คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Faculty of Allied Health Sciences
Chulalongkorn university)
วันที่ก่อตั้ง | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 |
คณบดี | รศ. ดร. วินัย ดะห์ลัน |
สีประจำคณะ | สีม่วงคราม |
สัญลักษณ์คณะ | งูพันเป็นรูป AHS บนฝ่ามือ |
วารสารคณะ | วารสารสหเวชศาสตร์ (J. Lab Med) |
สถานปฏิบัติการ | หน่วยปฏิบัติการบริการ วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
ที่ตั้ง | เขตปทุมวัน กรุงเทพ |
เว็บไซต์ | www.ahs.chula.ac.th |
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 เป็นคณะลำดับที่ 17 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2511 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือที่ สร. 2001/237 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2511 ถึงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล") ขอโอนคณะเทคนิคการแพทย์ส่วนที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปรวมกับสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตั้งเป็นแผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร โดยยังไม่เป็นที่ตกลง แต่มีมติที่ประชุมร่วมของทั้งสองมหาวิทยาลัยให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2513-2514 จำนวน 70 คน โดยให้นักศึกษาจำนวน 30 คนสมัครใจไปศึกษาต่อชั้นปีที่ 3 ในส่วนที่อยู่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514 ได้มีการปฏิวัติการปกครองแผ่นดินขึ้น และได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 22 ธันวาคม 2514 ให้โอนคณะเทคนิคการแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็น "แผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2521 คณะแพทยศาสตร์ (ศ.นพ.ศริพร วณิเกียรติ คณบดี) มีคำสั่งที่ 84/2521 ลงวันที่ 1 กรกฏาคม 2521 แต่งตั้งคณะทำงานขอข้อมูลเรื่องการศึกษาสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์อีกครั้งหนึ่ง แต่ได้รับการบรรจุเข้าแผนพัฒนาฯ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็น "ภาควิชาเทคนิคการแพทย์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2527 คณะแพทยศาสตร์ (โดย รศ.นพ.ยาใจ ณ สงขลา คณบดี) มีคำสั่งที่ 19/2527 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2527 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) มหาวิทยาลัยเห็นว่า คณะใหม่ควรจะประกอบด้วยหลายสาขาวิชา คณะกรรมการจึงได้พิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติมว่าควรจะมีสาขาวิชาที่เป็นกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่ด้วยกัน เช่น สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชารังสีเทคนิค เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงสมควรพิจารณาในเรื่องชื่อของคณะด้วย จึงได้เรียนเชิญ รศ.นพ.ทองจันทร์ หงส์ลดารมย์ มาร่วมพิจารณาด้วย ได้นำเสนอชื่อคณะหลากหลาย ในที่สุดคณะกรรมการมีมติเห็นชอบว่าสมควรจะเป็นชื่อ "คณะสหเวชศาสตร์" จะเหมาะที่สุด และใช้ชื่อทางภาษาอังกฤษว่า "The Faculty of Allied health Science"
- พ.ศ. 2529 คณะแพทยศาสตร์จึงได้มีประกาศลงวันที่ 18 เมษายน 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ คณบดีเป็นประธานกรรมการ ผศ. นิภา ศาสตรสาธิต เป็นกรรมการและเลขานุการ มีฝ่ายวางแผนและพัฒนาจุฬาลงกรณ์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบระยะเวลาของโครงการ พ.ศ. 2530-2534 ที่ตั้งของโครงการ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จำนวนปีละ 60 คน สาขาวิชากายภาพบำบัดจำนวนปีละ 30 คน สาขาวิชารังสีเทคนิคจำนวนปีละ 30 คน และจะต้องเพิ่มจำนวนการผลิตบัณฑิตขึ้นอีกตามความต้องการของประกาศในด้านการพัฒนาสาธารณสุข
- พ.ศ. 2533 ในการประชุมของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2533 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2533 ได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ ดังนั้น จึงมีพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 108 ตอนที่ 199 หน้า 64-65 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2534
[แก้] หน่วยงานและหลักสูตร
หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
- |
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
|
ภาควิชารังสีเทคนิค |
- |
- |
- |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
คณะเทคนิคการแพทย์ สหเวชศาสตร์ และกายภาพบำบัด ในประเทศไทย | |
คณะ | มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน |
---|---|
เทคนิคการแพทย์ |
มหิดล ขอนแก่น เชียงใหม่ รังสิต หัวเฉียว |
สหเวชศาสตร์ |
จุฬาลงกรณ์ ธรรมศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ นเรศวร วลัยลักษณ์ |
กายภาพบำบัด |
มหิดล รังสิต หัวเฉียว |
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |