ชีวโมเลกุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชีวโมเลกุล (อังกฤษ:biomolecule) เป็น สารประกอบเคมี ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในสิ่งมีชีวิต ชีวโมเลกุลประกอบด้วยธาตุเคมีพื้นฐานที่สำคัญ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน, ออกซิเจน, ฟอสฟอรัส และกำมะถัน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นร่วมด้วยแต่น้อยมาก
ชีวโมเลกุลมีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต ตัวอย่างเช่นมนุษย์ มีผิวหนังและขน ส่วนประกอบหลักของขนคือเคอราติน (keratin) ที่เกิดจากการจับกลุ่มกันเป็นก้อนของโปรตีน ซึ่งตัวมันเองก็เป็นพอลิเมอร์ที่ถูกสร้างจากกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนนั้นเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่สำคัญในธรรมชาติที่จะประกอบ กันเป็นโมเลกุล ใหญ่ รูปแบบของก้อนอิฐอีกตัวหนึ่งคือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
นิวคลีโอไทด์เหล่านี้มีหน้าที่สร้าง กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
นอกจากชีวโมเลกุลขนาดใหญ่แล้ว ในสิ่งมีชีวิตก็ยังมีการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางยาและสำคัญต่อการดำรงชีวิต
สารบัญ |
[แก้] ประเภทของชีวโมเลกุล
ชีวโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:
- โมเลกุลขนาดเล็ก:
- ไลปิด, ฟอสโฟไลปิด, ไกลโคไลปิด, สเตอรอล
- ไวตามิน
- ฮอร์โมน, นิวโรทรานสมิตเตอร์
- คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล
- ไดแซคคาไรด์
- โมโนเมอร์:
- กรดอะมิโน
- นิวคลีโอไทด์
- ฟอสเฟต
- โมโนแซคคาไรด์
- พอลิเมอร์:
- แมคโคโมเลกุล:
- ไปรออน (Prion)
[แก้] นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์
นิวคลีโอไซด์ เป็นโมเลกุลที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่าง นิวคลีโอเบส (nucleobase) กับวงแหวน ไรโบส (ribose) ตัวอย่างเช่น
- ไซติดีน (cytidine)
- ยูริดีน (uridine)
- อะดีโนซีน (adenosine)
- กัวโนซีน (guanosine)
- ไทมิดีน (thymidine)
- อินอซีน (inosine)
นิวคลีโอไซด์สามารถจะถูก ฟอสฟอริเลต โดยเอนไซม์ ไคเนส ใน เซลล์ และได้เป็น นิวคลีโอไทด์ ซึ่งจะเป็นโมเลกุลบิลดิ่งบล๊อกของ DNA (deoxyribonucleic acid) และ RNA (ribonucleic acid).
[แก้] แซคคาไรด์ (Saccharides)
โมโนแซคคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลธรรมดาที่สุด (simple sugars) ไดแซคคาไรด์ เกิดจากการรวมตัวกันของ โมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ และ ไดแซคคาไรด์ เป็นผลึกที่มีรสหวานและละลายน้ำได้ดี
- ตัวอย่างของ โมโนแซคคาไรด์ คือ
- เฮกโซส (hexose) ได้แก่
- กลูโคส (glucose)
- ฟรุกโตส (fructose)
- แกแลคโตส (galactose)
- เพนโตส (pentose) ได้แก่
- ไรโบส (ribose)
- ดีออกซิไรโบส (deoxyribose)
- ตัวอย่างของ ไดแซคคาไรด์ คือ
- ซูโครส (sucrose)
- มอลโตส (maltose)
- แลคโตส (lactose)
พอลิแซคคาไรด์ เป็นการเชื่อมต่อกันของโมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ เป็นสารประกอบซับซ้อนคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน เป็นโมเลกุล ขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขาเชื่อมต่อ ไม่ละลายน้ำ ไม่เป็นผลึก
- ตัวอย่างของ พอลิแซคคาไรด์ คือ
พอลิแซคคาไรด์ สั้นที่มี 2-15 โมเลกุลเชื่อมต่อกันเรียกว่า โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)
[แก้] ไลปิด (Lipids)
ไลปิด โดยหลักๆ แล้วคือ กรดไขมัน เอสเตอร์ และเป็นบิลดิ่งบล๊อคพื้นฐานของ เซลล์เมมเบรนหน้าที่ทางชีววิทยาอื่นๆคือ เป็นที่เก็บพลังงาน (เช่น, ไตรกลีเซอไรด์) ไลปิดส่วนใหญ่ประกอบด้วย หัวโพลาร์ หรือ ไฮโดรฟิลิก และ 1-3 หางของกรดไขมันที่เป็น นอน-โพลาร์ หรือ ไฮโดรโฟบิกและดังนั้นมันจึงเป็น แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) กรดไขมัน ประกอบด้วยโซ่ของคาร์บอนอะตอมที่ไม่มีสาขาที่เชื่อมต่อกันโดนพันธะเดี่ยว (single bonds) เท่านั้น (กรดไขมันชนิด อิ่มตัว (saturated)) หรือ ทั้งพันธะเดี่ยวและ พันธะคู่ (double bond) (กรดไขมันชนิด ไม่อิ่มตัว (unsaturated)) โซ่นี้จะมีคาร์บอนกรุปประมาณ 14-24
สำหรับไลปิดที่มีอยู่ในเมมเบรนทางชีวภาพ หัวไฮโดรฟิลิกจะเป็น หนึ่งในสามกลุ่มข้างล่างนี้:
- ไกลโคไลปิด (Glycolipid), หัวของมันจะประกอบไปด้วย โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)
ซึ่งมีส่วนที่เป็นแซคคาไรด์อยู่ประมาณ 1-15 หน่วย
- ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid), หัวของมันจะมีกลุ่มประจุบวกที่เชื่อมต่อกับหางที่เป็นประจลบของฟอสเฟตกรุป
- สเตอรอล (Sterol) ซึ่งส่วนหัวของมันจะมีวงแหวนพลานาร์สเตอรอยด์ (planar steroid ring) ตัวอย่างเช่นคอเลสเตอรอล
[แก้] ฮอร์โมน (Hormones)
ฮอร์โมน ถูกผลิตใน ต่อมไร้ท่อ และถูกปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด มันมีหน้าที่หลากหลายในหลายอวัยวะประกอบด้วยการควบคุม เส้นทางการเผาผลาญ (metabolic pathway) และควบคุมกระบวนการขนส่งผ่านเมมเบรน ฮอร์โมน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มโครงสร้างดังนี้:
- สเตอรอยด์ (steroid) เป็นประเภทหนึ่งของฮอร์โมนที่มีหลายหน้าที่ และสเตอรอยด์ทุกตัวจะถูกผลิตจาก คอเลสเตอรอล
- อะมีนธรรมดา หรือ กรดอะมิโน
- เปปไทด์ หรือ โปรตีน
[แก้] ดูเพิ่ม
ชีวโมเลกุล เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวเคมี อินทรีย์เคมีและชีวโมเลกุล ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |