Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วิกิพีเดีย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(Faculty of Medicine Chulalongkorn university)

สัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ก่อตั้ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490
คณบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
สีประจำคณะ สีเขียวใบไม้
สัญลักษณ์คณะ พระเกี้ยว ล้อมด้วยชื่อคณะ
วารสารคณะ จุฬาลงกรณ์เวชสาร
(Chulalongkorn Medical J.)
สถานปฏิบัติการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
(King Chulalongkorn Memorial Hospital)
ที่ตั้ง 1873 ถนนพระราม4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร10330
เว็บไซต์ www.md.chula.ac.th

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร [1] [2]ที่ทรงต้องการให้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันนั้น) ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น(ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส)จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย(ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม "คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่4) พ.ศ.2490[3] ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และแผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ ภายหลังได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2510 [4] [5] [6] ปัจจุบันแบ่งส่วนราชการออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ[7]

ในปี พ.ศ.2550 เป็นโอกาสพิเศษที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ครบรอบ ๙๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครบ ๖๐ ปีของการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้] นโยบาย

  • ปรัชญา - แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม
  • วิสัยทัศน์ - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันวิชาการทางการแพทย์ที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภาคภูมิใจในสถาบัน

[แก้] วันอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

วันอานันทมหิดล เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชาวแพทย์จุฬาฯ กล่าวคือเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 8ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งประดิษฐานหน้าอาคาร "อานันทมหิดล" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์เนื่องในสัปดาห์วันอานันทมหิดล ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

[แก้] ทำเนียบ คณบดี

  • 1.ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (นพ.ชื่น พุทธิแพทย์)
    • 4 มิ.ย.2490-5 ม.ค.2493
  • 2.ศาสตราจารย์ หลวงพรหมทัตตเวที (นพ.ไหมพรม ศรีสวัสดิ์)
    • รักษาการ 20 มี.ค.2493-8 เม.ย.2495
    • คณบดี 9 เม.ย.2495-30พ.ค.2497
  • 3.ศาสตราจารย์อุปการคุณ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (นพ.เฉลิม พรมมาส)
    • รักษาการ 1 พ.ค.2497-28 ก.พ.2500
  • 4.ศาสตราจารย์ พันเอก หลวงประกิตเวชศักดิ์
    • 1 เม.ย.2500-30 เม.ย.2503
  • 5.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
    • 30 พ.ค.2503-4 ธ.ค.2508
    • รักษาการ 5 ธ.ค.2508-27 ก.พ.2509
  • 6.ศาสตราจารย์ พันตรี นายแพทย์ทวี ตุมราศวิน
    • รักษาการ 8 ต.ค.2506-5 ก.ย.2507
    • คณบดี 29 ก.พ. 2509-28 ก.พ. 2516
  • 7.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สมัค พุกกะณะเสน
    • 1 เม.ย.2516-28 ก.พ.2520
  • 8.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ
    • 1 มี.ค.2520-28 ก.พ.2524
  • 9.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา
    • 1 มี.ค.2524-28 ก.พ.2528
  • 10.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
    • 1 มี.ค.2528-28 ม.ค.2532
  • 11.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรเทอง รัชตะปีติ
    • 1 มี.ค.2532-28 ก.พ.2536
  • 12.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์
    • 1 มี.ค.2536-8 ม.ค.2540
  • 13.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีดา ทัศนประดิษฐ์
    • 9 ม.ค.40-30 ก.ย.2542
  • 14.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
    • 1 ต.ค.2542-ปัจจุบัน

[แก้] เกียรติประวัติ

  • พ.ศ. 2502 การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำ (corneal transplantation) ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2505 เปิดสาขาประสาทศัลยศาสตร์และแผนกวิสัญญีวิทยา เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2507 ริเริ่มรักษาไตวายด้วยเครื่องฟอกไตเทียมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2508 เปิดหน่วยวิจัยคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวเป็นแห่งแรกของประเทศ
  • พ.ศ. 2513 ริเริ่มให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกคลอดทุกราย
  • พ.ศ. 2515 การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 จัดตั้งห้องปฏิบัติการโครโมโซมแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 ริเริ่มการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 ริเริ่มการใช้ ultrasound เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2521 ริเริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2524 ริเริ่มการใช้ CT scan เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามรายแรกของประเทศและรายที่ 3 ของโลก
  • พ.ศ. 2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามาแทนนิ้วมือด้วยจุลศัลยกรรมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2527 วินิจฉัยผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการแก้ไขการมีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (Test tube baby)รายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ. 2543 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด
  • พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education Supplement ให้อยู่อันดับที่ 60 ของโลก
  • พ.ศ. 2548 คณะแพทยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education Supplement ให้อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
  • พ.ศ. 2549 คณะแพทยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education Supplement ให้อยู่อันดับที่ 80 ของโลก

[แก้] คณาจารย์และศิษย์เก่าผู้ทำชื่อเสียง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยคณาจารย์และศิษย์เก่าได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น , เมธีวิจัยอาวุโส สกว. , นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นอกจากนี้ ศิษย์เก่ายังมีบทบาททางการเมือง การปกครอง และการบริหารต่าง ๆ โดยดูรายชื่อบุคคลสำคัญจากคณะแพทยศาสตร์ได้ที่

[แก้] หลักสูตร

[แก้] ปริญญาตรี

[แก้] ประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก

  • สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาจักษุวิทยา
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
  • สาขาวิชานิติเวชศาสตร์
  • สาชาวิชาพยาธิวิทยา
  • สาขาวิชารังสีวิทยา
  • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา
  • สาขาวิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก

[แก้] ปริญญาโท

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

[แก้] ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (Higher Graduate Diploma of Clinical Sciences program)

  • สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
  • สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์โรคเลือด/มะเร็งวิทยา
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
  • สาขาวิชาจักษุวิทยา
  • สาขาวิชานิติเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยา
  • สาขาวิชารังสีวิทยา
  • สาขาวิชารังสีรักษา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • สาขาวิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • สาขาวิชาออร์โทปิดิกส์
  • สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาประสาทวิทยา
  • สาขาวิชาตจวิทยา
  • สาขาวิชาโลหิตวิทยา
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก
  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

[แก้] ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน
  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์
  • สหสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์
  • สหสาขาวิชาสรีรวิทยา

[แก้] ภาควิชา

[แก้] ศูนย์

[แก้] ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้] การเดินทางมาสู่คณะ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
  2. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
  3. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๐
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2510
  5. พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๐
  6. พระราชกฤษฎีกาเลิกล้มคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๐
  7. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๖


คณะแพทยศาสตร์ ใน ประเทศไทย

ศิริราช | จุฬาลงกรณ์ | เชียงใหม่ | รามาธิบดี | ขอนแก่น | สงขลานครินทร์ | พระมงกุฎเกล้า | ศรีนครินทรวิโรฒ | รังสิต | ธรรมศาสตร์ | วชิรพยาบาล | นเรศวร | พระบรมราชชนก | สุรนารี | อุบลราชธานี | มหาสารคาม |


หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  หน่วยงาน
คณะ

ครุศาสตร์ · จิตวิทยา · ทันตแพทยศาสตร์ · นิติศาสตร์ · นิเทศศาสตร์ · พยาบาลศาสตร์ · พาณิชยศาสตร์และการบัญชี · แพทยศาสตร์ · เภสัชศาสตร์ · รัฐศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · สหเวชศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · ศิลปกรรมศาสตร์ · เศรษฐศาสตร์ · อักษรศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาลัย

วิทยาลัยการสาธารณสุข · วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี · วิทยาลัยประชากรศาสตร์ · สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

สถาบันสมทบ

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย · วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ · สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ


  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com