Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ชวน หลีกภัย - วิกิพีเดีย

ชวน หลีกภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
นายชวน หลีกภัย บนหน้าปกนิตยสาร Asiaweek
นายชวน หลีกภัย บนหน้าปกนิตยสาร Asiaweek

นายชวน หลีกภัย เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม และนางถ้วน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 และสมัยที่สองในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544


สารบัญ

[แก้] ประวัติการศึกษา

  • ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
  • สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
  • พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
  • พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร นิติศาสตรบัณฑิต
ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร นิติศาสตรบัณฑิต

[แก้] การทำงานช่วงแรก

ชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดตรัง ภายใต้พรรคประชาธิปัตย์ และได้มาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ซึ่งได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้

[แก้] นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

[แก้] สมัยแรก

นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา

[แก้] สมัยที่สอง

เนื้อหาในส่วนนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และต้องการการแก้ไขโดยด่วนเพื่อสอดคล้องกับการเป็นสารานุกรม
กรุณาดูบทสนทนาที่เกี่ยวข้องที่หน้าพูดคุยของบทความนี้

นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง หลังจากพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยค่าเงินบาท ฝ่ายรัฐบาลอยู่เดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ด้วยเสียงของพรรคความหวังใหม่ (ส.ส. 125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ผนวกกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลสมัย พล.อ. ชวลิต ได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) เพื่อสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียงซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดในสภา 393 คน เพียงครึ่งเสียง เพื่อให้รัฐบาลที่จะจัดตั้งมีความมั่นคง พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ ชักชวนกลุ่มงูเห่าซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนเข้ามาสนับสนุน รวมเป็น 208 เสียง[1] นายชวน หลีกภัย จึงได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตยโดยเฉพาะหัวหน้าพรรคประชากรไทยนายสมัคร สุนทรเวชซึ่งมีมติพรรคไม่ให้เข้าร่วมรัฐบาล

  • ต่อมาพรรคประชากรไทยได้ลงมติขับ ส.ส. กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด

การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ [2] แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน

ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล คือ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของพรรคร่วมรัฐบาล ชาติไทย ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล

นอกจากนี้ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น

[แก้] คำชมและคำวิจารณ์

[แก้] คำชมของผู้สนับสนุน

  • มักย้ำอยู่เสมอว่าตนเองยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่างมาก
  • ผู้สนับสนุนบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) นอกจากนี้ภาพที่พบจากสื่อมักแสดงให้เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างสมถะ

[แก้] คำวิจารณ์

  • การอนุมัติแต่งตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร 1 ใน 3 ทรราช เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 ท่ามกลางกระแสไม่พอใจของสังคม สื่อมวลชน และโดยเฉพาะญาติของผู้เสียชีวิต/สูญหายในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา
  • แม้ว่านายชวนจะได้รับคำชื่นชมจากผู้สนับสนุนบางกลุ่มในเรื่องของความสุจริต แต่ก็มีข่าวการทุจริตของบุคคลรอบข้างนายชวนเป็นระยะ เช่น
    • กรณีนายระลึก หลีกภัย น้องชายของนายชวน มีคดีฉ้อโกงทรัพย์ของธนาคารกสิกรไทย จำนวน 200 ล้านบาท และหลบหนีไปต่างประเทศ
    • คนขับรถประจำตัวของชวน หลีกภัย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ ฐานค้าซีดีเถื่อน ในบ้านพิษณุโลก ซึ่งเป็นบ้านประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • ชวน หลีกภัยมักออกรับประกันแทนลูกพรรคที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต โดยจะพูดจากผิดให้เป็นถูกเสมอ เปรียบเสมือนกับการทาสีดำให้เป็นขาวจนได้รับสมญานาม "ช่างทาสี" ในการตั้งสมญาประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2545 ชวนได้สมญาว่าเป็น "แผ่นเสียงตกร่อง"
  • ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำงานช้า โดยมีคำพูดที่ถูกนำไปล้อเลียนประจำคือ "ผมยังไม่ได้รับรายงาน" "ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน" "อันนี้ผมกำลังพิจารณาอยู่"
  • ในช่วงเดือนปลายปี 2547 ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการขอใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และให้ความเห็นว่าการใช้งบประมาณนี้ในการช่วยเหลือภาคใต้ ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะว่ารัฐบาลละเลยไม่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวมาตลอดสี่ปีเพื่อเป็นการแก้เผ็ดที่ไม่เลือกรัฐบาล]
  • กรณีขาย ปรส. และ "กฎหมายขายชาติ" 12 ฉบับ
    • นักการเมืองผู้ใกล้ชิดของนายชวนหลายคน ร่ำรวยขึ้นมาโดยไม่มีอาชีพอื่นนอกจากเป็นนักการเมือง
    • นายชวน หลีกภัย รับราชการการเมืองทั้งตำแหน่ง ส.ส. และรัฐมนตรี มาตั้งแต่อายุยังน้อย (เริ่มเป็นส.ส.เมื่ออายุ 25 ปี) ได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการระดับปลัดกระทรวง แต่จากการแสดงทรัพย์สินต่อ ปปช. และการแสดงตนว่ามีชีวิตสมถะ รวมทั้งการอาศัยบ้านเพื่อนอยู่ ทำให้มีผู้สงสัยว่ารายได้สะสมเหล่านั้นหายไปไหน
    • เงินเดือน รายได้ของนายชวน หลีกภัย ส่วนหนึ่งบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ตามระเบียบของพรรคประชาธิปัตย์เป็นรายเดือน และช่วยเหลือสมาชิกพรรคฯ คนอื่น ๆ

