รางวัลโนเบล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลโนเบล (Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปี ที่มอบให้กับบุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ (มอบให้กับองค์กรได้ ถ้าเป็นกรณีของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ)
การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยผู้พระราชทานคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน ถึงแม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)
สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ ค.ศ. 1969 โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบ ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน
[แก้] รายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- สาขาเคมี
- สาขาเศรษฐศาสตร์
- สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา
- สาขาวรรณกรรม
- สาขาสันติภาพ
- สาขาฟิสิกส์
[แก้] สถิติที่น่าสนใจ[1]
- ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุน้อยที่สุด ได้แก่ ลอเรนซ์ แบรกก์ (William Lawrence Bragg) ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1915 โดยได้รับรางวัลเมื่ออายุเพียง 25 ปี
- ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุมากที่สุด ได้แก่ เรย์มอนด์ เดวิส (Raymond Davis Jr.) ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยได้รับรางวัลเมื่ออายุ 88 ปี แต่เรย์มอนด์ เดวิสได้เสียชีวิตลง หลังจากได้รับรางวัลเพียง 4 ปีต่อมา
- องค์กรและบุคคลได้รับรางวัลบ่อยครั้งที่สุด ได้แก่
- องค์กรที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ สภากาชาดสากล โดยได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1917, ค.ศ. 1944 และ ค.ศ. 1963
- มารี กูรี ได้รับรางวัลในสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับ อองตวน อองรี แบกเกอแรล เมื่อปี ค.ศ. 1903 และได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาเคมี ร่วมกับ ปิแยร์ กูรี เมื่อปี ค.ศ. 1911
- จอห์น บาร์ดีน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2 ครั้ง ได้แก่ ปี ค.ศ. 1956 และ ค.ศ. 1972
- ลีนุส คาร์ล พอลลิง ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1954 และ ได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาสันติภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1962
- เฟรดเดอริก แซงเงอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี 2 ครั้ง ได้แก่ ในปี ค.ศ. 1958 และ ค.ศ. 1980
- ตระกูลที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ ตระกูล "กูรี" โดยมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมด 3 คน ได้แก่
- ผู้ที่ปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล ได้แก่ ฌอง ปอล ซาร์ต ซึ่งปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1964 และ เล ดุ๊ก โถ ซึ่งปฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ. 1973
- ผู้เข้ารับรางวัลโนเบล 763 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 730 ราย และ เพศหญิงมีเพียง 33 ราย
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ((อังกฤษ)) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- The Nobel e-Museum - พิพิธภัณฑ์โนเบล
- The Nobel Foundation - มูลนิธิโนเบล
- คณะกรรมการโนเบล แห่ง ราชบัณฑิตยสถานสวีเดน
- คณะกรรมการโนเบล แห่ง สถาบัน Karolinska
- The Swedish Academy
- คณะกรรมการโนเบลนอร์เวย์
- The Nobel Prize Internet Archive - เว็บอย่างไม่เป็นทางการ
- Timeline of Nobel Winners
รางวัลโนเบล |
รางวัล ด้านวิทยาศาสตร์ |
สาขาเคมี | สาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา | สาขาฟิสิกส์ |
รางวัล ด้านศิลปะ, เทววิทยา, และ สันติภาพ |
สาขาวรรณกรรม | สาขาเศรษฐศาสตร์ | สาขาสันติภาพ |
รางวัลโนเบล เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |