กายภาพบำบัด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กายภาพบำบัด เป็นวิชาชีพหนึ่งทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ.2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพกายภาพบำบัดไว้ว่า "เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูการเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด" [1]
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
จุดเริ่มต้นของกายภาพบำบัดในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยพลตรีนายแพทย์ขุนประทุมโรคประหาร ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้นำวิธีธาราบำบัดมาใช้รักษาผู้ป่วยเป็นครั้งแรก ต่อมา ก็ได้มีการเริ่มงานทางด้านกายภาพบำบัดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช และได้ก่อตั้งเป็นภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2507 และหลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็มีการก่อตั้ง "โรงเรียนกายภาพบำบัด" แห่งแรกของประเทศขึ้น
[แก้] มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพกายภาพบำบัดในประเทศไทย
ปัจจุบัน มีสถาบันอุมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนสาขากายภาพบำบัด ดังนี้
- คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
[แก้] อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ.2547
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
กายภาพบำบัด เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |