คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Faculty of Commerce and Accountancy
Chulalongkorn University)
วันที่ก่อตั้ง | พ.ศ. 2486 |
คณบดี | ผศ.ดร.ดนุชา คุณพนิชกิจ |
สีประจำคณะ | สีฟ้า |
สัญลักษณ์คณะ | เรือสำเภา |
วารสารคณะ | จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ |
ที่ตั้ง | ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 |
เว็บไซต์ | www.acc.chula.ac.th |
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเปิด "แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์" สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้สถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่ผลิตบุคคลากรเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจของประเทศซึ่งมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2481 เริ่มเปิดแผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาพาณิชยศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2483 ศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกวิชา การบัญชีและพาณิชยศาสตร์ และคณะกรรมการวิชาการได้พิจารณาจัดหลักสูตรให้มีลักษณะอิสระแตกต่างจากหลักสูตร ของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2486 หลังจากแผนกวิชาอิสระได้ดำเนินการสอนมาเกือบ 5 ปี ก็ได้รับการสถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 และศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรกของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- พ.ศ. 2494 คณะฯ ได้เปิดแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์หลักสูตร 4 ปี ผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- พ.ศ. 2500 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาสถิติ หลักสูตร 4 ปี โดยผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2500 - 2513 จะได้รับปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต (สถิติ) ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 เป็นต้นมาจะได้รับปริญญาสถิติศาสตรบัณฑิต
- พ.ศ. 2513 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตร 4 ปี (ปริญญาบัญชีบัณฑิต)
- พ.ศ. 2520 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการตลาด หลักสูตร 4 ปี (ปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต)
- พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ใช้คำว่า “ภาควิชา” แทน “แผนกวิชา” ตามพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
- พ.ศ. 2526 คณะฯ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน และภาควิชาการตลาด
- พ.ศ. 2539 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ( หลักสูตรนานาชาติ ) ซึ่งนับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาแรกในจุฬาฯ
- พ.ศ. 2543 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี
- พ.ศ. 2544 หลักสูตรปริญญาสถิติศาสตรบัณฑิต ได้เปิดสาขาวิชาสถิติเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
[แก้] หน่วยงาน
|
|
[แก้] หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
หลักสูตรสถิติศาสรบัณฑิต
|
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรสถิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฑิต |
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นักการเมือง รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ
ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
หน่วยงาน | |
---|---|
คณะ |
ครุศาสตร์ · จิตวิทยา · ทันตแพทยศาสตร์ · นิติศาสตร์ · นิเทศศาสตร์ · พยาบาลศาสตร์ · พาณิชยศาสตร์และการบัญชี · แพทยศาสตร์ · เภสัชศาสตร์ · รัฐศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · สถาปัตยกรรมศาสตร์ · สหเวชศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · ศิลปกรรมศาสตร์ · เศรษฐศาสตร์ · อักษรศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · บัณฑิตวิทยาลัย |
วิทยาลัย |
วิทยาลัยการสาธารณสุข · วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี · วิทยาลัยประชากรศาสตร์ · สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ |
สถาบันสมทบ |
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย · วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ · สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ |
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |