วงศ์ปลาตะเพียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาตะเพียน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปลาซิวข้างขวาน
|
|||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||
|
|||||||||||
|
|||||||||||
(มากมาย)
|
วงศ์ปลาตะเพียน (อังกฤษ Cyprinidae) เป็นวงศ์หนึ่งของปลาในอนุกรมวิธาน คำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า ปลาทอง ในภาษากรีก ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน ปลาตะเพียน และ ปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด (Species) มากกว่า 2000 ชนิดใน 200 สกุล (Family) ปลาในวงศ์นี้จัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes
ปลาในวงศ์นี้จัดเป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดไทย และมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์เป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบและบาง (Cycloid) ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางส่วนมากเป็นเว้าแฉกลึก ครีบท้องอยู่ค่อนมาทางตอนกลางของลำตัวด้านท้อง ลำตัวมักแบนข้างหรือเป็นแบบปลาตะเพียนที่เรารู้จักดี แต่ก็มีบางชนิดที่ลำตัวค่อนข้างกลม เช่น ปลาเล็บมือนาง Crossocheilus reticulatus เป็นต้น ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ ปลากระโห้ Catlocarpio siamensis
อาศัยเฉพาะในน้ำจืด ส่วนมากเป็นปลากินพืช แต่ก็พบมีหลายชนิดกินเนื้อหรือแพลงก์ตอน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ยกเว้นสีและตุ่มข้างแก้มในตัวผู้บางชนิดที่ต่างจากตัวเมีย แพร่พันธุ์โดยการวางไข่จำนวนมาก พบในแม่น้ำเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาวเกือบทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก