ฟิสิกส์พลังงานสูง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟิสิกส์พลังงานสูง (high energy physics) หรือ ฟิสิกส์อนุภาค (particle physics) คือฟิสิกส์ที่อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในระดับพลังงานที่สูงที่เราไม่พบเห็นในชีวิตประจำวัน โดยศึกษาอนุภาคย่อยของอะตอม (subatomic particles) และอันตรกิริยา (interactions) ที่เหล่าอนุภาคกระทำกัน การทดลองทางฟิสิกส์พลังงานสูงกระทำกันโดยใช้เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) ซึ่งอาจจะมีพลังงานในระดับเมกกะอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) จนถึงเทราอิเล็กตรอนโวลต์ (TeV)
ประเทศไทยมีเครื่องเร่งอนุภาคที่ ภาคฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โปรดดูที่ [1]) และที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โปรดดูที่ [2]
สาขาหลักของฟิสิกส์ | |
กลศาสตร์ดั้งเดิม | ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า | อุณหพลศาสตร์ | ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และแสง | ทฤษฎีสัมพัทธภาพ | ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ | กลศาสตร์ควอนตัม | กลศาสตร์สถิติ | ฟิสิกส์พลังงานสูง | ทฤษฎีสนามควอนตัม | ฟิสิกส์ของสารควบแน่น |