ฟองมัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
๏ |
|||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | -ั | า | -ํ | -ิ | ' | " | |
-ุ | -ู | เ | โ | ใ | ไ | -็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
-่ | -้ | -๊ | -๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
-์ | -๎ | -ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | ๏ | ฯ | ๚ | ๛ |
ฟองมัน หรือ ตาไก่ (๏) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น เช่น
- ๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
- รับกฐินภิญโญโมทนา
- ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย
- จาก นิราศภูเขาทอง
ฟองมันเป็นเครื่องหมายที่ไม่ปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการใช้ฟองมัน จึงต้องกดรหัสแอสกี โดยการกดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วกดแป้นตัวเลขด้านขวามือ พิมพ์ 139 (ในโหมดพิมพ์ภาษาไทย) ก็จะได้เครื่องหมายฟองมัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในหนังสือเขมร มีเครื่องหมายแบบเดียวกับฟองมันของเรา และเรียกชื่อว่า กกฺกุฎเนตฺร (กอก-กด-ตะ-เนด) ซึ่งแปลว่า ตาไก่ เช่นเดียวกัน
นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก (๐) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน ก็มี
[แก้] อ้างอิง
- หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ. ราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2533.