Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มหาวิทยาลัยศิลปากร - วิกิพีเดีย

มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศิลปากร

Silpakorn

ชื่อ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
ชื่อ (อังกฤษ) Silpakorn University (SU)
ก่อตั้ง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486
ประเภทสถาบัน รัฐ
อธิการบดี รศ. ดร. วิวัฒน์ชัย อัตถากร
คำขวัญ Ars longa vita brevis(ไม่เป็นทางการ)
เพลงประจำสถาบัน Santa Lucia
ต้นไม้ประจำสถาบัน ต้นจัน
สีประจำสถาบัน เขียวเวอร์ริเดียน
ที่ตั้ง/วิทยาเขต 22 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
เว็บไซต์ www.su.ac.th

มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University) เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา

“ศิลปากร” เป็นนามที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัส ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2445 ว่า “กรมช่างอย่างปราณีตนั้นชื่อกรมศิลปากร โดยให้ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน” อันทำให้ชื่อศิลปากรนี้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยศิลปากรมาจนทุกวันนี้

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมคือ โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้พื้นที่วังกลาง และวังตะวันออก หน้าพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนศิลปากร”

โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะวิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทยซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ จากนั้นได้ขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยได้จัดซื้อที่ดินวังท่าพระซึ่งอยู่ติดกับที่ตั้งเดิมจากทายาทสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะวิชาต่างๆออกไปอีกหลายแขนง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล คือ "มหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะสถาปัตยกรรมอยู่แล้วก็ควรจะเปิดคณะวิศวกรรมร่วมไปด้วยจะได้ก้าวหน้าเร็วขึ้นหรือให้เปิดคณะดุริยางคศาสตร์ด้วย"

  • คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511
  • คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513
  • คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515
  • คณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535
  • คณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้ง

  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2544
  • คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2545
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2546 และ
  • วิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2546

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2515 โดยการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ตราสัญลักษณ์

พระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ(เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2494

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

เขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเล

[แก้] เพลงประจำมหาวิทยาลัย

Santa Lucia เป็นเพลงที่อาจารย์ศิลป์ชอบร้อง และฮัมเพลงนี้บ่อย ๆ ขณะที่ท่านกำลังทำงานทางศิลปะ

[แก้] ปณิธาน

มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย รวบรวมถ่ายทอดความรู้และศิลปวิทยาการชั้นสูง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตทุกระดับปริญญาให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณ และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม

มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ บนพื้นฐานการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ตามหลักเสรีภาพทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของชุมชนในภูมิภาคตะวันตก ประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติ

[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2522
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2548
  • อังคาร กัลยาณพงศ์ กวี จิตรกร และศิลปินแห่งชาติ
  • ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าโรงเรียนศิลปากร แผนกจิตรกรรม และประติมากรรม
  • ขรรค์ชัย บุนปาน ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชน นักเขียน
  • สุจิตต์ วงศ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน
  • นนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ยุทธเลิศ สิปประภาค ผู้กำกับภาพยนตร์
  • จักรพันธุ์ โปษยะกฤต ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน จิตรกร
  • เผ่าทอง ทองเจือ นักประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผ้าไทย)

[แก้] เรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

  1. มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ซึ่งประกอบไปด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดลในปัจจุบัน)และมหาวิทยาลัยศิลปากร
  2. มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดกำเนิดมาจากทางด้านศิลปะ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีนักเรียนศิลปะคนใดที่ไม่อยากมุ่งมาตร์ปรารถนามาเรียนที่นี่
  3. มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ได้เด่นทางด้านศิลปะเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังมีความเด่นในสาขาวิชาอื่น ๆ อีก เช่น สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, ภาษาไทย, ภาษาฝรั่งเศส ของคณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี, ภาษาญี่ปุ่น ของคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  4. มหาวิทยาลัยศิลปากรติดอันดับ 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยยอดนิยมที่มีผู้เลือกในการสอบเอ็นทรานซ์มากที่สุดในปีการศึกษา 2548 โดยคณะโบราณคดี สาขาวิชาภาษาไทย เป็นคณะที่มีผู้เลือกมากที่สุดของประเทศในการสอบเอ็นทรานซ์ปี 2548 โดยมีผู้เลือกมากถึง 2,930 คน แต่รับได้เพียง 40 คน และคะแนนขึ้นจาก 177 คะแนน เป็น 247 คะแนน
  5. นิยายหลายเรื่องก็เกิดขึ้นในรั้วศิลปากร เช่น กลิ่นสีและกาวแป้งเป็นเรื่องของคณะจิตรกรรมฯ, เก้าอี้ขาวในห้องแดง และ โอเนกาทีฟ เป็นเรื่องของคณะมัณฑนศิลป์, น้ำใสใจจริง เป็นเรื่องของคณะอักษรศาสตร์ และในเรื่องน้ำพุ ก็มีการพูดถึงคณะมัณฑนศิลป์

[แก้] คณะวิชา

  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต (ศป.บ)หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 5 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตรกรรม,สาขาวิชาประติมากรรม,สาขาวิชาภาพพิมพ์,สาขาวิชาศิลปไทย และสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
  • คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)หลักสูตรการศึกษา ๔ ปี ใน 7 สาขาวิชาเอกคือ สาขาวิชาโบราณคดี,สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,สาขาวิชามานุษยวิทยา,สาขาวิชาภาษาไทย,สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาบาลี,สันสกฤต,เขมร),สาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้นังเปิดสอนอีก 4 วิชาโทคือวิชาโทประวัติศาสตร์,วิชาโทพิพิธภัณฑ์สถานวิทยา,วิชาโทมัคคุเทศก์ศึกษาและวิชาโทภาษาฮินดี
  • คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)หลักสูตรการศึกษา ๔ ปี ใน 7 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน,สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์,สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา,สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับและสาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
  • คณะอักษรศาสตร์ เว็บ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)หลักสูตรการศึกษา ๔ ปี ใน 15 สาขาวิชาเอกคือ สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส, สาขาวิชาภาษาเยอรมัน, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น, สาขาวิชาภาษาจีน, สาขาวิชาภาษาเกาหลี, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, สาขาวิชาภูมิศาสตร์, สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา, สาขาวิชานาฏศาสตร์, สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสาขาวิชาเอเชียศึกษา
  • คณะศึกษาศาสตร์ เว็บ เปิดสอนใน 3 หลักสูตรคือ
    1. หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
    2. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต,สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
    3. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาจิตวิทยา
    4. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาสังคมศึกษา, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, สาขาวิชาการประถมศึกษา

หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 12 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์, สาขาวิชาเอกชีววิทยา, สาขาวิชาเอกเคมี, สาขาวิชาเอกฟิสิกส์, สาขาวิชาเอกสถิติ, สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาเอกจุลชีววิทยา, สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาเอกสถิติประยุกต์, สาขาวิชาเอกสถิติเพื่อการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ และสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ประยุกต์ และกำลังพิจารณาจัดหลักสูตร สาขาวิชาสถิติประยุกต์, สถิติเพื่อการตัดสินใจเชิงธุรกิจ, การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรรมซอฟแวร์, การจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

  • คณะเภสัชศาสตร์ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เว็บ เปิดสอนใน 2 หลักสูตรคือ
    1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
    2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชา สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม และสาขาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ
  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร โดยเปิดสอนเป็นคณะวิชาแรก ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ปัจจุบันเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ
    1. วท.บ. สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร (Animal Science and Agricultural Technology)
    2. วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Production Technology)
    3. วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (Crop Production Technology)
และกำลังพิจารณาจัดทำหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ (Veterinary Technology) เน้นการจัดการเรียนการสอนด้านการพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nursing)การชันสูตรโรคสัตว์ (Veterinary Diagnostics)และความปลอดภัยอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ (Safety of Food of Animal Origins) เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสัตว์และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะรับประทานอาหาร ซึ่งคาดว่าจะเปิดสอนในปี พ.ศ. 2551
  • คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ การแสดงดนตรี,ดนตรีแจ๊ส และดนตรีเชิงพาณิชย์
  • คณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตใน 5 สาขาวิชาคือ การจัดการธุรกิจทั่วไป, การจัดการการท่องเที่ยว ,การจัดการชุมชน,การตลาด,การจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ และการจัดการโรงแรมและที่พัก และในปีการศึกษา 2550 คณะวิทยาการจัดการจะทำการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท ในหลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชน
  • วิทยาลัยนานาชาติ (Silpakorn University International College or SUIC) เปิดสอน ระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร และ ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร
    1. Bachelor of Fine Arts in Multimedia Design (BFA) หลักสูตร 4 ปี (ออกแบบสื่อผสม) ร่วมกับ Birmingham Institute of Art and Design (BAID), UK (Double Degree)
    2. Bachelor of Fine Arts in Painting Conservation (BFA) หลักสูตร 4 ปี (อนุรักษ์ภาพเขียน)
    3. Bachelor of Business Administration in Hotel Management(BBA) หลักสูตร 4 ปี (การจัดการโรงแรม) ร่วมกับ Institut Vatel (France), (Double Degree)
    4. Master of Business Administration in Hotel and Tourism Management (MBA) หลักสูตร 2 ปี (การจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว) ร่วมกับ Institut Vatel (France) และ University de Perpignan (France), (Double Degree)
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจและสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ

[แก้] สถานที่ตั้งหรือวิทยาเขต

[แก้] สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน

เป็นที่ตั้งของคณะดุริยางคศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติสาขาการจัดการโรงแรม

[แก้] วังท่าพระ

ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นที่ตั้งของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ชั้นปีที่ 3-5) คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ และวิทยาลัยนานาชาติสาขาการออกแบบมีเดีย

[แก้] วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

บรรยากาศบริเวณสะพานสระแก้ว วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 428 ไร่ เป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ชั้นปีที่ 1-2)

[แก้] วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นวิทยาเขตแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการออกแบบอาคารและวางแผนแม่บทให้ ประหยัดพลังงาน และรักษาสภาพแวดล้อม (Clean and Green Campus) โดยอาคารทุกหลังจะสูงไม่เกิน 5 ชั้น ใช้บันไดติดต่อสัญจรทางตั้ง โดยไม่ต้องใช้ลิฟท์ ออกแบบโดยการใช้หลักการในการประหยัดพลังงาน ทั้งในเรื่องการลดความร้อน การใช้แสงสว่าง และลมธรรมชาติ รวมทั้งการนำของเสีย และพลังงาน หมุนเวียนมาใช้ประโยชน์

การวางผังจะให้รถยนต์จอดที่ด้านหน้าวิทยาเขต แต่ภายในจะใช้จักรยาน ทางเดิน และรถไฟฟ้าเท่านั้น ถนนทุกสายรวมทั้งการเดินเท้า ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาตลอดทุกสาย ทางเดินติดต่อระหว่างอาคารที่สำคัญมีหลังคาคลุมกันแดด และฝน มีคลองเรียบถนนสายหลัก มีสระน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ และบึง กระจายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทางเดินติดต่อของบ้านพักอาจารย์ และข้าราชการ เป็นสะพานลอย เช่นเดียวกับหมู่บ้านชาวประมง เพราะอยู่บนที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง การใช้สะพานเป็นทางเดินติดต่อจะช่วยรักษา ระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างดี เมื่อจัดทำภูมิสถาปัตยกรรมเสร็จเรียบร้อย จะเป็นวิทยาเขตที่งดงาม และปราศจากมลพิษ (ปัจจุบันวิทยาเขตไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการ โดยเฉพาะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการรับนักศึกษาเข้าเรียนและการขาดแคลนงบประมาณ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้)

วิทยาเขตนี้เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แก้
มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ | เกริก | เกษตรศาสตร์ | เกษมบัณฑิต | ขอนแก่น | คริสเตียน | จุฬาลงกรณ์ | เจ้าพระยา | ชินวัตร | เชียงใหม่ | เซนต์จอห์น | ทักษิณ | เทคโนโลยีปทุมวัน | พระจอมเกล้าลาดกระบัง | พระจอมเกล้าธนบุรี | พระจอมเกล้าพระนครเหนือ | มหานคร | สุรนารี | ธรรมศาสตร์ | ธุรกิจบัณฑิตย์ | นครพนม | นราธิวาสราชนครินทร์ | นเรศวร | แสตมฟอร์ด | บูรพา | ปทุมธานี | พายัพ | ภาคกลาง | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | มหามกุฏราชวิทยาลัย | มหาสารคาม | มหิดล | แม่โจ้ | แม่ฟ้าหลวง | รังสิต | รามคำแหง | วงษ์ชวลิตกุล | วลัยลักษณ์ | เวบสเตอร์ | เวสเทิร์น | ศรีนครินทรวิโรฒ | ศรีปทุม | ศิลปากร | สงขลานครินทร์ | สยาม | สุโขทัยธรรมาธิราช | หอการค้าไทย | หัวเฉียว | หาดใหญ่ | อัสสัมชัญ | อีสเทิร์นเอเชีย | อุบลราชธานี | เอเชีย | เอเชียอาคเนย์

ม.ราชภัฏ

กาญจนบุรี | กาฬสินธุ์ | กำแพงเพชร | จันทรเกษม | ชัยภูมิ | เชียงใหม่ | เชียงราย | เทพสตรี | ธนบุรี | นครปฐม | นครราชสีมา | นครศรีธรรมราช | นครสวรรค์ | บ้านสมเด็จเจ้าพระยา | บุรีรัมย์ | พระนคร | พระนครศรีอยุธยา | พิบูลสงคราม | เพชรบุรี | เพชรบูรณ์ | ภูเก็ต | มหาสารคาม | ยะลา | ราชนครินทร์ | ร้อยเอ็ด | รำไพพรรณี | เลย | ลำปาง | วไลยอลงกรณ์ | ศรีสะเกษ | สกลนคร | สงขลา | สวนดุสิต | สวนสุนันทา | สุราษฎร์ธานี | สุรินทร์ | หมู่บ้านจอมบึง | อุดรธานี | อุตรดิตถ์ | อุบลราชธานี

ม.ราชมงคล

กรุงเทพ | ตะวันออก | ธัญบุรี | พระนคร | รัตนโกสินทร์ | ศรีวิชัย | สุวรรณภูมิ | ล้านนา | อีสาน

บัณฑิตวิทยาลัย / วิทยาลัย

พระปกเกล้า | พัฒนบริหารศาสตร์ | เทคโนโลยีแห่งเอเชีย | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย | พลังงานและสิ่งแวดล้อม | ศศินทร์ | ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | ประชากรศาสตร์ | นวัตกรรมอุดมศึกษา | สหวิทยาการ | เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร | วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม | ราชสุดา | ดุริยางคศิลป์ | ซีดีชนาพัฒน์ | วิทยาลัยการปกครอง | สถาบันการบินพลเรือน

วิทยาลัยทางการแพทย์

การสาธารณสุขสิรินธร | พยาบาลเกื้อการุณย์ | พยาบาลกองทัพบก | พยาบาลกองทัพเรือ | พยาบาลตำรวจ | พยาบาลทหารอากาศ | พยาบาลบรมราชชนนี | พยาบาลสภากาชาดไทย | แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า | แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

ร.ร.ทหาร-ตำรวจ

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | วิทยาลัยเสนาธิการทหาร | เสนาธิการทหารบก | เสนาธิการทหารเรือ | เสนาธิการทหารอากาศ | นายร้อยพระจุลจอมเกล้า | นายร้อยตำรวจ | นายเรือ | นายเรืออากาศ

ดูเพิ่ม

มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย | สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ | แอดมิสชันส์ | สถาบันอุดมศึกษา (รัฐ, ในกำกับ, เอกชน)

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com