สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างเขตพระนครกับเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานซึ่งเป็นฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล
[แก้] ข้อมูลทั่วไป
- วันที่ทำการก่อสร้าง : พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : OBAYACHI-GUMI CO.,LTD. , SUMITOMO CONSTRUCTION CO.,LTD.
- ราคาค่าก่อสร้าง : 117,631,024.98 บาท
- แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
- โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
- สูงจากระดับน้ำ : 11.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (83.00+110.00+83.00)
- ความยาวของสะพาน : 280.00 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 176 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 206 เมตร
- รวมความยาวทั้งหมด : 662 เมตร
- ความกว้างสะพาน : 26.60 เมตร
- จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
- ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
- ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 21.00 เมตร
- ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
- ความกว้างผิวจราจรบนสะพาน : 21.00 เมตร