โลกาภิวัตน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) [1] คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก
โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"
โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก
โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:
- ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ)
- ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ)
- ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ)
- ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)
[แก้] อ้างอิง
- ↑ โลกาภิวัตน์ จากคำบาลี โลก + อภิวตฺตน ตามรูปศัพท์หมายถึง การแผ่ถึงกันทั่วโลก, การเข้าถึงโลก, การเอาชนะโลก (ดู ศัพท์บัญญัติ globalization) คำที่มีความหมายใกล้เคียง และนิยมใช้แทนกัน คือ โลกานุวัตร (ดู คำอธิบายความหมาย) ตามรูปศัพท์คือ ความประพฤติตามโลก
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ((อังกฤษ)) ดัชนีโลกาภิวัตน์
- ((อังกฤษ)) แนะนำโลกาภิวัตน์
- ((อังกฤษ)) Globalism/Antiglobalism การสำรวจและวิเคราะห์ โลกาภิวัตน์/อโลกาภิวัตน์
- ((อังกฤษ)) สารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด
โลกาภิวัตน์ เป็นบทความเกี่ยวกับ มนุษย์ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |