ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ได้สถาปนาขึ้นในปลายรัชสมัย "พระเจ้าท้ายสระ" แห่งพระนครกรุงศรีอยุธยา โดย "หนานทิพย์ช้าง" ควาญช้างและพรานป่าผู้ความสามารถ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง มีพระนามว่า "พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤาไชยสงคราม (พญาสุละวะฤาไชยสงคราม)" ถือเป็นนครรัฐที่เป็นอิสระจากพม่าใน ปี ๒๒๗๕
ภายหลัง พระนัดดา โดยการนำของ "เจ้ากาวิละ" ซึ่งนับเป็นชั้น ๓ ได้ร่วมกันกอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนทัพหลวงของ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" แห่งกรุงธนบุรี
"ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ถือเป็นราชวงศ์ล้านนาที่เชื่อมความสัมพันธ์กับราชวงศ์ล้านนาอันเก่าแก่เดิม อันได้แก่ "ราชวงศ์เม็งราย" อันมี "พระเจ้าเม็งรายมหาราช" เป็นองค์ปฐมวงศ์ และ "ราชวงศ์เชียงแสน" อันมี "พญางำเมือง" เป็นองค์ปฐมวงศ์ ด้วยระบบความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ
นอกจากนั้น เจ้านายใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ยังได้สมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ใน "พระบรมราชวงศ์จักรี" หลายพระองค์ พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ "พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ในสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" และ "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสองพระราชวงศ์ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรล้านนาเดิมได้เข้ารวมกับสยามประเทศอย่างสมบูรณ์
สารบัญ |
[แก้] ชั้น ๑ องค์ปฐมวงศ์
- พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤาไชยสงคราม (พญาสุละวะฤาไชยสงคราม), ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง รัฐอิสระ (๒๒๗๕ - ๒๓๐๒)
[แก้] ชั้น ๒ ราชโอรส ราชธิดา ใน "พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤาไชยสงคราม"
- เจ้าชายอ้าย
- เจ้าฟ้าสิงหราชธานี ชายแก้ว (เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว), เจ้าผู้ครองนครลำปาง ประเทศราชของพม่า (๒๓๐๒ - ๒๓๑๗), ทรงเป็นราชบิดา ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ" ด้วยพระโอรสทั้ง ๗ มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน"
- เจ้าหญิงคำทิพย์
- เจ้าชายคำปา
- เจ้าชายพ่อเรือน, ราชบิดาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔"
- เจ้าหญิงกมลา
[แก้] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (๒๓๒๕ - ๒๔๘๒)
ลำดับ | พระนาม | ปีที่ครองราชย์ | |
---|---|---|---|
๑ | พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ | ๒๓๒๕ - ๒๓๕๖ (๓๑ ปี) | |
๒ | พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา | ๒๓๕๖ - ๒๓๖๕ (๑๑ ปี) | |
๓ | เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น | ๒๓๖๖ - ๒๓๖๘ (๒ ปี) | |
๔ | เจ้าหลวงพุทธวงศ์ | ๒๓๖๙ - ๒๓๘๙ (๒๐ ปี) | |
๕ | พระเจ้ามโหตรประเทศ | ๒๓๙๐ - ๒๓๙๗ (๗ ปี) | |
๖ | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | ๒๓๙๙ - ๒๔๑๓ (๑๔ ปี) | |
๗ | พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | ๒๔๑๖ - ๒๔๓๙ (๒๓ ปี) | |
๘ | เจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ | ๒๔๔๔ - ๒๔๕๒ (๘ ปี) | |
๙ | พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ | ๒๔๕๔ - ๒๔๘๒ (๒๘ ปี) | เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ ล้านนา องค์สุดท้าย |
[แก้] เจ้าผู้ครองนครลำปาง (๒๓๑๗ - ๒๔๖๕)
ลำดับ | พระนาม | ปีที่ครองราชย์ | |
---|---|---|---|
(๑) | พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ | ๒๓๑๗ - ๒๓๒๕ (๘ ปี) | สมัยกรุงธนบุรี |
๑ | พระเจ้าคำโสม | ๒๓๒๕ - ๒๓๓๗ (๑๒ ปี) | |
๒ | พระเจ้าดวงทิพย์ | ๒๓๓๗ - ๒๓๖๘ (๓๑ ปี) | |
๓ | เจ้าหลวงไชยวงศ์ | ๒๓๖๘ - ๒๓๘๑ (๑๓ ปี) | |
๔ | เจ้าหลวงขัติยะ | ๒๓๘๑ - ๒๓๘๑ (- ปี) | |
๕ | เจ้าหลวงน้อยอินทร์ | ๒๓๘๑ - ๒๓๙๑ (๑๐ ปี) | |
๖ | เจ้าหลวงวรญาณรังษี | ๒๓๙๑ - ๒๔๑๖ (๒๕ ปี) | |
๗ | พระเจ้าพรหมภิพงศ์ธาดา | ๒๔๑๖ - ๒๔๓๐ (๑๔ ปี) | |
๘ | เจ้าหลวงนรนันท์ไชยชวลิต | ๒๔๓๐ - ๒๔๔๐ (๑๐ ปี) | |
๙ | พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต | ๒๔๔๐ - ๒๔๖๕ (๒๕ ปี) |
[แก้] เจ้าผู้ครองนครลำพูน (๒๓๔๘ - ๒๔๘๖)
ลำดับ | พระนาม | ปีที่ครองราชย์ | |
---|---|---|---|
๑ | เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น | ๒๓๔๘ - ๒๓๕๘ (๑๐ ปี) | ภายหลังทรงขึ้นครองนครเชียงใหม่ |
๒ | พระเจ้าบุญมาเมือง | ๒๓๕๘ - ๒๓๗๐ (๑๒ ปี) | |
๓ | เจ้าหลวงน้อยอินทร์ | ๒๓๗๐ - ๒๓๘๐ (๑๐ ปี) | ภายหลังทรงขึ้นครองนครลำปาง |
๔ | เจ้าหลวงคำตัน | ๒๓๘๑ - ๒๓๘๔ (๓ ปี) | |
๕ | เจ้าหลวงธรรมลังกา | ๒๓๘๔ - ๒๓๘๖ (๒ ปี) | |
๖ | เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ | ๒๓๙๑ - ๒๔๑๔(๒๓ ปี) | |
๗ | เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ | ๒๔๑๔ - ๒๔๓๑ (๑๗ ปี) | |
๘ | เจ้าหลวงเหมพินธุ์ไพจิตร | ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘ (๗ ปี) | |
๙ | เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ | ๒๔๓๘ - ๒๔๕๔ (๑๖ ปี) | |
๑๐ | พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ | ๒๔๕๔ - ๒๔๘๖ (๓๒ ปี) |
[แก้] เอกสารอ้างอิง
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, ๒๕๔๐.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง).
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ ๑๐๐ ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๓๘๗ - ๒๔๕๖. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., ๒๕๔๖
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.
- http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html.