จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร |
|
พระปรางค์วัดอรุณ มุมมองจากทางน้ำ |
|
ข้อมูลทั่วไป |
ชื่อสามัญ |
วัดอรุณ หรือวัดแจ้ง |
ประเภท |
พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ |
นิกาย |
เถรวาท |
ความพิเศษ |
วัดประจำรัชกาล ในรัชกาลที่ ๒ |
พระประธาน |
พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก |
พระพุทธรูปสำคัญ |
พระพุทธชัมพูนุช พระแจ้ง พระพุทธนฤมิตร |
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว |
ที่ตั้ง |
34 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 |
โทรศัพท์ |
(+66) 0 2891 1149 |
รถประจำทาง |
19 57 83(ป้ายน้ำเงิน) |
เรือ |
เรือข้ามฟาก: ท่าเตียน <> วัดอรุณ |
รถไฟ/รถไฟฟ้า |
- |
เวลาทำการ |
ทุกวัน 7.30-17.30 |
ค่าธรรมเนียมเข้าชม |
รอบนอก เข้าชมฟรี
บริเวณพระปรางค์ ชาวต่างชาติ 20 บาท ชาวไทยบริจาคตามกำลังศรัทธา
บริเวณพระอุโบสถ ต้องทำหนังสือขออนุญาตเจ้าอาวาส |
จุดที่น่าสนใจ |
สักการะพระพุทธชัมพูนุช สักการะพระจุฬามณี |
กิจกรรม |
9 วันหลังจากออกพรรษา ประเพณีทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน |
มักคุเทศก์ |
- |
อาหารและเครื่องดื่ม |
- |
ข้อห้าม |
- |
การถ่ายภาพ |
- |
ที่จอดรถ |
ถนนอรุณอมรินทร์
(ก่อนเวลา 17.00น.) |
สถานที่ไกล้เคียง |
วัดพระเชตุพนฯ พระราชวังเดิม ป้อมวิชัยประสิทธิ์ วัดโมลีโลกยาราม วัดกัลยาณมิตร กุฎีเจริญพาศน์ มัสยิดต้นสน วัดระฆังโฆสิตาราม วัดหงส์รัตนาราม |
หมายเหตุ |
- |
|
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก ต่อมาเรียกว่าวัดมะกอกนอก เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ต่อมา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปสักการบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระปรางค์องค์เดิม องค์ที่เห็นในปัจจุบันเริ่มปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมะกอกและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดแจ้ง” เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
คอมมอนส์ มีรูปภาพและสื่อในรูปแบบอื่นๆ เกี่ยวกับ: