Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประเทศอัฟกานิสถาน - วิกิพีเดีย

ประเทศอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

د افغانستان اسلامي دولت
Da Afghanistan Islami Dawlat
دولت اسلامی افغانستان
Dawlâteh Eslamiyeh Afghanistan

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
ธงชาติอัฟกานิสถาน ตราประจำชาติอัฟกานิสถาน
ธงชาติ ตราประจำชาติ
คำขวัญ: ไม่มี
เพลงชาติ: Sououd-e-Melli
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศอัฟกานิสถาน
เมืองหลวง คาบูล
34°30′ N 69°10′ E
เมืองใหญ่สุด คาบูล
ภาษาราชการ ภาษาพาชตูและภาษาดารี
รัฐบาล สาธารณรัฐอิสลาม
- ประธานาธิบดี
- รองประธานาธิบดี
ฮามิด การ์ไซ
อาห์มัด เซีย มัสซูด
การิม คาลิลี
ได้รับเอกราช
- วันที่
จากสหราชอาณาจักร
19 สิงหาคม พ.ศ. 2462
เนื้อที่
 - ทั้งหมด
 
 - พื้นน้ำ (%)
 
647,500 กม.² (อันดับที่ 40)
250,001 ไมล์² 
?
ประชากร
 - 2549 ประมาณ
 - ความหนาแน่น
 
31,056,997 (อันดับที่ 38)
43/กม² (อันดับที่ 125)
111/ไมล์² 
GDP (PPP)
 - รวม
 - ต่อประชากร
2549 ค่าประมาณ
31.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 91)
1,310 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 162)
HDI (2003) ? (อันดับที่ ?) – ?
สกุลเงิน อัฟกานี (AFN)
เขตเวลา
 - ฤดูร้อน (DST)
(UTC+4:30)
รหัสอินเทอร์เน็ต .af
รหัสโทรศัพท์ +93

อัฟกานิสถาน (ภาษาดารี (เปอร์เซียน) และ ภาษาพาชตู (อัฟกัน): افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกจรดปากีสถาน ทางทิศเหนือจรดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดจรดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของ โลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

สารบัญ

[แก้] ประวัติศาสตร์

1880 อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน

1901 อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

1919 ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน

1929 ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ

1933 กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์

1973 ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี

1978 ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุุฮัมมัด ฏอรอกี

1979 ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี

1979 เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี

บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี

1992 พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น

1996 ตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้

2001 ตอลิบานถูกขับไล่ออกจากกรุงคาบูล สหรัฐอเมริกาผลักดันให้นายฮามิด การฺซาย เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว

[แก้] การปกครอง

อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน

ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522-2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพ โซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังทาลิบันขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาล ทาลิบันขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544 หลังเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทาลิบัน และมุ่งที่จะจับนายโอซามา บินลาเดน (Osama Binladen) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลทาลิบันได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน


[แก้] การเมือง

ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล

[แก้] การบริหารรัฐบาลกลาง

ฝ่ายนิติบัญญัติ 
มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่าๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี

นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี

ฝ่ายบริหาร 
ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
ฝ่ายตุลาการ 
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย

[แก้] การบริหารระดับจังหวัด

แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน


[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็น 34 จังหวัด หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า เวลายัต (welayat) ได้แก่

  • 1 บาดัคชาน
  • 2 บาดกิส
  • 3 บักลาน
  • 4 บาลค์
  • 5 บามียัน
  • 6 ไดกอนดี
  • 7 ฟาราห์
  • 8 ฟาร์ยาบ
  • 9 กัซนี
  • 10 กาวร์
  • 11 เฮลมันด์
  • 12 เฮราต
  • 13 เจาซ์จัน
  • 14 คาบูล
  • 15 กันดะฮาร์
  • 16 กาปิซา
  • 17 คอสต์
  • 18 โกนาร์
  • 19 กอนดอซ
  • 20 ลักมาน
  • 21 เลาการ์
  • 22 นันการ์ฮาร์
  • 23 นิมรุซ
  • 24 นูเรสถาน
  • 25 โอรุซกัน
  • 26 ปักเตีย
  • 27 ปักติกา
  • 28 ปันจ์ชีร์
  • 29 ปาร์วัน
  • 30 ซามันกัน
  • 31 ซารีโปล
  • 32 ตาคาร์
  • 33 วาร์ดัก
  • 34 ซาโบล
แผนที่ประเทศอัฟกานิสถานแสดงจังหวัด
แผนที่ประเทศอัฟกานิสถานแสดงจังหวัด

[แก้] ภูมิศาสตร์

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] เศรษฐกิจ

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] ประชากร

เชื้อชาติ: ปุชตู 42% ทาจิก 27% ฮาซารา 9% อุซเบก 9% เติร์กเมน 3% บาลอช 2% อื่นๆเช่น ปาไช นูริสตานี บราหุ่ย และคิซิลเบช 4%

การอ่านออกเขียนได้: ตั้งแต่อายุ 15 ปี ร้อยละ 36 (เป็นชาย 51% หญิง 21%)

GDP : 800 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (ปี 2548)

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] ศาสนา

ในอดีตประเทศอัฟกานิสถานได้นับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าเมนันเดอร์ หรือ มิลินท์และพระนาคเสน ก็เป็นประจักษ์พยานของการมีอยู่ของพระพุทธศาสนาในอดีต และมีหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปบามิยัน ที่เมืองบามิยันซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000ปี แต่ต่อมาในยุคหลังได่ถูกพวกตาลีบันทำลายทิ้งทั้งหมด

ชาวอัฟกานิสถานในปัจจุบันส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม98%(สุหนี่83.2% ชีอะห์ 14.9%) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ 1.4% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.4% ศาสนาคริสต์ 0.1%

[แก้] ประวัติพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาวศากยะที่หนีตายจากพระเจ้าวิฑฑูภะมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นอุทยาน (Udyana) ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มี พระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณแคว้นนครหาร (Nagarahara) ซึ่งใกล้แคว้นคันธาระทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฎแน่ชัดทางประวัติศาสตร์

ต่อมา พ.ศ.300 พระเจ้าอโศกได้ส่งพระธรรมทูตไปเผยแพร่ 2 สาย คือ พระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่พุทธศาสนาในแคว้นกัษมีระ และแคว้นคันธาระและพระมหาธัมมรักขิตเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่พุทธศาสนาในแคว้นโยนกบ้านเกิดของท่านเองเป็นเขตแดนบากเตรียหรืออัฟกานิสถานในปัจจุบัน ซึ่งยุคนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรีกตั้งแต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.360 หรือ พ.ศ.500 พระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ (Menander) กษัตริย์เชื้อสายกรีก ได้สร้างเมืองสาคละใกล้กับตักศิลา และได้ขยายดินแดนทางใต้จรดเมืองมถุราลุ่มแม่น้ำยมุนาของอินเดีย พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ได้โต้ตอบปัญญาธรรมกับภิกษุชื่อ พระนาคเสน จากนั้นก็เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ดังปรากฎในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรือง พระพุทธรูปศิลปกรรมกรีกผสมอินเดียแบบคันธาระเกิดของเป็นยุคแรก เพราะนำวัฒนธรรมกรีก ผสมความเชื่อในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์และพระโพธิสัตว์พุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งเป็นเทวนิยม

ประเทศ และ ดินแดน ใน ทวีปเอเชีย

กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น ·
ซาอุดีอาระเบีย · ซีเรีย · ไซปรัส2 · ติมอร์ตะวันออก3 · ตุรกี1 · เติร์กเมนิสถาน · ทาจิกิสถาน · ไทย · เนปาล · บรูไน ·
บังกลาเทศ · บาห์เรน · ปากีสถาน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · ภูฏาน · มองโกเลีย · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · เยเมน · รัสเซีย1 ·
ลาว · เลบานอน · เวียดนาม · ศรีลังกา · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · สิงคโปร์ · อัฟกานิสถาน · อาเซอร์ไบจาน1 ·
อาร์เมเนีย2 · อินเดีย · อินโดนีเซีย3 · อิรัก · อิสราเอล · อิหร่าน · อียิปต์4 · อุซเบกิสถาน · โอมาน

ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) ·
นากอร์โน-คาราบัค1 (อาเซอร์ไบจาน) · ปาเลสไตน์: ฉนวนกาซา · เวสต์แบงก์ (อิสราเอล/รัฐบาลปาเลสไตน์) ·
ไต้หวัน (จีน/รัฐบาลไต้หวัน) · สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ1 (ไซปรัส)

(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป;
(3) อาจจัดพื้นที่บางส่วน/ทั้งหมดให้อยู่ในเขตโอเชียเนีย; (4) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา


  ประเทศอัฟกานิสถาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศอัฟกานิสถาน ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com