โมเด็ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมเด็ม (modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัล และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ
ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น
[แก้] มาตรฐานของโมเด็ม
โมเด็มโทรศัพท์ในช่วงแรกถูกพัฒนาโดยบริษัทหลายแห่ง และไม่มีมาตรฐานในการทำงานด้วยกัน ในภายหลังได้มีการสร้างมาตรฐานการส่งข้อมูลของโมเด็มขึ้น ซึ่งพัฒนาอัตราการส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- Smartmodem อัตราส่งข้อมูล 300bit/s พัฒนาโดย Hayes Communications ปี ค.ศ. 1981
- v.32 9600 bit/s
- v.32bis 14,400 bit/s
- v.32ter 19,200 bit/s พัฒนาโดย AT&T
- v.34 28,800 bit/s
- v.90 56kbps
- v.92 56kbps (ความเร็วสูงสุดของสายโทรศัพท์)