พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | |
---|---|
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | |
พระนามเต็ม | พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว
[-- พระปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 จะเหมือนกันทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน ในแต่ละพระองค์ จนในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือปรเมนทร์" เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่ เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ 1 ว่าแผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่าแผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ 3 จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ 1 และ 2 เพราะเหตุเช่นนั้น จะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล --] |
พระนามเดิม | ฉิม ; สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร |
พระราชสมภพ | วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2310 |
เสวยราชสมบัติ | เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 16 ปี |
เสด็จสวรรคต | พ.ศ.2367 |
พระโอรสธิดา | รวมทั้งสิ้น 73 พระองค |
วัดประจำรัชกาล | วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2310 พ.ศ. 2367 ครองราชย์ พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2367) รัชกาลที่ 2 แห่งราชจักรีวงศ์พระนามเต็ม "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" (พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อรัชกาลที่ 3[-- พระปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 จะเหมือนกันทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์ จนในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือปรเมนทร์" เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่ เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ 1 ว่าแผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ 2 ว่าแผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ 3 จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ 1 และ 2 เพราะเหตุเช่นนั้นจะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล --] ) พระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2310 เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ก่อนปราบดาภิเษก) เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 16 ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 73 พระองค์
สารบัญ |
[แก้] พระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
[แก้] ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้
[แก้] ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม
นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
[แก้] ด้านดนตรี
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน(ฝัน)ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
[แก้] พระราชโอรส พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ และสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประชาชน เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ทรงมีพระราชโอรส 3 พระองค์
- เจ้าฟ้าชายราชกุมาร
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม เจ้าฟ้ามงกุฎ
- พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือ เป็นที่รู้จักในชื่อ เจ้าฟ้าน้อย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ประสูติแต่พระสนมเอก คือเจ้าจอมมารดาเรียม โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม พระองค์เจ้าทับ
- พระองค์เจ้าป้อม
- พระองค์เจ้าหนูดำ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 73 พระองค์
[แก้] ประสูติเมื่อเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑. พระองค์เจ้าหญิงจักรจั่น
ประสูติเมื่อปีมะเส็งสัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ เจ้าจอมมารดาสี(เจ้าคุณพี)(ธิดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(บุญรอด)) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๒. พระองค์เจ้าชาย
ประสูติเมื่อปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๓. พระองค์เจ้าชายทับ
พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ เจ้าจอมมารดาเรียม(ธิดาพระยานนทบุรี(จัน)) โปรดฯเฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระศรีสุลาลัย ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กำกับกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา เสด็จผ่านพิภพเมื่อวันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ ปีวอกฉสก จ.ศ. ๑๑๘๖ สวรรคตเมื่อ วันพุธ เดือน๕ ขึ้น ๑ ค่ำปีกุนตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ พระชนมพรรษา ๖๔
- ๔. พระองค์เจ้าหญิงลำภู
ประสิตเมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีระกาเอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ เจ้าจอมมารดาสวน ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนกัลยาสุนทร ว่าราชการฝ่ายใน และทรงรักษากุญแจพระราชวังชั้นใน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก จ.ศ. ๑๒๐๘ พระชันษา ๕๘ ปี
- ๕. พระองค์เจ้าหญิงทับทิม
ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีจอโทศก จ.ศ. ๑๑๕๑ เจ้าจอมมารดาแจ่มใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๖. พระองค์เจ้าหญิงยี่สุ่น
ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีจอเอกศก จ.ศ. ๑๑๕๑ เจ้าจอมมารดาเหมใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเส็งเอกศก จ.ศ. ๑๒๓๑ พระชันษา ๘๑ ปี
- ๗. พระองค์เจ้าหญิงป้อม
ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีจอโทศก จ.ศ. ๑๑๕๒ สมเด็จพระศรีสุลาลัย เป็นพระมารดา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ พระชันษา ๓ ปี
- ๘. พระองค์เจ้าชายกล้วยไม้
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน แรม ๑๑ ค่ำ ปีกุนตรีศก จ.ศ.๑๑๕๓ เจ้าจอมมารดาสวน ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นสุนทรธิบดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ไฟไหม้วังสิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะตรีศก จ.ศ. ๑๑๙๓ พระชันษา ๔๑ ปี ทรงเป็นต้นสกุล กล้วยไม้
- ๙. พระองค์เจ้าหญิงบุบผา
ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ ปีกุนตรีศก จ.ศ. ๑๑๕๓ เจ้าจอมมารดาสี(เจ้าคุณพี) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีมะเส็งตรีศก จ.ศ. ๑๑๘๓ พระชันษา ๓๑ ปี
- ๑๐. พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ปีกุนตรีศก จ.ศ.๑๑๕๓ เจ้าจอมมารดาศิลา(ธิดาท่านขรัวยายฟักทอง) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
- ๑๑. พระองค์เจ้าหญิงปุก
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีชวดจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ เจ้าจอมมารดาสั้น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๓๕ พระชันษา ๘๑ ปี
- ๑๒. พระองค์เจ้าชายดำ
ประสูติเมื่อเดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๑๕๔ สมเด็จพระศรีสุราลัยเป็นเจ้าจอมมารดา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีฉลูเบญจศก จ.ศ.๑๑๕๕ พระชันษา ๑ ปี
- ๑๓. พระองค์เจ้ากุสุมา
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๔ เจ้าจอมมารดากรุด ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นเสพสุนทร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ทรงต้นสกุล กุสุมา
- ๑๔.พระองค์เจ้าหญิง
ประสูติเมื่อเดือน ๖ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ เจ้าจอมมารดาม่วงใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๑๕. พระองค์เจ้าชายมั่ง
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ เจ้าจอมมารดานิ่ม(ธิดาเจ้าพระยาพระคลัง(หน)) ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นอดิศร ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนอดิศร ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระเดชาดิศร ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ และในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้ทรงกำกับกรมนาด้วย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะแมเอกศก จ.ศ. ๑๒๒๑ พระชันษา ๖๗ ปี ทรงเป็นต้นสกุล เดชาติวงศ์
- ๑๖. พระองค์เจ้าหญิงส้มจีน
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ อุตราสาฒ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๑๕๕ เจ้าจอมมารดาเกด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก พระชันษา ๗๒ ปี
- ๑๗. พระองค์เจ้าชายพนมวัน
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีขาลฉศก จ.ศ. ๑๑๕๖ เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ฯ ทรงกำกับกรมพระนครบาลมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ และในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมคชบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ.๑๒๑๘ พระชันษา ๖๒ ปี ทรงเป็นต้นสกุล พนมวัน
- ๑๘. พระองค์หญิงหรุ่น
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีเถาะสัปศก จ.ศ. ๑๑๕๗ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๙. พระองค์เจ้าหญิงใย ประสูติวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ เจ้าจอมมารดาอิน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ พระชันษา ๖๘ ปี
- ๒๐. พระองค์เจ้าชาย
ประสูติเมื่อเดือนอ้าย ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. ๑๑๕๗ เจ้าจอมมารดาเหมเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๒๑. พระองค์เจ้าหญิงพลับ
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. ๑๑๕๙ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๒๒. พระองค์เจ้าชายกุญชร
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศกจ.ศ.๑๑๖๐ เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิทักษ์เทเวศร์ ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ฯ ทรงว่าราชการกรมม้ามาแต่ในรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมพระคชบาลด้วยอีกกรม ๑ สิ้นพระชนท์ในรัชกาลที่๔ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๑๓ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ พระชันษา ๖๕ ปี ทรงเป็นต้นสกุล กุญชร
- ๒๓. พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
ประสูติเมื่อเดือน ๘ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๒๔. พระองค์เจ้าชายเนตร (บางฉบับว่านุช บางฉบับว่านก)
ประสูติเมื่อเดือน ๙ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๖๐ เจ้าจอมมารดาปราง(ธิดาขรัวตาบุญเกิดและขรัวยายทองอิน) ต่อมาได้เป็นท้าววรจันทร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๒๕. พระองค์เจ้าชายโคมเพ็ชร
