ฦๅ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฦๅ |
|||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | -ั | า | -ํ | -ิ | ' | " | |
-ุ | -ู | เ | โ | ใ | ไ | -็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
-่ | -้ | -๊ | -๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
-์ | -๎ | -ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | ๏ | ฯ | ๚ | ๛ |
ฦๅ หรือ ตัวลือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไ่ม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล, ฦ และก่อนหน้า ว
เดิมตำราหลักภาษาไทยมักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลักอักขรวิธีในภาษาสันสกฤต แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับพยัญชนะอย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทางภาษาศาสตร์นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม
ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ ออกเสียงว่า “ลฺรี” (คือ ล ควบ ร) แต่ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยแท้เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า และปัจจุบันไม่ใช้เลย เช่น
- ฦๅ, ฦๅสาย, ฦๅชา, เลื่องฦๅ
ฦๅ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |