า 30 ปี

[แก้] การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดสอนในหลายสาขาวิชา ปัจจุบันมีคณะดังนี้

[แก้] หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

วิกิแมเปีย
กูเกิล
วิกิแมเปีย มีภาพถ่ายทางอากาศของ:


สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แก้
มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ | เกริก | เกษตรศาสตร์ | เกษมบัณฑิต | ขอนแก่น | คริสเตียน | จุฬาลงกรณ์ | เจ้าพระยา | ชินวัตร | เชียงใหม่ | เซนต์จอห์น | ทักษิณ | เทคโนโลยีปทุมวัน | พระจอมเกล้าลาดกระบัง | พระจอมเกล้าธนบุรี | พระจอมเกล้าพระนครเหนือ | มหานคร | สุรนารี | ธรรมศาสตร์ | ธุรกิจบัณฑิตย์ | นครพนม | นราธิวาสราชนครินทร์ | นเรศวร | แสตมฟอร์ด | บูรพา | ปทุมธานี | พายัพ | ภาคกลาง | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | มหามกุฏราชวิทยาลัย | มหาสารคาม | มหิดล | แม่โจ้ | แม่ฟ้าหลวง | รังสิต | รามคำแหง | วงษ์ชวลิตกุล | วลัยลักษณ์ | เวบสเตอร์ | เวสเทิร์น | ศรีนครินทรวิโรฒ | ศรีปทุม | ศิลปากร | สงขลานครินทร์ | สยาม | สุโขทัยธรรมาธิราช | หอการค้าไทย | หัวเฉียว | หาดใหญ่ | อัสสัมชัญ | อีสเทิร์นเอเชีย | อุบลราชธานี | เอเชีย | เอเชียอาคเนย์

ม.ราชภัฏ

กาญจนบุรี | กาฬสินธุ์ | กำแพงเพชร | จันทรเกษม | ชัยภูมิ | เชียงใหม่ | เชียงราย | เทพสตรี | ธนบุรี | นครปฐม | นครราชสีมา | นครศรีธรรมราช | นครสวรรค์ | บ้านสมเด็จเจ้าพระยา | บุรีรัมย์ | พระนคร | พระนครศรีอยุธยา | พิบูลสงคราม | เพชรบุรี | เพชรบูรณ์ | ภูเก็ต | มหาสารคาม | ยะลา | ราชนครินทร์ | ร้อยเอ็ด | รำไพพรรณี | เลย | ลำปาง | วไลยอลงกรณ์ | ศรีสะเกษ | สกลนคร | สงขลา | สวนดุสิต | สวนสุนันทา | สุราษฎร์ธานี | สุรินทร์ | หมู่บ้านจอมบึง | อุดรธานี | อุตรดิตถ์ | อุบลราชธานี

ม.ราชมงคล

กรุงเทพ | ตะวันออก | ธัญบุรี | พระนคร | รัตนโกสินทร์ | ศรีวิชัย | สุวรรณภูมิ | ล้านนา | อีสาน

บัณฑิตวิทยาลัย / วิทยาลัย

พระปกเกล้า | พัฒนบริหารศาสตร์ | เทคโนโลยีแห่งเอเชีย | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย | พลังงานและสิ่งแวดล้อม | ศศินทร์ | ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | ประชากรศาสตร์ | นวัตกรรมอุดมศึกษา | สหวิทยาการ | เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร | วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม | ราชสุดา | ดุริยางคศิลป์ | ซีดีชนาพัฒน์ | วิทยาลัยการปกครอง | สถาบันการบินพลเรือน

วิทยาลัยทางการแพทย์

การสาธารณสุขสิรินธร | พยาบาลเกื้อการุณย์ | พยาบาลกองทัพบก | พยาบาลกองทัพเรือ | พยาบาลตำรวจ | พยาบาลทหารอากาศ | พยาบาลบรมราชชนนี | พยาบาลสภากาชาดไทย | แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า | แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

ร.ร.ทหาร-ตำรวจ

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | วิทยาลัยเสนาธิการทหาร | เสนาธิการทหารบก | เสนาธิการทหารเรือ | เสนาธิการทหารอากาศ | นายร้อยพระจุลจอมเกล้า | นายร้อยตำรวจ | นายเรือ | นายเรืออากาศ

ดูเพิ่ม

มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย | สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ | แอดมิสชันส์ | สถาบันอุดมศึกษา (รัฐ, ในกำกับ, เอกชน)

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com