Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประเทศพม่า - วิกิพีเดีย

ประเทศพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Pyi-daung-zu Myan-ma
Naing-ngan-daw
ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ

สหภาพพม่า
ธงชาติพม่า ตราประจำชาติพม่า
ธงชาติ ตราประจำชาติ
คำขวัญ:
เพลงชาติ: Kaba Ma Kyei
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศพม่า
เมืองหลวง ปีนมานา
19°45′ N 96°12′ E
เมืองใหญ่สุด ย่างกุ้ง
ภาษาราชการ ภาษาพม่า
รัฐบาล คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง
 - ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย
 - นายกรัฐมนตรี พลโทโซ วิน
เอกราช
วันที่
จาก สหราชอาณาจักร
4 มกราคม พ.ศ. 2491
เนื้อที่
 - ทั้งหมด
 
 - พื้นน้ำ (%)
 
676,578 กม.² (อันดับที่ 39)
261,227 ไมล์² 
3.06%
ประชากร
 - ก.ค. 2548 ประมาณ
 - 2526

 - ความหนาแน่น
 
50,519,0001 (อันดับที่ 24)
33,234,000

75/กม² (อันดับที่ 119)
193/ไมล์² 
GDP (PPP)
 - รวม
 - ต่อประชากร
2548 ค่าประมาณ
76.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 59)
1,800 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 150)
HDI (2546) 0.578 (อันดับที่ 129) – กลาง
สกุลเงิน จัต (K) (mmK)
เขตเวลา MMT (UTC+6:30)
รหัสอินเทอร์เน็ต .mm
รหัสโทรศัพท์ +95
1Estimates for this country take into account the effects of excess mortality due to AIDS; this can result in lower life expectancy, higher infant mortality and death rates, lower population growth rates, and changes in the distribution of population by age and sex than would otherwise be expected.
เขตแดนในประเทศพม่า
เขตแดนในประเทศพม่า

สหภาพพม่า (พม่า:)(Union of Myanmar) เป็นประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นศัพท์บัญญัติของประเทศไทย ที่เขียนทับจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่โดยแท้แล้วเขาเรียกชื่อเขาเองว่า มยะหม่า

สารบัญ

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและธิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทย อีกด้วย

[แก้] มอญ

มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว ๑๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว ๒,๔๐๐ ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒ ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน(Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ ๒ ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า

[แก้] พยู

ชาวพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๔ และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา(Binnaka) มองกะโม้(Mongamo) ศรีเกษตร(Sri Ksetra) เปียทะโนมโย(Peikthanomyo) และหะลินคยี(Halingyi)ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู ๑๘ เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ ๗ ขวบจนถึง ๒๐ ปี

นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช ๖๓๗ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช ๑๑๙๙ เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

[แก้] อาณาจักรพุกาม

ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช ๑๓๙๒ จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกาม(Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ.๑๕๘๗ – ๑๖๒๐)พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช ๑๖๐๐ อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ.๑๖๒๔ – ๑๖๕๕) และพระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ.๑๖๕๕ – ๑๗๑๐) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกาม

อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๗๙ – ๑๘๓๐) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๐ ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช ๑๘๓๐ กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช ๑๘๓๒

[แก้] อังวะและหงสาวดี

หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช ๑๙๐๗ ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช ๒๐๗๐

สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๗๐ – ๒๐๓๕)เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา

[แก้] อาณาจักรตองอู

หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูในปีพุทธศักราช ๒๐๗๔ ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๗๔ – ๒๐๙๓) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง

ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔ – ๒๑๒๔) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ.๒๑๐๓) อยุธยา (พ.ศ.๒๑๑๒) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน

เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช ๒๑๕๖ พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun)ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อยๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช ๒๒๙๕ จากการรุกรานของชาวมอญ

[แก้] ราชวงศ์อลองพญา

ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ.๒๒๙๖ จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ.๒๓๐๒ ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ.๒๕๐๓ หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๐๖ – ๒๓๑๙)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๓๐๙ และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๐๙ – ๒๓๑๒) ทำการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าบอโดว์พญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๒๔ – ๒๓๖๒) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ.๒๓๒๗ และ ๒๓๓๖ ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ.๒๓๖๖ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๖๒ – ๒๓๘๐) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

[แก้] สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า

ภาพเจดีย์ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368
ภาพเจดีย์ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368

สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษโดยความร่วมมือของสยามได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ.๒๓๖๗ สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ.๒๓๖๗ – ๒๓๖๙) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๙๖ – ๒๔๒๑)จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๘๙ – ๒๓๙๖) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้

รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอว์ (Thibow, ครองคราชย์ พ.ศ.๒๔๒๑ – ๒๔๒๘) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้

[แก้] การเมือง

ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายยกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเนวิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในพ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มี อองซาน นักชาตินิยมและเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League ซ ARPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่นๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนะได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

  • ภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
  • ภาคตะวันตก – เทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เป็นที่ราบสูงชาน
  • ภาคใต้ – มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
  • ภาคกลาง – เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ

  • มรสุมเมืองร้อน
  • ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
  • ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
  • ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยวปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองทั้ง 14 แห่งของพม่าและเมืองหลวง
เขตการปกครองทั้ง 14 แห่งของพม่าและเมืองหลวง

ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่

เขต

  • เขตอิรวดี (Ayeyarwady)
  • เขตพะโค (Bago)
  • เขตมาเกว (Magway)
  • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay)
  • เขตสะกาย (Sagaing)
  • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi)
  • เขตย่างกุ้ง (Yangon)

รัฐ

เมืองสำคัญ

[แก้] เศรษฐกิจ

  1. เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
  2. ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก
  3. การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
  4. อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง
  5. เป็นกระเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ หรือมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคล อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

[แก้] ประชากร

จำนวนประชากรประมาณ 46.8 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 62.0 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีระบบการปกครองแบบเผด็จการ น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม จำนวนประชากรประมาณ 46.8 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 62.0 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีระบบการปกครองแบบเผด็จการ น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา, ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี

[แก้] ศาสนา

ส่วนใหญ่ชาวพม่านับถือศาสนาพุทธ 90% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7% นับถือผีไสยศาสตร์ 2.3%

Commons
คอมมอนส์ มีรูปภาพและสื่อในรูปแบบอื่นๆ เกี่ยวกับ:
ประเทศ และ ดินแดน ใน ทวีปเอเชีย

กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น ·
ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน ·
บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 ·
ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 ·
อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน

ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) ·
นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·
ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)

(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ธงอาเซียน
รัฐสมาชิก: กัมพูชา · ไทย · บรูไน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · มาเลเซีย · ลาว · เวียดนาม · สิงคโปร์ · อินโดนีเซีย
ประเทศสังเกตการณ์: ปาปัวนิวกินี


  ประเทศพม่า เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศพม่า ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com