[แก้] บทบาททางการเมืองภายหลังจากการเป็นนายก

หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 นายชวนต้องการที่จะก้าวลงมาจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จากการลงคะแนนเสียงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐานก็ได้รับเลือกมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ รวมแล้ว นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัย เป็นเวลารวม 12 ปี

ในการเลือกตั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงต่อการจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคไทยรักไทย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนมากกว่า เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ภาพพราหมณ์ในพิธีแรกนาขวัญเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 จากลายเส้นของนายชวน หลีกภัย
ภาพพราหมณ์ในพิธีแรกนาขวัญเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 จากลายเส้นของนายชวน หลีกภัย


[แก้] รางวัลและเกียรติยศ

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ: ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม., 2522), ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช., 2523), มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม., 2524), มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช., 2525), ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว., 2539), ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว., 2541)
  • รางวัลเกียรติคุณจากต่างประเทศ: Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (2536), Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู (2542), Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส (2542), Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว (2543), Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย (2543)
  • เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ราชนาวิกสภาและประกาศนียบัตรของกองทัพเรือ จากการสนับสนุนการศึกษาของกองทัพเรือ โดยนับเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก ที่ได้รับเครื่องหมายนี้ โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
นายชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย

[แก้] วาทะชวน หลีกภัย

นายชวน หลีกภัยได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีคารมคมคาย ในแบบเชือดเฉือน จนได้ฉายาว่า " ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง " ตัวอย่างวาทะเด็ดของนายชวน หลีกภัย เช่น

" เราไม่อาจทำให้คนทุกคนร่ำรวยเท่าเทียมกันได้ แต่เราสามารถทำให้ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายเดียวกันได้ "

" ยอมให้คนโง่ที่คนรอบข้างซื่อสัตย์ปกครองประเทศดีกว่า ปล่อยให้คนซื่อแต่คนรอบข้างโกงกินปกครองประเทศ "

[แก้] หมายเหตุ

^  แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้รับการวิพาร์กวิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นโยบายที่มุ่งช่วยเหลือคนรวยก่อน เพื่อให้คนรวยไปช่วยคนจนในภายหลัง ซึ่งฝ่ายที่วิจารณ์ วิจารณ์ว่า เปรียบประดุจการรดน้ำต้นไว้ที่ยอด ซึ่งยากที่น้ำจะซึมลงไปสู่รากได้ นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์ว่า สาเหตุหลักเกิดจาก นโยบายเปิดเสรีทางการเงิน BIBF ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ในปี 2532 เป็นสาเหตุให้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในรัฐบาลต่อมาจากรัฐบาลสมัยที่ 1 ในขณะที่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้อย่างตายตัว ทำให้รัฐบาลชวลิตไม่มีทางเลือก และต้องลดค่าเงินบาทในปี 2540 ในช่วงปีสุดท้ายของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ภาคประชาชนต่างๆ ได้ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรง และได้มี "คำประกาศอิสระภาพของประเทศไทย" ที่กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง ได้จัดประชุมขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2544 ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว คนว่างงานจำนวนมาก คำมั่นสัญญาจากรัฐบาลว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้น แต่เวลาได้ล่วงเลยมากว่า 3 ปีแล้วทำให้ประชาชน หันไปสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรอย่างท่วมท้น จนทำให้เป็นพรรคการเมืองแรกที่ชนะเลือกตั้งถึงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฏร (ในเบื้องต้น พรรค.ทรท.ได้ 250 ที่นั่ง เท่ากับครึ่งหนึ่งของสภาที่มีจำนวน 500 ที่นั่ง แต่ผู้สมัครถูกใบแดงไป 2 ที่นั่งจึงลดลงเหลือ 248 ที่นั่ง)

  • มีข้อสังเกตุว่า ปลายสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากไอเอ็มเอฟ ฐานะเงินคงคลัง และเงินสำรองมีมาก ถึงระดับปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเบิกถอนเงินสถาบัน ไอเอ็มเอฟ ที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่ รัฐบาลได้ถอนเงิน 12000 ล้านเหรียญสหรัฐจากวงเงิน 17200 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเป็นข้ออ้างอิงว่าฐานะการเงินของประเทศในสมัยรัฐบาลนายชวนนั้น ดีขึ้นแล้ว
  • ระยะแรกของรัฐบาลนายชวน แก้ไขปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง จนทำให้ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถกู้และชำระหนี้ได้ ภายหลังจึงลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ทำให้ประเทศมีเงินออมและเงินคงคลังเพิ่มขึ้น และนักธุรกิจประชาชนที่ประสบความยากลำบากจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง ประกอบการโฆษณาและการใส่ความของพรรคไทยรักไทย ทำให้เข้าใจผิด

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


สมัยก่อนหน้า:
นายอานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรีไทย
(รัฐบาลที่ 50)

พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538
สมัยถัดไป:
นายบรรหาร ศิลปอาชา
สมัยก่อนหน้า:
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรีไทย
(รัฐบาลที่ 53)

พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2544
สมัยถัดไป:
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร


นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · ควง อภัยวงศ์ · ทวี บุณยเกตุ · เสนีย์ ปราโมช · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · พจน์ สารสิน · ถนอม กิตติขจร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · สัญญา ธรรมศักดิ์ · คึกฤทธิ์ ปราโมช · ธานินทร์ กรัยวิเชียร · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · อานันท์ ปันยารชุน · สุจินดา คราประยูร · ชวน หลีกภัย · บรรหาร ศิลปอาชา · ชวลิต ยงใจยุทธ · ทักษิณ ชินวัตร · สุรยุทธ์ จุลานนท์

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com