ฟุตบอลทีมชาติไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- หน้านี้สำหรับทีมฟุตบอลชาย สำหรับทีมหญิงดูได้ที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ชื่อเล่น | - | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาคม | สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | ชาญวิทย์ ผลชีวิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | THA | ||||||||||||||||||||||||||||||||
เล่นทีมชาติสูงสุด | เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (116) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (103) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
เกมต่างประเทศเกมแรก เวียดนามใต้ 3 - 1 ไทย (เวียดนามใต้; ไม่รู้วันเดือนปี) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
ชัยชนะสูงสุด ไทย 10 - 0 บรูไน (กรุงเทพ, ประเทศไทย; 24 พฤษภาคม 2514) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
พ่ายแพ้สูงสุด [1] สหราชอาณาจักร 9 - 0 ไทย (เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย; 26 พฤศจิกายน 2499) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
เอเชียนคัพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าเล่น | 5 (เข้าครั้งแรก 1972) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับสูงสุด | อันดับ 3 1972 |
ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศไทยของทีมชาย ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 บริหารทีมโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในปัจจุบัน ทีมชาติไทย ยังไม่มีผลงานที่โดดเด่นในระดับโลก ซึ่งทีมไทยยังไม่เคยได้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลโลก แต่ได้เข้าร่วมแข่งในกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง ส่วนในระดับทวีปเอเชียนั้น ทีมชาติไทย เคยได้อันดับสูงสุดคืออันดับที่ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 ในปี พ.ศ. 2515 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ และในเอเชียนเกมส์ ทีมไทยได้เข้าร่วม 4 ครั้ง ส่วนการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนนั้น ทีมไทยเป็นแชมป์ซีเกมส์ 12 ครั้ง คิงส์คัพ 11 ครั้ง และ ไทเกอร์คัพ 3 ครั้ง
หลังจากแพ้ต่อทีมชาติกาตาร์ในการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2006 ทีมไทยแข่งขัน คิงส์คัพ ในเดือน ธันวาคม 2549, อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007 ในเดือนมกราคม และ เอเชียนคัพ 2007 ที่จะจัดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ส่วนทีมชาติชุดเยาวชนนั้นตกรอบแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชน 2006 ที่ประเทศอินเดียในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ผู้ฝึกสอนในปัจจุบันคือ ชาญวิทย์ ผลชีวิน ที่รับช่วงต่อมาจาก ซิกกี้ เฮลด์ ในปี 2547
สารบัญ |
[แก้] ประวัติทีมชาติไทย
[แก้] เริ่มต้นทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งในขณะนั้นทีมชาติถูกเรียกว่า คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม โดยได้ทำการลงแข่งกับครั้งแรกกับทีมฝ่ายยุโรปในประเทศไทย ในวันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ที่ สนามราชกรีฑาสโมสร หลังจากนั้นหนึ่งปีต่อมา ปี 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยขึ้นในชื่อ "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม" ในปี 2473 ทีมชาติไทยได้ถูกเชิญไปเล่นที่อินโดจีนต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นการแข่งขันครั้งแรกของทีมชาติไทยในต่างประเทศ โดยได้แข่งขันทั้งหมด 4 นัด ระหว่างวันที่ 14-20 เมษายน โดยแข่งกับทีมที่ทางชาติอินโดจีนซึ่งเป็นทีมที่มีผู้เล่นผสมผสานระหว่างชาวเวียดนามกับชาวฝรั่งเศส
[แก้] เข้าสู่ระดับโลก
ปี | สมาคม |
---|---|
2459 | ก่อตั้ง |
2468 | ฟีฟ่า |
2500 | เอเอฟซี |
2537 | เอเอฟเอฟ |
ในปี 2499 พล.ต. เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งกีฬาโอลิมปิก ซึ่งทางทีมได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งครั้งแรกใน กีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 16 นี้ ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในการแข่งขันนี้เป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยได้จับฉลากแข่งกับ ทีมชาติสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นทีมชาติอังกฤษ [1]) ใน วันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 9 ประตูต่อ 0 ซึ่งเป็นสถิติแพ้สูงสุดของทีมไทยจวบจนปัจจุบันนี้ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย
ในปี 2508 ทีมชาติไทยได้เหรียญทองในการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาแหลมทอง (หรือซีเกมส์ในปัจจุบัน) เป็นครั้งแรก โดยการแข่งขันครั้งนี้ถูกจัดขึ้นที่ เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และต่อมาไทยยังคงได้แชมป์ซีเกมส์อีกหลายครั้ง โดยรวมทังสิ้น 12 ครั้ง และอีกสามปีต่อมา ในปี 2511 ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกอีกครั้ง โดยโอลิมปิกครั้งที่ 19 นี่จัดขึ้นที่ เมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ซึ่งในคราวนี้เป็นการแข่งขันแบบจับกลุ่มกลุ่มละสี่ทีม ทีมไทยแพ้สามครั้งติดต่อกัน โดยแพ้ให้กับ ทีมชาติบัลแกเรีย 7 ประตูต่อ 0 , ทีมชาติกัวเตมาลา 4 ประตูต่อ 1 และ ทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 8 ประตูต่อ 0 ทำให้ทีมไทยตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง
ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ
ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน
สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545
ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) เอฟเวอร์ตัน (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ
[แก้] อันดับทีมไทยจากฟีฟ่า
ทีมชาติไทย ได้รับการจัดอันดับโดยฟีฟ่าในทุกเดือน โดยอันดับสูงสุดที่ทีมชาติไทยเคยได้รับคืออันดับที่ 43 ในปี 2541 ซึ่งในขณะนั้นทีมชาติได้รับการจัดอันดับเป็นทีมที่เก่งที่สุดในอาเชียน ในปัจจุบันอันดับทีมไทยได้ตกมาหลายอันดับอยู่ที่อันดับ 125 โดยอันดับทีมในภูมิภาคอาเชียน (พ.ย. 49) แสดงด้านล่าง พร้อมทั้งอันดับโลกในเครื่องหมายวงเล็บ [3] ได้แก่
- สิงคโปร์ (116)
- ไทย (125)
- อินโดนีเซีย (144)
- พม่า (150)
- มาเลเซีย (153)
- ลาว (157)
- เวียดนาม (160)
- บรูไน (167)
- กัมพูชา (178)
- ฟิลิปปินส์ (184)
[แก้] ผลงาน
[แก้] ฟุตบอลโลก
- ดูบทความหลักที่ ทีมชาติไทยในฟุตบอลโลก
ทีมชาติไทยไม่มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกจนกระทั่ง ใน ฟุตบอลโลก 1974 ปี พ.ศ. 2517 ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกครั้งแรกและเข้าร่วมตลอดจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทีมไทยจะยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกได้ ผลงานที่ดีสุดของทีมไทยในรอบคัดเลือก คือ ใน ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก ทีมไทยได้อันดับหนึ่งในรอบแบ่งสาย และผ่านเข้าร่วมเล่นในรอบคัดเลือกรอบสองเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกรอบสองนี้ได้
[แก้] เอเชียนคัพ
- 1956-1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1968 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1972 - อันดับ 3 (สูงสุด)
- 1976 - ถอนตัวหลังจากผ่านรอบคัดเลือก
- 1980-1988 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1992-2004 - เข้ารอบแรก
- 2007 - เข้าร่วมเล่นในฐานะ 1 ใน 4 ทีมเจ้าภาพ
[แก้] ไทเกอร์คัพ
- 1996 - ชนะเลิศ
- 1998 - รอบรองชนะเลิศ
- 2000 - ชนะเลิศ (เจ้าภาพ)
- 2002 - ชนะเลิศ
- 2004 - เข้ารอบแรก
- 2007 - เจ้าภาพร่วมกับสิงคโปร์
[แก้] ผลงานอื่น
- กีฬาโอลิมปิก - เข้าร่วม 2 ครั้ง - 2499 (เมลเบิร์น) และ 2511 (เม็กซิโกซิตี)
- เอเชียนเกมส์ - เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย 3 ครั้ง - 2533 (ปักกิ่ง), 2541 (กรุงเทพ), 2545 (ปูซาน)
- ซีเกมส์ - ชนะเลิศ 12 ครั้ง - 2508, 2518, 2524, 2526, 2528, 2536, 2538, 2540, 2542, 2544, 2546, 2548
- คิงส์คัพ - ชนะเลิศ 11 ครั้ง - 2519, 2522, 2523, 2524, 2525, 2527, 2532, 2533, 2535, 2537, 2543
- ฟุตบอลสามเส้า ที่ไต้หวัน - ชนะเลิศ - 2514
- ฟุตบอลสี่เส้าอินโด-ไชน่า ที่กรุงเทพ - ชนะเลิศ - 2532
- บรูไนเกมส์ - ชนะเลิศ - 2533
- อินดีเพนเดนต์คัพ ที่ อินโดนีเซีย - ชนะเลิศ - 2537
- อะกรีแบงก์คัพ ที่เวียดนาม - ชนะเลิศ 2549
[แก้] ผลงานทีมชาติชุดเยาวชน
- ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 20 - ไม่เคยเข้าร่วมเล่น
- ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 17 - เข้าร่วมเล่น 2 ครั้ง - 1997 (อียิปต์), 1999 (นิวซีแลนด์)
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชน ยู 20 - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 1962, 1969
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชน ยู 17 - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 1998 (กาตาร์)
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชน ยู 14 - รองชนะเลิศ - 2001 (กรุงเทพ)
- ฟุตบอลอาเซียนเยาวชน ยู 23 - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2005 (กรุงเทพ)
- ฟุตบอลอาเซียนเยาวชน ยู 20 - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2005 (กรุงเทพ)
- ฟุตบอลอาเซียนเยาวชน ยู 17 - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2005 (กรุงเทพ)
[แก้] ผู้เล่น
- ดูบทความหลักที่ รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย
[แก้] ผู้เล่นปัจจุบัน เอเชียนเกมส์ 2006
รายชื่อผู้เล่นชุด เอเชียนเกมส์ 2006 [4]
|
[แก้] ผู้เล่นที่ผ่านมา ฟุตบอลเอเชียเยาวชน
ผู้เล่นที่ผ่านมา ชุดฟุตบอลเอเชียเยาวชน [5]
[แก้] ผู้เล่นที่ผ่านมา ปรีโอลิมปิก
ผู้เล่นที่ผ่านมา ชุดปรีโอลิมปิก [6]
|
[แก้] ผู้เล่นที่โดดเด่นในอดีต
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
- โกวิทย์ ฝอยทอง
- ดุสิต เฉลิมแสน
- ตะวัน ศรีปาน
- เทิดศักดิ์ ใจมั่น
- ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล
- นที ทองสุขแก้ว
- ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
- เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์
- วัชรพงศ์ สมจิตต์
- วิทยา เลาหกุล
- กัมปนาท อั้งสูงเนิน
[แก้] ผู้จัดการทีม และ ผู้ฝึกสอน
- ธวัชชัย สัจจกุล (ผู้จัดการ)
- ชาญวิทย์ ผลชีวิน
- วรวิทย์ สัมปชัญญสถิตย์
- สำเริง ไชยยงค์
- รถพล บุษปาคม
- นิพล มาลานนท์ โค้ชผู้รักษาประตู
[แก้] อดีตผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอน
- วิทยา เลาหกุล
- 2541-45 - ปีเตอร์ วิธ
- 2547 - ซิกกี้ เฮลด์
[แก้] สถิติ
สถิติดาวยิงสูงสุดในประวัติฟุตบอลไทย[7]
- ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน - 103 ประตู
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง - 91 ประตู [8]
- นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ - 55 ประตู
- เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง - 42 ประตู
- เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ - 35 ประตู
[แก้] ทีมชาติไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทีมชาติไทยได้มีการถูกอ้างถึงในหลายสื่อ เช่น ภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส, ในการ์ตูนญี่ปุ่นกัปตันซึบาสะ และการ์ตูนไทย มหาสนุก รวมไปถึงยังมีการดัดแปลงเกม โดยโปรแกรมเมอร์ชาวไทย ดัดแปลงตัวเกมโดยเพิ่มทีมชาติไทยและผู้เล่นลงไปในเกมเพิ่มเติมจากเกมต้นฉบับซึ่งไม่มีทีมชาติไทย ในวีดีโอเกม วินนิงอีเลฟเวน และคอมพิวเตอร์เกม แชมเปียนชิพเมเนเจอร์
[แก้] หมากเตะรีเทิร์นส
ในภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส เรื่องราวของพงศ์นรินทร์ผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทยที่มีฝีมือควบคุมทีมระดับสูงกับน้าสาวเจ๊มิ่งที่ถูกหวยรางวัลที่ 1 โดยทั้งสองคนต้องการพาทีมฟุตบอลไทยไปแข่งฟุตบอลโลกโดยพร้อมที่จะใช้ค่าใช้จ่าย 192 ล้านบาทที่ได้มาจากรางวัล แต่ปรากฏว่าหลังจากคุยกับทาง "สมาพันธ์ฟุตบอลไทย" ทางสมาพันธ์ไม่เห็นด้วยไม่ยอมให้พงศ์นรินทร์มาเป็นผู้ฝึกสอน โดยได้แต่งตั้งให้ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลมาควบคุมทีมแทน เจ๊มิ่งกับหลานชายเลยโมโหและเดินทางไป "ราชรัฐอาวี" ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน และสนับสนุนทีมฟุตบอลราชรัฐอาวีจนในที่สุดทีมฟุตบอลอาวีได้ชนะผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้าย และต้องตัดสินกับทีมชาติไทยที่นำโดยผู้ฝึกสอนชาวบราซิล เพื่อจะชิงสิทธิที่จะไปร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลก
[แก้] กัปตันซึบาสะ
ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกัปตันซึบาสะ ทีมเยาวชนไทยได้แข่งขันกับทีมเยาวชนญี่ปุ่นในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชน โดยทีมไทยมีผู้เล่นหลัก สามพี่น้องนักตะกร้อ กรสวัสดิ์ เล่นในตำแหน่งกองหน้า และมีกัปตันทีมบุนนาคอดีตแชมป์มวยไทย ที่เล่นให้กับสโมสรแอทเลติโกมาดริดในสเปน เล่นในตำแหน่งกองหลัง และเป็นตัวจับตายซึบาสะจนเล่นไม่ออก และในครึ่งแรกนั้นทีมไทยนำทีมญี่ปุ่นไป 4 ประตูต่อ 1 แต่ในช่วงพักครึ่งเวลา วากาบายาชิ และ ชินโง ตัวเอกของเรื่องได้ลงเล่น ทำให้ญี่ปุ่นพลิกล็อกชนะไป 5 ประตูต่อ 4 ( วากาบายาชิตอนนั้นถือว่าเป็นประตูที่เหนียวมาก)
โดยนิตยสารอะเดย์ฉบับที่ 70 ที่ได้มีการกล่าวถึงการ์ตูนกัปตันซึบาสะที่ได้แข่งกับทีมชาติไทยนี้
[แก้] มหาสนุก
ในหนังสือการ์ตูนไทยมหาสนุก ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลทีมชาติไทย โดยเขียนเป็นเรื่องสั้นมีภาพประกอบโดย เฟน สตูดิโอ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ หนุ่มไทย 3 คนชอบเล่นฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ แต่เนื่องจากไม่มีเงินซื้อลูกฟุตบอลจึงได้ฝึกเล่นฟุตบอลกับลูกมะพร้าวอยู่เป็นเวลานาน จนมาวันนึงได้มีผู้จัดการทีมชาติไทยได้ขับรถเที่ยวต่างจังหวัดและเห็นฝึมือของหนุ่มทั้งสามคนนี้ จึงได้ซื้อลูกฟุตบอลมาให้ พร้อมกับชวนไปเล่นเป็นตัวแทนทีมชาติไทย จนในที่สุด ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย โดยในระหว่างการแข่งได้เจอกับคู่แข่งที่เก่งกาจไม่ว่านักเตะชื่อดัง อย่าง รุด กุลลิท, ฟาน บาสเทน, และ แกรี ลินิเกอร์ โดยทีมไทยสามารถชนะและผ่านไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในตอนจบนั้น ทีมชาติไทยกำลังจะทำประตูชนะการแข่งขัน แต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น และโลกระเบิดทำให้ทีมไทยไม่ได้แชมป์บอลโลกในครั้งนั้น
[แก้] เกร็ดข้อมูล
- ทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย และ ทีมชาติบัลแกเรีย มีสถิติชัยชนะสูงสุดของตนเอง คือ 8-0 และ 7-0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นสถิติจากการแข่งขันในโอลิมปิกที่เม็กซิโกซิตีกับทีมชาติไทย
[แก้] อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 สื่อในประเทศไทย มักจะเข้าใจผิดว่าทีมชาติไทยแพ้ทีมชาติอังกฤษในโอลิมปิกที่เมลเบิร์น แต่ในความเป็นจริงแล้วทีมชาติอังกฤษไม่มีสิทธิร่วมเล่นในการแข่งขันโอลิมปิก เนื่องจากอังกฤษไม่ได้เป็นประเทศ แต่เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร โดยทีมที่เล่นในโอลิมปิกคือทีมชาติสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นทีมสมัครเล่น
- ↑ สถิติฟุตบอลในโอลิมปิก 1956
- ↑ อันดับทีมชาติจากเว็บฟีฟ่า (ข้อมูลเดือน พฤศจิกายน 2549)
- ↑ รายชื่อผู้เล่นชุดเอเชียนเกมส์ จากเว็บไซต์เอเชียนเกมส์อย่างเป็นทางการ
- ↑ รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทยชุดชิงแชมป์เอเชียเยาวชน จาก ผู้จัดการ
- ↑ รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทยชุดปรีโอลิมปิก จาก สยามสปอร์ต
- ↑ สถิติดาวยิง จาก สยามฟุตบอล
- ↑ 91 ประตู จำนวนประตู ที่ซิโก้ยิง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ณ วันที่ 25 พ.ย. 49 ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทีมชาติไทย)
- สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ประวัติเกี่ยวกับทีมชาติไทย และฟุตบอลไทย
- มูลนิธินักฟุตบอลทีมชาติไทย
- thaifootball.net เว็บไซต์เกี่ยวกับฟุตบอลไทยแห่งแรก
- thaifootball.com ผลงาน การแข่งขัน ตารางแข่งขัน ทีมชาติไทย ((อังกฤษ))
- กระทู้บอลไทย เว็บบอร์ดพูดคุยเกี่ยวกับฟุตบอลไทย
- เชียร์ไทย เว็บไซต์สนับสนุนฟุตบอลทีมไทย
- พันทิป.คอม ห้องศุภชลาศัย ห้องย่อยฟุตบอลไทย เว็บบอร์ดพูดคุยเกี่ยวกับฟุตบอลไทย
ฟุตบอลในประเทศไทย | |
ฟุตบอลชายทีมชาติไทย | ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย | ฟุตซอลทีมชาติไทย | |
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก | โปรลีก | คิงส์คัพ | ควีนสคัพ | ดิวิชัน 1 | ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน |
ฟุตบอลทีมชาติในเอเอฟซี | |
กวม | กัมพูชา | กาตาร์ | เกาหลีใต้ | เกาหลีเหนือ | คีร์กีซสถาน | คูเวต | จอร์เจีย | จอร์แดน | จีน | ญี่ปุ่น | ซาอุดีอาระเบีย | ซีเรีย | ติมอร์ตะวันออก | เติร์กเมนิสถาน | ไต้หวัน | ทาจิกิสถาน | ไทย | เนปาล | บรูไน | บังกลาเทศ | บาห์เรน | ปากีสถาน | ปาเลสไตน์ | พม่า | ฟิลิปปินส์ | ภูฏาน | มองโกเลีย | มัลดีฟส์ | มาเก๊า | มาเลเซีย | เยเมน | ลาว | เลบานอน | เวียดนาม | ศรีลังกา | ยูเออี | สิงคโปร์ | ออสเตรเลีย | อัฟกานิสถาน | อาเซอร์ไบจาน | อินเดีย | อินโดนีเซีย | อิรัก | อิหร่าน | อียิปต์ | อุซเบกิสถาน | โอมาน |