ภาษาเขมร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเขมร ( เพียซาแขมร์) |
||||
---|---|---|---|---|
การออกเสียง (IPA): | /pʰiːəsaː kʰmaːe/ | |||
พูดใน: | กัมพูชา เวียดนาม ไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย | |||
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | 15.7 - 21.6 ล้าน (พ.ศ. 2547) | |||
ตระกูลของภาษา: | ออสโตรเอเชียติก มอญ-เขมร มอญ-เขมรตะวันออก ภาษาเขมร |
|||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาราชการของ: | กัมพูชา | |||
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | km | |||
ISO 639-2: | khm | |||
ISO/DIS 639-3: | either: khm — เขมรกลาง kxm — เขมรเหนือ |
|||
|
ภาษาเขมร เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
สารบัญ |
[แก้] สัทวิทยา
ภาษาเขมรมาตรฐานในปัจจุบัน มีเสียงสระและพยัญชนะดังต่อไปนี้ (เขียนตาม IPA)
[แก้] พยัญชนะ
p | t | c | k | ʔ |
ɓ | ɗ | |||
(f) | s | h | ||
m | n | ɲ | ŋ | |
w | j | h | ||
l | ||||
ɽ |
เสียงพยัญชนะ f/ฟ ปรากฏในคำยืมบางคำ เสียงพยัญชนะ ʃ, z และ g ปรากฏในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส และคำยืมใหม่อื่น ๆ
[แก้] สระ
i | e | ɨ | ə | a | ɑ | u | o | ||
i | eː | ɛː | ɨː | əː | aː | ɑː | uː | oː | ɔː |
iːə | eːi | aːe | ɨːə | əːɨ | aːə | ɑːo | uːə | oːu | ɔːə |
eə | uə | oə |
หมายเหตุ มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนและค่าทางสัทวิทยาของสระเหล่านี้
[แก้] พยางค์และคำ
คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง
pʰt- | pʰc- | pʰk- | pʰʔ- | pɗ- | pʰn- | pʰɲ- | pʰŋ- | pʰj- | pʰl- | pɽ- | ps- | ph- | |||||||
tʰp- | tʰk- | tʰʔ- | tɓ- | tʰm- | tʰn- | tʰŋ- | tw- | tj- | tl- | tɽ- | th- | ||||||||
cʰp- | cʰk- | cʰʔ- | cɓ- | cɗ- | cʰm- | cʰn- | cʰŋ- | cʰw- | cʰl- | cɽ- | ch- | ||||||||
kʰp- | kʰt- | kʰc- | kʰʔ- | kɓ- | kɗ- | kʰm- | kʰn- | kʰɲ- | kŋ- | kʰw- | kʰj- | kʰl- | kʰɽ- | ks- | kh- | ||||
sp- | st- | sk- | sʔ- | sɓ- | sɗ- | sm- | sn- | sɲ- | sŋ- | sw- | sl- | sɽ- | sth- | ||||||
ʔəw- | |||||||||||||||||||
mət- | məc- | məʔ- | məɗ- | mən- | məɲ- | məl- | məɽ- | məs- | məh- | ||||||||||
ləp- | lək- | ləʔ- | ləɓ- | ləm- | ləŋ- | ləw- | ləh- | ləkh- |
แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ
โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด
คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้
คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ
[แก้] ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนรวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้านเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรชในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช
[แก้] ไวยากรณ์
ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำก็มีมาก
[แก้] อักษรเขียน
ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะคล้ายเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ
1.อักษรเชรียง
อักษรเชรียง(อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์ ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ) อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด
2.อักษรมูล
อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ
ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย
[แก้] อิทธิพลของภาษาเขมรในภาษาไทย
กล่าวได้ว่าภาษาเขมรมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยอยธยา โดยปรากฏในปริบทต่างๆ ดังนี้
1. ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ ฯลฯ
2. ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, เสมียน, ตำรวจ ฯลฯ
3. ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม ฯลฯ