ประสูติเมื่อเดือน ๖ ปีมะเมียเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ เจ้าจอมมารดาเหมเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๒๖. พระองค์เจ้าชายเรณู
ประสูติเมื่อเดือน ๘ปีมะแมเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ เจ้าจอมมารดาบุนนาค สิ้นพระชนม์ในรัชขกาลที่ ๓ ทรงเป็นต้นสกุล เรณุนันทน์
- ๒๗. พระองค์เจ้าชายอำไพ
ประสูติเมื่อเดือน ๙ ปีมะแมเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ เจ้าจอมมารดาทองอยู่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๒๘. พระองค์เจ้าชายอัมพร
ประสูติเมื่อเดือน ๙ ปีมะแมเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ เจ้าจอมมารดาม่วงซอ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๒๙. พระองค์เจ้าหญิงสุกรม
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะแมเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๑ เจ้าจอมมารดาสั้น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๓๐. พระองค์เจ้าชายเนียม
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๓ค่ำ ปีวอกเอกศก จ.ศ. ๑๑๖๒ เจ้าจอมมารดาเหมใหญ่ สิ้นพระชนม์ในชกาลที่ ๒ เมื่อปีวอกฉศก จ.ศ. ๑๑๘๖ พระชันษา ๒๖ ทรงเป็นต้นสกุล นิยมิศร
- ๓๑. พระองค์เจ้าชาย
ประสูติเมื่อเดือน ๖ ปีวอกโทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๓๒. พระองค์เจ้าหญิงน้อย
ประสูติเมื่อเดือน ๑๒ ปีวอกโทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๓๓. พระองค์เจ้าหญิงประภา
ประสูติเมื่อเดือนอ้าย ปีวอกโทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ เจ้าจอมมารดาบุญมา ต่อมาได้เป็นท้าวทรงกันดาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๓๔. พระองค์เจ้าชายขัตติยวงศ์
ประสูติเมื่อปีวอกโทศก จ.ศ. ๑๑๖๒ เจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๓๕. พระองค์เจ้าชายทินกร
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ได้ทรงว่ากรมพระนครบาลระยะหนึ่ง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑ ค่ำปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. ๑๒๑๘ พระชันษา ๕๖ ปี ทรงเป็นต้นสกุล ทินกร
- ๓๖. พระองค์เจ้าหญิงรสคนธ์
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์เดือนอ้าย ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๓๗. เจ้าฟ้าชาย (ราชกุมาร-เจ้าฟ้าพระองค์แรกในรัชกาล)
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๔ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เป็นพระราชมารดา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๓๘. พระองค์เจ้าชายไพฑูรย์
ประสูติเมื่อปีจอจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ เจ้าจอมมารดาทิม(ธิดานายเอม) ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ สิ้นพระชนม์ใรชกาลที่ ๓ เมื่อปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ ทรงเป็นต้นสกุล ไพฑูรย์
- ๓๙. พระองค์เจ้าชาย
ประสูติเมื่อปีจอจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ เจ้าจอมมารดาเหมเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ พระชันษา ๒ ปี
- ๔๐. พระองค์เจ้าหญิง
ประสูติเมื่อปีจอจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๖๔ เจ้าจอมมารดาน้อยระนาด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑
- ๔๑. พระองค์เจ้าชายโต
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๑๖๕ เจ้าจอมมารดาเลี้ยง ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นอินทรอมเรศ ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ทรงว่าราชการกรมพระแสงปืนต้นมาแต่รัชกาลที่ ๓ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันพุธ เดือน ๘ อุตราสาฒ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ พระชันษา ๕๙ ปี ทรงเป็นต้นสกุล มหากุล
- ๔๒. พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีชวดฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอกจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๓๔ พระชันษา ๖๙ ปี
- ๔๓. เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติราชกุมาร
พระราชสมภพเมื่องวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวดฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เป็นพระราชมารดา ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้ทรงเป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ วันพุธ เดือน ๕ ขึ้นค่ำ๑ ปีกุน จ.ศ. ๑๒๑๓ ยังเป็นโทศก สวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๓๐ พระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ ๑๘ ปี
- ๔๔. พระองค์เจ้าชายกลาง
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑๒ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. ๑๑๖๗ เจ้าจอมมารดาน้อยระนาด ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ฯ ได้ทรงกำกับกรมช่างทองมาแต่ในรัชกาลที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่าความศาลราชตระกูลตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ ทรงได้กำกับศาลฎีกา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘ พระชันษา ๗๓ ปี ทรงเป็นต้นสกุล วัชรีวงศ์
- ๔๕. พระองค์เจ้าชายชุมแสง
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีขาล สัปตศก จ.ศ. ๑๑๖๗ เจ้าจอมมารดาทิม ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนสรรพศิลป์ปรีชา และเลื่นอขึ้นเป็นกรมหลวงในปีเดียวกัน ได้ทรงกำกับกรมหมอนวด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาสาฒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ พระชันษา ๕๖ ปี ทรงเป็นต้นสกุล ชุมแสง
- ๔๖. พระองค์เจ้าหญิง
ประสูติเมื่อปีขาลอัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่(ธิดาท่านขรัวยายทองอิน) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ภายหลังวันประสูติ ๓ วัน
- ๔๗. พระองค์เจ้าหญิง
ประสูติปีขาลอัฐศก จ.ศ. ๑๑๖๘ เจ้าจอมมารดาพะวา(ธิดาพระสาครบุรีและขรัวยายลิ้ม) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ในวันประสูติ
[แก้] ประสูติเมื่อเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
๔๘. พระองค์เจ้าหญิงสายสมร ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ เจ้าจอมมารดาเลี้ยง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมะแมตรีศก จ.ศ. ๑๒๓๓ พระชันษา ๖๔ ปี
- ๔๙. พระองค์เจ้าชายนวม
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวงศาสนิท ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงกำกับกรมหมอหลวง และในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า เเละเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินด้วย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเมียโทศก พระชันษา ๖๓ ปี ทรงเป็นต้นสกุล สนิทวงศ์
- ๕๐. เจ้าฟ้าจุฑามณี
พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เป็นพระราชมารดา ในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ว่าการทหารปืนใหญ่ ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯพระราชทานบวรราชาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตในรัชกาลที ๔ เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. ๑๑๒๗ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
- ๕๑.พระองค์เจ้าชายมรกฎ
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๗๐ เจ้าจอมมารดาทองดี(ธิดาเจ้าพระยาธรรมาฯ(สด)) ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนสถิตย์สถาพร ว่าการกรมช่างทหารในญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นต้นสกุล มรกฎ
[แก้] ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว
- ๕๒. พระองค์เจ้าชายขัตติยา
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็งเอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ เจ้าจอมมารดาพะวา ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นถาวรยศว่าการกรมฝีพายและช่างเหลารางปืน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีระกาเบญจศก จ.ศ.๑๒๓๕ พระชันษา ๖๕ ปี
- ๕๓. พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์
ประสูติเมื่อปีมะเส็งเอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ เจ้าจอมมารดากล่ำ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๕๔. พระองค์เจ้าหญิงนิ่มนวล
ประสูติเมื่อปีมะแมตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์ใหญ่ สิ้นพระชนมในรัชกาลที่ ๓
- ๕๕. พระองค์เจ้าหญิง(แฝด)
ประสูติเมื่อปีมะแมตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ เจ้าจอมมารดาหนูจีน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ หลังวันประสูติ ๖ วัน
- ๕๖. พระองค์เจ้าหญิง(แฝด)
ประสูติปีมะแมตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ เจ้าจอมมารดาหนูจีน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ หลังวันประสูติ ๗ วัน
- ๕๗. พระองค์เจ้าชายนิลรัตน
ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีมะแมตรีศก จ.ศ. ๑๑๗๓ เจ้าจอมมารดาพิม ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ว่าราชการกรมแสงปืนต้น กรมแสงหอกดายและกำกับช่างเงินโรงกษาปณ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ.๑๒๒๙ พระชันษา ๕๗ ปี ทรงเป็นต้นสกุล นิลรัตน์
- ๕๘. พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๗๔ เจ้าจอมมารดาเอม(ธิดาพระยารัตนจักร(หงส์ทอง)) ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวรศักดาพิศาล ว่ากรมกองแก้วจินดาและกรมช่างหล่อ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพัฒนาการสวัสดิ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ อุตราสา แรม ๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๕๐ พระชันษา ๗๖ ปี ทรงเป็นต้นสกุล อรุณวงศ์
- ๕๙. พระองค์เจ้าชายกปิตถา
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๑ค่ำ ปีจอ จ.ศ.๑๑๗๖ ยังเป็นเบญจศก เจ้าจอมมารดาอัมพา(ธิดาพระยาอินทรอากร) ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ทรงว่ากรมพระอาลักษณ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๓๔ พระชันษา ๕๙ ปี ทรงเป็นต้นสกุล กปิตถา
- ๖๐. เจ้าฟ้าชายอาภรณ์
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงกำกับการกรมพระคชบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๑๐ ทรงเป็นต้นสกุล อาภรณ์กุล
- ๖๑. พระองค์เจ้าชายปราโมช
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘ เจ้าจอมมารดาอัมพา(ธิดาพระยาอินทรอากร) ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ ได้ทรงกำกับกรมพระคชบาล กรมหมอ กรมช่างเคลือบ ช่างหุงกระจก กรมญวนหก ได้ชำระความรับสั่ง ได้ว่ากรมท่า ต่อมาได้เลื่อนเป็น กรมขุน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐(ในประกาศว่า พระพุธศาสนากาลเปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๑๐) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ บุรพสาฒ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๓๔ พระชันษา ๕๗ ปี ทรงเป็นต้นสกุล ปราโมช
