ตะกาก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะกาก | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
Cosmochilus harmandi Sauvage, ค.ศ. 1878 |
|||||||||||||||
|
ตะกาก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomini มีรูปร่างเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังยกสูงมาก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่สุด 1 เมตร หนักได้ถึง 10 ก.ก. กิน แมลง พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร
เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น
เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก เพราะเนื้อแข็งกว่า
พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า " กระมังครีบสูง "
ตะกาก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " ปากบาน " หรือ " โจกเขียว "
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: ปลาน้ำจืด | วงศ์ปลาตะเพียน | ปลาไทย | ปลาตู้