Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วิกิพีเดีย

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

คณะนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(Faculty of Law Chulalongkorn University)

ภาพ:Lawcu.jpg

วันที่ก่อตั้ง
คณบดี ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
สีประจำคณะ สีขาว
สัญลักษณ์คณะ ตราชั่ง
ที่ตั้ง อาคารเทพทวาราวดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์ http://www.law.chula.ac.th/

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งที่ 1(แห่งแรก) ของประเทศไทย ตั้งเมื่อปี พ.ศ.2476ก่อนที่จะยุบไปชั่วคราว จนมามีอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2500ดูจากประวัติข้างล่างได้(คณะนิติศาสตร์แห่งที่2 คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก คณะนิติศาสตร์ มักเรียกว่า "Law Chula" ซึ่งฟ้องเสียงกับอักษร "ฬ" นั่นเอง

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมานับตั้งแต่ พ.ศ. 2476 กล่าวคือ ก่อนหน้านั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า นิติศึกษา ณ โรงเรียนกฎหมาย ใน กระทรวงยุติธรรม ได้เจริญยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา และมีผลประจักษ์ว่าได้บรรลุถึงขีดวิชาขั้นมหาวิทยาลัยในอารยประเทศแล้ว เป็นการสมควรที่จะบำรุงต่อไปในทำนองมหาวิทยาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประสานระเบียบการศึกษานิติศาสตร์เข้ากับมหาวิทยาลัยเป็นคณะวิชาคณะหนึ่ง และได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2476 จัดตั้งคณะขึ้นมีชื่อเรียกว่า คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ นับเป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ด้วยเหตุนี้คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นอันสิ้นสภาพลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ในเวลาต่อมา ได้มีการจัดตั้งแผนกวิชานิติศาสตร์ขึ้นใหม่ในคณะรัฐศาสตร์โดยพระราชกฤษฎีกา จัดแบ่งแผนกวิชาในคณะต่าง ๆ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2494 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2494 จึงเป็นอันว่าวิชากฎหมายได้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2501 แผนกวิชานิติศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตร และเปิดรับนิสิตเข้าเรียนในแผนกวิชานิติศาสตร์โดยตรง การเรียนการสอนในขณะนั้นก็แยกออกจากแผนกวิชารัฐศาสตร์ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง จึงเป็นอันว่าการเรียนการสอนในแผนกวิชานิติศาสตร์ในยุคหลังได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา การศึกษาวิชากฎหมายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่ง มหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องเปิดภาคสมทบขึ้น เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่จะเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ จึงได้เปิดการสอนภาคสมทบขึ้นในปีการศึกษา 2508

ต่อมาทางมหาวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นว่า การศึกษาวิชานิติศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ และได้เริ่มทำการสอนจนถึงขั้นปริญญาโท ตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 เป็นต้นมา สมควรที่จะยกฐานะแผนกวิชานิติศาสตร์ขึ้นเป็น "คณะนิติศาสตร์" เพื่อให้การบริหารดำเนินไปได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประกอบกับเหตุผลสำคัญ คือ ในต่างประเทศถือว่าการศึกษาวิชานิติศาสตร์เป็นวิชาสำคัญ ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจะต้องมีคณะนิติศาสตร์ขึ้นเป็นคณะสำคัญของมหาวิทยาลัย ในที่สุด ได้มีการดำเนินการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 164 เป็นอันว่าคณะนิติศาสตร์ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะที่สมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และเมื่อ พ.ศ. 2538 นี้ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 เพื่อใช้แทนประกาศของคณะปฏิวัติที่มีมาแต่เดิม ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นไปตามวิธีการตรากฎหมายในระบบปกติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยนัยนี้ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบันจึงจัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 และถือเอาวันที่ 18 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกสถาปนาคณะนับถึงปัจจุบันนี้

[แก้] ภาควิชา

  • ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • ภาควิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
  • ภาควิชากฎหมายวิธีพิจารณาและธรรมนูญศาล
  • ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป
  • ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ

[แก้] หลักสูตร

[แก้] ระดับปริญญาตรี

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ และ ภาคบัณฑิต)

[แก้] ระดับปริญญาโท

  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ (ศศ.ม.)

[แก้] ระดับปริญญาเอก

  • หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (น.ด.)

[แก้] ความร่วมมือทางวิชาการ

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์ 12 แห่งทั่วเอเชีย จัดตั้ง "สถาบันกฎหมายแห่งเอเชีย (Asian Legal Institute)" เพื่อเปิดโอกาสให้มีการส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับเอเชียให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือทางวิชาการกับ โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ในการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิต รวมทั้ง ยังทำข้อตกลง Dual Degree Program ในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ หลักสูตร M.L.I (Master of Legal Institutions) มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน โดยนิสิตสามารถโอนหน่วยกิตไประหว่างหลักสูตรได้ นอกจากนี้ ยังมีการทำข้อตกลงกับอีกหลายสถาบัน เช่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์, สถาบันวิจัยกฎหมายแห่งเกาหลี เป็นต้น

[แก้] เกียรติประวัติ

ผู้สำเร็จการศึกษารับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพต่าง ๆ กัน เป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย ที่ปรึกษากฎหมาย นิติกร ข้าราชการตามกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ประกอบอาชีพธุรกิจเอกชน ฯลฯ ได้สร้างผลงานและชื่อเสียงให้เป็นที่ปรากฏแก่วงการต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในการสอบเป็นเนติบัณฑิตของสำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งถือกันว่าเป็นแหล่งรวมของบรรดานักกฎหมายจากทุกสถาบัน นับตั้งแต่มีการสอบเนติบัณฑิตตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 50 ปี มีผู้สอบเป็นเนติบัณฑิตที่ได้คะแนนถึงระดับ เกียรตินิยม เพียง 2 คน ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษเข็มชัย ชุติวงศ์ และ คุณสุวิชา (อวยชัย) นาควัชระ ซึ่งทั้งสองคนสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตเก่าที่เป็นที่รู้จัก อาทิเช่น

ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  หน่วยงาน
คณะ

ครุศาสตร์ · จิตวิทยา · ทันตแพทยศาสตร์ · นิติศาสตร์ · นิเทศศาสตร์ · พยาบาลศาสตร์ · พาณิชยศาสตร์และการบัญชี · แพทยศาสตร์ · เภสัชศาสตร์ · รัฐศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · สหเวชศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · ศิลปกรรมศาสตร์ · เศรษฐศาสตร์ · อักษรศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัย

วิทยาลัยการสาธารณสุข · วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี · วิทยาลัยประชากรศาสตร์ · สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

สถาบันสมทบ

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย · วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ · สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ


  คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com