- ๖๒. พระองค์เจ้าหญิงพันแสง (ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ออกพระนามว่า กันแสง)
ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ปีฉลูนพศก จ.ศ. ๑๑๗๙ เจ้าจอมมารดานวล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
- ๖๓. พระองค์เจ้าชายเน่า
ประสูติเมื่อเดือน ๑๒ ปีฉลูนพศก จ.ศ.๑๑๗๙ เจ้าจอมมารดาพุ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๖๔. พระองค์เจ้าชายเกยูร
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๘๐ เจ้าจอมมารดาอัมพา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
- ๖๕. เจ้าฟ้าชายกลาง
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะเอกศก จ.ศ.๑๑๘๑ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา ฯ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๑๐ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนบำราบปรปักษ์ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ฯ ในรัชกาลที่ ๕ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ฯ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงรับราชการในกรมวัง ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ ในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายในในราชสำนัก และว่ากรมพระคลัง ต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจออัฐศก จ.ศ. ๑๒๔๘ พระชันษา ๖๗ ปี ทรงเป็นต้นสกุล มาลากุล
- ๖๖. พระองค์เจ้าหญิงโสภา
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ ปีมะโรงโทศก จ.ศ. ๑๑๘๒ เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีมะเส็งตรีศก จ.ศ. ๑๑๘๓ พระชันษา ๒ ปี
- ๖๗. เจ้าฟ้าหญิง
ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรงโทศก จ.ศ.๑๑๘๒ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
- ๖๘. พระองค์เจ้าหญิงกัณฐา
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็งตรีศก จ.ศ. ๑๑๘๓ เจ้าจอมมารดาอัมพา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีจอโทศก จ.ศ. ๑๒๑๒ พระชันษา ๓๐ ปี
- ๖๙. เจ้าฟ้าชายปิ๋ว
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะแมจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีชวดโทศก จ.ศ.๑๒๐๒ พระชันษา ๑๙ ปี
- ๗๐. พระองค์เจ้าหญิงมารยาตร
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๓แรม ๗ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ เจ้าจอมมารดาแย้ม)ธิดาพระยาไกดรเพ็ชรรัตน์สงคราม(ทองดี)) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
- ๗๑. พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ เจ้าจอมมารดาอัมพา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีมะแมเบญจศก จ.ศ. ๑๑๘๕ พระชันษา๒ ปี
- ๗๒. พระองค์เจ้าหญิงแม้นเขียน
ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะแมเบญจศก จ.ศ. ๑๑๘๕ เจ้าจอมมารดาลูกจันทร์เล็ก(ธิดาเจ้าสุก ชาวหลวงพระบาง) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ พระชันษา ๙๐ ปี
- ๗๓. พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐน้อยนารี(ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ออกพระนามว่า ขนิษฐน้อยนารี)
ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีวอกฉกศ จ.ศ. ๑๑๘๖ เจ้าจอมมารดาอัมพา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
[แก้] เหตุการณ์สำคัญ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย ในรัชกาลที่ 1 ขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
สถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนีในรัชกาล2
กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย
พ.ศ.2352 เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
พ.ศ.2353 ราชทูตญวนมาขอเมืองบันทายมาศ เจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน
พ.ศ.2354 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา" เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ" โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
พ.ศ.2359 โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น 9 ประโยค
พ.ศ.2360 ทรงฟื้นฟูพิธี วิสาขบูชา
พ.ศ.2361 ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน สมณทูตกลับจากลังกา เจ้าเมืองมาเก๊า ขอเจริญพระราชไมตรี
พ.ศ.2362 หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำร่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2363 ฉลองวัดอรุณราชวราราม สังคายนาบทสวดมนต์ โปรตุเกสตั้งสถานทูต
พ.ศ.2365 เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
พ.ศ.2367 เสด็จสวรรคต
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
รัชสมัยก่อนหน้า: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก |
พระมหากษัตริย์ไทย ราชวงศ์จักรี พ.ศ. 2352 – 2367 |
รัชสมัยถัดไป: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัชสมัยก่อนหน้า: สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ราชวงศ์จักรี พ.ศ. 2350 – 2352 |
รัชสมัยถัดไป: สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ |