เขตสาทร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร | |
---|---|
สถิติ | |
พื้นที่: | 9.326 ตร.กม. |
ประชากร: | 94,633 (พ.ศ. 2549 เมษายน) |
ความหนาแน่น: | 10,147 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 1028 |
แผนที่ | |
เขตสาทร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางรักและเขตปทุมวัน มีคลองสาทรและถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองเตยและเขตยานนาวา มีแนวทางรถไฟสายช่องนนทรี ซอยศรีรุ้ง ซอยศรีบำเพ็ญ และถนนเย็นอากาศ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตยานนาวาและเขตบางคอแหลม มีถนนนางลิ้นจี่ ถนนจันทน์เก่า คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยอยู่ดี ถนนไผ่เงิน และคลองกรวย เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตสาทรเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอบ้านทะวายย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวาและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา
ภายหลังพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงได้รวมแขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงทุ่งมหาเมฆ จัดตั้ง เขตยานนาวา สาขา 1 (แขวงยานนาวา) และยกฐานะเป็น เขตสาธร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตยานนาวา ตั้งเขตสาธรและเขตบางคอแหลม โดยนำชื่อคลองและถนนสาธรมาตั้งเป็นชื่อของเขตโดยอนุโลม
ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงชื่อ "เขตสาธร" เป็น เขตสาทร เนื่องจากคำว่าสาธรไม่มีความหมายในพจนานุกรม ส่วนคำว่าสาทรมีความหมายว่า เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ "หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)" ขุนนางและคหบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขุดคลองอันเป็นที่มาของชื่อเขต ดังนั้นชื่อเขตสาธร คลองสาธร ถนนสาธรเหนือ ถนนสาธรใต้ และซอยย่อยของถนนสาธร จึงต้องเขียนเป็น "สาทร" ทั้งหมด
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตสาทรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. | ทุ่งวัดดอน | (Thung Wat Don) | |
2. | ยานนาวา | (Yan Nawa) | |
3. | ทุ่งมหาเมฆ | (Thung Maha Mek) |
[แก้] การคมนาคม
ในพื้นที่เขตสาทรมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ถนนสาทรใต้
- ถนนเจริญกรุง
- ถนนเจริญราษฎร์
- ถนนจันทน์
- ถนนนางลิ้นจี่
- ทางพิเศษศรีรัช
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- เจริญกรุง 57 (ซอยดอนกุศล)
- สาทร 1 (ซอยอรรถการประสิทธิ์)
- สาทร 3 (ซอยสวนพลู)
- สาทร 11 และจันทน์ 18 (ซอยเซนต์หลุยส์ 3)
- ซอยงามดูพลี
- ซอยสุวรรณสวัสดิ์
และยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง คือ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เขตสาทร เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |
เขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร | ||
---|---|---|
คลองเตย · คลองสาน · คลองสามวา · คันนายาว · จตุจักร · จอมทอง · ดอนเมือง · ดินแดง · ดุสิต · ตลิ่งชัน · ทวีวัฒนา · ทุ่งครุ · ธนบุรี · บางกอกน้อย · บางกอกใหญ่ · บางกะปิ · บางขุนเทียน · บางเขน · บางคอแหลม · บางแค · บางซื่อ · บางนา · บางบอน · บางพลัด · บางรัก · บึงกุ่ม · ปทุมวัน · ประเวศ · ป้อมปราบศัตรูพ่าย · พญาไท · พระโขนง · พระนคร · ภาษีเจริญ · มีนบุรี · ยานนาวา · ราชเทวี · ราษฎร์บูรณะ · ลาดกระบัง · ลาดพร้าว · วังทองหลาง · วัฒนา · สวนหลวง · สะพานสูง · สัมพันธวงศ์ · สาทร · สายไหม · หนองจอก · หนองแขม · หลักสี่ · ห้วยขวาง |
||
แก้ |