Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เปรม ติณสูลานนท์ - วิกิพีเดีย

เปรม ติณสูลานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ที่จังหวัดสงขลา เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นผู้วางรากฐานความสงบในภาคใต้เป็นทำให้ภาคใต้สงบเวลายาวนาน [ต้องการแหล่งอ้างอิง] และเป็นผู้ออกนโยบายเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ นักวิเคราะห์จากนิตยสารฟอร์บกล่าวว่าพลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการเมืองไทย [1] ถูกเรียกขานกันขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยว่า เตมีย์ใบ้ [2]

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 6 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

พลเอกเปรม จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2484 และเข้ารบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ ปอยเปต กัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ ฟอร์ตน็อกซ์ มลรัฐเคนตักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 และย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2517

[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

[แก้] บทบาทในวิกฤตการณ์การเมืองและการรัฐประหาร พ.ศ. 2549

พลเอกเปรมมีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 และนำไปสู่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในเวลาต่อมา พลเอกเปรมมีบทบาทสำคัญในการแต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกคนก่อน ให้เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติด้วย นักวิจารณ์กล่าวว่าสภาชุดนี้เต็มไปด้วย"ลูกป๋า" [3][4][5]

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พล.อ.เปรม ได้เดินทางไปเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ ในงาน "นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้า ลาดกระบังนิทรรศ 49 เทิดไท้ 60 ปีครองราชย์พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" พล.อ.เปรม ได้กล่าวชื่นชม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่า "ทุกคนต้องรู้จักมิสเตอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ เป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนคุณสุรยุทธ์นี่แหละ เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาที่ไปก็คล้ายๆ คือไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร แต่เขาถูกเชิญให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะควีนเห็นว่าเขาเป็นคนที่เหมาะสม คุณเชอร์ชิลได้พูดเรื่องเสียสละเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ให้เห็นว่าจำเป็นต้องเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง นายกฯสุรยุทธ์ของเราก็เหมือนกัน ที่มาเป็นนายกฯ โดยไม่ได้ตั้งใจมาเป็น แต่ก็เพื่อชาติบ้านเมือง" [6] ซึ่งข้อเท็จจริงคือ เชอร์ชิล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ของเขต Epping ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Essex ตลอดช่วง 1924 ถึง 1945 (ซึ่งครอบคลุมช่วงที่เขาเป็นนายก รมต.ยามสงคราม ระหว่าง 1940 ถึง 1945) หลังจากนั้น ก็เป็น สส.เขต Woodford จากปี 1945 ถึง 1964 [7] และประมุขอังกฤษในขณะนั้น คือ กษัตริย์ (คิง) ไม่ใช่ราชินี (ควีน) ดังที่พลเอกเปรมเข้าใจ คือ พระเจ้าจอร์จที่ 5

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า:
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ {{{สมัยที่}}})
พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2531
สมัยถัดไป:
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · ควง อภัยวงศ์ · ทวี บุณยเกตุ · เสนีย์ ปราโมช · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · พจน์ สารสิน · ถนอม กิตติขจร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · สัญญา ธรรมศักดิ์ · คึกฤทธิ์ ปราโมช · ธานินทร์ กรัยวิเชียร · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · อานันท์ ปันยารชุน · สุจินดา คราประยูร · ชวน หลีกภัย · บรรหาร ศิลปอาชา · ชวลิต ยงใจยุทธ · ทักษิณ ชินวัตร · สุรยุทธ์ จุลานนท์


  เปรม ติณสูลานนท์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เปรม ติณสูลานนท์ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com