เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
เมืองหลวง | วิคตอเรีย | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษและ ภาษาจีน (ทั้งภาษาจีนกลาง และ ภาษากวางตุ้ง) | ||||
ผู้ว่าการ | โดนัล ชาง | ||||
พิกัดภูมิศาสตร์ | 22° 20' N 114° 10' E | ||||
พื้นที่ - ทั้งหมด - % น้ำ |
(อันดับที่ 169) 1,103 ตร.กม. 4.6% |
||||
ประชากร - ทั้งหมด |
(อันดับที่ 97) 6,943,600 (พ.ศ. 2548) |
||||
GDP (PPP) (พ.ศ. 2548) - ทั้งหมด |
(อันดับที่ 40 และ 11 ตามลำดับ) 199,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
||||
สถาปนา - วันที่ |
ขึ้นตรงต่อ ประเทศจีน |
||||
หน่วยเงิน | ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) | ||||
เขตเวลา | UTC +8 | ||||
TLD สำหรับอินเทอร์เน็ต | .hk | ||||
รหัสโทรศัพท์ | 852 กด 01 จากมาเก๊าได้อีกด้วย | ||||
ดอกไม้ประจำชาติ | Bauhinia |
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China; อักษรจีนตัวเต็ม: 中華人民共和國香港特別行政區; อักษรจีนตัวย่อ: 中华人民共和国香港特别行政区 ฟังเสียง ; ชื่อย่อ: 港 [กั่ง] ; Hong Kong SAR) เป็นเขตปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยอยู่ติดกับมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) และห่างจากมาเก๊าราว 61 กิโลเมตร ทางฝั่งตะวันตก
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
ฮ่องกง เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้น หลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น เกาะฮ่องกงและเกาลูนจึงถูกครอบครองโดยอังกฤษในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) และ พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามลำดับ
ต่อมาภายหลัง ในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) อังกฤษได้ทำสัญญา ‘เช่าซื้อ’ พื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเซินเจิ้น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘เขตดินแดนใหม่’ รวมทั้งเกาะรอบข้าง ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าเมื่อครั้งอังกฤษเข้ายึดครองในสมัยสงครามฝิ่นเกือบสิบเท่า
[แก้] รูปแบบการปกครอง
ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย ‘หนึ่งประเทศสองระบบ’ ในการปกครองฮ่องกง ตามกฎหมายพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองและบริหารฮ่องกง ที่สภาประชาชนจีนได้อนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยให้สิทธิฮ่องกงในการปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี รัฐบาลจีนได้กำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีต่อไปได้อีกเป็นเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจีนได้รับฮ่องกงกลับคืนจากรัฐบาลอังกฤษ
[แก้] ภูมิประเทศ
ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1,096.63 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง (80.30 ตร.กม.) เกาลูน (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ (New Territories) และเกาะอื่น ๆ (969.62 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะฮ่องกง เกาลูนและเขตดินแดนใหม่ จะเป็นแนวเขาทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นแนวเขาที่ต่อเนื่องมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกว่างตงที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากเขตเทือกเขาแต่ครั้งโบราณนั้น ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ จึงเกิดเป็นทัศนียภาพเกาะแก่งเล็ก ๆ ที่มีลักษณะลาดชันผุดโพล่ขึ้นมากมาย
[แก้] ภูมิอากาศ
ฤดูร้อนอากาศร้อนชื้น มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายและแห้ง น้อยครั้งที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนฝนตกชุกและมีลมแรง ฤดูร้อนมักเกิดลมมรสุม ควรติดต่อสอบถามสภาพอากาศก่อนการเดินทาง
[แก้] ประชากร
ฮ่องกงมีจำนวนประชากรกว่า 6.816 ล้านคน (ปี พ.ศ. 2545) ความหนาแน่นของประชากร 6,300 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยมากเป็นชาวจีน กว่า 3% เป็นชาวต่างชาติ อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอเมริกัน ฯลฯ ภาษาท้องถิ่นที่ใช้โดยมากเป็นภาษากวางตุ้ง โดยภาษาอังกฤษก็เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลาย, ส่วนภาษาจีนท้องถิ่นอื่นเช่นแต้จิ๋ว ฯลฯ ก็มีไม่น้อย ในบริเวณเขตดินแดนใหม่ โดยมากใช้ภาษาจีนแคะ ปัจจุบันนิยมใช้ภาษาจีนกลาง ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางควบคู่กันในการติดต่อได้
[แก้] ด้านศาสนา
นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน 50% ศาสนาคริสต์ 10% อื่นๆอีก 40%
[แก้] เศรษฐกิจ
สำรวจเมื่อ พ.ศ. 2544
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 199,000
- รายได้ต่อหัวของประชากร (ดอลลาร์สหรัฐ/ปี) 27,200
- อัตราการว่างงาน (ร้อยละ) 5.1
- การค้าต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 391,000
- การส่งออก 189,900
- การนำเข้า 201,100
- ดุลการค้า -11,200
- การค้าบริการ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 66,000
- การส่งออก 43,000
- การนำเข้า 22,900
- ดุลการค้าบริการ 20,100
[แก้] นโยบายการค้า
ฮ่องกงดำเนินนโยบายการค้าเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี การดำเนินการค้าแบบเสรีมาตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ฮ่องกงมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นส่วนหนึ่งของขุมพลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง อันเปรียบเสมือนประตูการค้าเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ในปัจจุบันฮ่องกงเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก โดยใช้ชื่อในฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลกว่า "Hong Kong, China" ซึ่งเป็นสมาชิกแยกต่างหากจากจีน นอกจากนั้น ฮ่องกงยังเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย คือ APEC, PECC, ADB, WCO, ESCAP รวมทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OECD ด้วย
จากการดำเนินนโยบายการค้าแบบเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี ฮ่องกงจึงไม่มีการจัดเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้าและส่งออก แต่มีการเก็บภาษีสรรพสามิต (Excise Duty) สินค้า 3 หมวด คือ สินค้าเครื่องดึ่มผสมแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ใบยาสูบ และหมวดผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง
[แก้] ประเทศคู่ค้าสำคัญของฮ่องกง
ประเทศคู่ค้าสำคัญ 15 อันดับแรกของฮ่องกง (ในปี พ.ศ. 2544) เรียงตามลำดับมูลค่าการค้าสองฝ่าย (Two-way trade volume) ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เยอรมนี สหราชอาณาจักร มาเลเซีย ฝรั่งเศส ไทย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และ ฟิลิปปินส์
[แก้] คู่ค้าสำคัญของฮ่องกงในกลุ่มประเทศอาเซียน
ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (เฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนที่ติดอันดับกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ 30 อันดับแรกของฮ่องกง)
ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นหน่วยงานการค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่เป็นที่ 10 ของโลก เป็นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่อันดับ 7 ศูนย์กลางการเงินการการธนาคาร อันดับที่ 12 และเป็นตลาดค้าทองคำขนาดใหญ่หนึ่งในสี่ของโลก
นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นเขตการส่งออกสินค้าจากทั่วโลก อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา ของเล่น เกมคอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า และสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบาอีกหลายชนิด
[แก้] การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในฮ่องกงสามารถทำได้โดยเสรี เงินดอลลาร์ฮ่องกง (Hong Kong Dollar) เป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางการฮ่องกงได้กำหนดให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Rate) กับเงินดอลลาร์สหรัฐ (แต่เพิ่มสูง/ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดได้เล็กน้อย) อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.76 ดอลลาร์ฮ่องกง (อัตราซื้อขายโดยเฉลี่ย)
แก้ | เขตการปกครอง ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
---|---|---|
มณฑล |
กวางตุ้ง · กานซู · กุ้ยโจว · จี๋หลิน · เจ้อเจียง · เจียงซี · เจียงซู · |
|
เขตปกครองตนเอง | กว่างซีจ้วง · ซินเจียงอุยกูร์ · ทิเบต(ซีจ้าง) · มองโกเลียใน · หนิงเซี่ยหุย | |
เขตบริหารพิเศษ | มาเก๊า · ฮ่องกง | |
เทศบาลนคร | ฉงชิ่ง (จุงกิง) · ช่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) · เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) · เทียนจิน (เทียนสิน) |
ประเทศ และ ดินแดน ใน ทวีปเอเชีย | |
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · |
|
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · |
|
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป; |
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) | ||
เกาหลีใต้ · แคนาดา · จีน · ชิลี · ญี่ปุ่น · นิวซีแลนด์ · บรูไนดารุสซาลาม · ปาปัวนิวกินี · เปรู · ไทย · ฟิลิปปินส์ · |
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |