เขตพระนคร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร | |
---|---|
สถิติ | |
พื้นที่: | 5.536 ตร.กม. |
ประชากร: | 67,141 (พ.ศ. 2549 เมษายน) |
ความหนาแน่น: | 12128 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 1001 |
แผนที่ | |
เขตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครอง ตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบริเวณตะวันตกสุดของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนราชดำเนินนอกและคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสานและเขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย และเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ประวัติศาสตร์
เขตพระนคร เดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสำราญราษฏร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอสามแยก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอพญาไท อำเภอประแจจีน อำเภอประทุมวัน อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทะวาย อำเภอบางพลัด อำเภออมรินทร์ อำเภอหงสาราม อำเภอราชคฤห์ อำเภอบุปผาราม และอำเภอบุคคโล
ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฏร์ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสามยอด และอำเภอบางขุนพรหม เป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตพระนครแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. | พระบรมมหาราชวัง | (Phra Borom Maha Ratchawang) | 2. | บวรนิเวศ | (Bowon Niwet) | ||
3. | วังบูรพาภิรมย์ | (Wang Burapha Phirom) | 4. | ตลาดยอด | (Talat Yot) | ||
5. | วัดราชบพิธ | (Wat Ratchabophit) | 6. | ชนะสงคราม | (Chana Songkhram) | ||
7. | สำราญราษฎร์ | (Samran Rat) | 8. | บ้านพานถม | (Ban Phan Thom) | ||
9. | ศาลเจ้าพ่อเสือ | (San Chaopho Suea) | 10. | บางขุนพรหม | (Bang Khun Phrom) | ||
11. | เสาชิงช้า | (Sao Chingcha) | 12. | วัดสามพระยา | (Wat Sam Phraya) |
[แก้] สถานที่สำคัญ
เขตพระนครอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
[แก้] ที่ทำการรัฐบาล
มีจำนวน 17 แห่ง ได้แก่
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงยุติธรรม
- กรมที่ดิน
- กรมข่าวทหารบก
- กรมเสมียณเงินตรา กระทรวงการคลัง
- กรมศิลปากร
- กรมแผนที่ทหาร
- กรมสวัสดิการทหารเรือ
- กรมพระธรรมนูญ (ศาลทหารกรุงเทพมหานคร)
- กรมการรักษาดินแดน
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- สำนักอัยการสูงสุด
- หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง
- ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
- ศาลรัฐธรรมนูญ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร
[แก้] วัด
มีจำนวน 24 แห่ง ได้แก่
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- วัดสุทัศนเทพวราราม
- วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
- วัดบวรนิเวศวิหาร
- วัดมกุฏกษัตริยาราม
- วัดอินทรวิหาร
- วัดใหม่อมตรส
- วัดนรนารถสุนทริการาม
- วัดเอี่ยมวรนุช
- วัดราชนัดดาราม
- วัดเทพธิดาราม
- วัดตรีทศเทพ
- วัดราชบุรณะ
- วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
- วัดมหรรณพาราม
- วัดปรินายก
- วัดทิพย์วารีวรวิหาร
- วัดชนะสงคราม
- วัดสังเวชวิศยาราม
- วัดสามพระยา
- วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
- วัดบุรณะศิริมาตยาราม (วัดศิริอำมาตย์)
- วัดมหรรณพาราม (โรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของไทย)
[แก้] มัสยิด
มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- มัสยิดจักรพงษ์
- มัสยิดบ้านตึกดิน
[แก้] ศาลเจ้า
มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
- ศาลเจ้าพ่อเสือ
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม
- ศาลเจ้าบ้านหม้อ
- ศาลเจ้าพ่อเขาตก
- ศาลเจ้าแม่สาวิตรี
- ศาลเจ้าพ่อหนู
[แก้] พระราชวัง
[แก้] อนุสาวรีย์ และ พระบรมราชานุสาวรีย์
- อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- อนุสาวรีย์ทหารอาสา
- อนุสาวรีย์พระบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หน้ากระทรวงพาณิชย์)
- อนุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (หน้าวัดมหาธาตุ ฯ)
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(หน้ากระทรวงยุติธรรม)
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ(หน้ากระทรวงมหาดไทย)
- อนุสาวรีย์หมู (ถนนราชินี ริมคลองคูเมืองเดิม)
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3)
- พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ภายในบริเวณวัดสุทัศน์ ฯ)
- ปฐมพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
[แก้] โบราณสถาน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ
- ป้อมพระสุเมรุ
- ป้อมมหากาฬ
- กำแพง และ ประตูพระนคร (ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร และหลังป้อมมหากาฬ)
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- ศาลหลักเมือง
- โรงละครแห่งชาติ
- ศาลาเฉลิมกรุง
- อนุสรณ์สถานวีรชน 14 ตุลาคม
- สนามหลวง
- พระแม่ธรณีบีบมวยผม
- เสาชิงช้า
- สนามไชย
- คลองคูเมือง ได้แก่ คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอดและคลองตลาด) คลองรอบกรุง (คลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง) และคลองผดุงกรุงเกษม
- ท่าราชวรดิฐ
- ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
- โลหะปราสาท (วัดราชนัดดาราม)
- หอภูวดลทัศนัย (ใกล้หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง)
- ตึกรามแบบตะวันตก เช่น หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ถนนหน้าพระลาน
- ประตูฝรั่ง (ถนนแพร่งสรรพศาสตร์)
- หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า
- ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ แยกป้อมมหากาฬ
- ศาสนสถาน โบสถ์พราหมณ์
- บ้านพระอาทิตย์
- บ้านเจ้าพระยา
- บ้านมะลิวัลย์
ในตอนเริ่มแรกนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง 14 ป้อมปราการ เพื่อรักษาพระนคร แต่ถูกรื้อลงเกือบหมดในสมัยต่อมา ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 2 ป้อม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ แต่เดิมนั้น บริเวณรอบ ๆ ป้อมพระสุเมรุ เป็นแค่ถนนธรรมดา แต่ในปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างสวนสาธารณะ สวนสันติชัยปราการ
เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางรัฐบาลได้อภิปราย พื้นที่บริเวณตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงท่าวาสุกรี ส่งไปให้องค์การยูเนสโกเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต
[แก้] โรงเรียน มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
- วิทยาลัยนาฏศิลป์
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนราชินี
[แก้] ศูนย์การค้า
มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่
- เซ็นทรัลสาขาวังบูรพา
- เมอร์ซีนิวส์
- บางลำพูสรรพสินค้า
- ตั้งฮั่วเส็ง
- พาหุรัดพลาซ่า
- ห้างดิโอลด์สยาม
- ห้างไนติงเกล
- บ้านหม้อ
- เวิ้งนครเขษม
- ร้านค้าคลองถม
- ตลาดบางลำพู
[แก้] การคมนาคม
มีถนนสายหลักในเขตพระนคร ได้แก่
- ถนนกรุงเกษม
- ถนนข้าวสาร
- ถนนจักรเพชร
- ถนนเจ้าฟ้า
- ถนนเจริญกรุง
- ถนนดินสอ
- ถนนตรีเพชร
- ถนนตานี
- ถนนตะนาว
- ถนนตีทอง
- ถนนบ้านหม้อ
- ถนนบำรุงเมือง
- ถนนประชาธิปไตย
- ถนนพระพิทักษ์
- ถนนพระจันทร์
- ถนนพระพิพิธ
- ถนนพระสุเมรุ
- ถนนพระอาทิตย์
- ถนนพาหุรัด
- ถนนเฟื่องนคร
- ถนนมหาไชย
- ถนนมหาราช
- ถนนราชินี
- ถนนราชดำเนินใน ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินนอก
- ถนนวิสุทธิกษัตริย์
- ถนนศิริพงษ์
- ถนนสนามไชย
- ถนนสิบสามห้าง
- ถนนสามเสน
- ถนนหน้าพระธาตุ
- ถนนหน้าพระลาน
- ถนนหลวง
- ถนนอุณากรรณ์
- ถนนอัษฎางค์
- ถนนบูรพา
และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง ได้แก่
- สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตบางพลัด
- สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตบางกอกน้อย
- สะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตธนบุรี
- สะพานพระปกเกล้า เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตธนบุรี
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร | ||
---|---|---|
คลองเตย · คลองสาน · คลองสามวา · คันนายาว · จตุจักร · จอมทอง · ดอนเมือง · ดินแดง · ดุสิต · ตลิ่งชัน · ทวีวัฒนา · ทุ่งครุ · ธนบุรี · บางกอกน้อย · บางกอกใหญ่ · บางกะปิ · บางขุนเทียน · บางเขน · บางคอแหลม · บางแค · บางซื่อ · บางนา · บางบอน · บางพลัด · บางรัก · บึงกุ่ม · ปทุมวัน · ประเวศ · ป้อมปราบศัตรูพ่าย · พญาไท · พระโขนง · พระนคร · ภาษีเจริญ · มีนบุรี · ยานนาวา · ราชเทวี · ราษฎร์บูรณะ · ลาดกระบัง · ลาดพร้าว · วังทองหลาง · วัฒนา · สวนหลวง · สะพานสูง · สัมพันธวงศ์ · สาทร · สายไหม · หนองจอก · หนองแขม · หลักสี่ · ห้วยขวาง |
||
แก้ |
เขตพระนคร เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |