พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงเป็น พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"
[แก้] พระราชประวัติ
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณะเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่ ทรงราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสใน พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ กับ แม่เจ้าโนจาราชเทวี และทรงเป็นราชปนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว, เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงมีราชเชษฐา ราชอนุชา และราชขนิษฐา รวม ๕ พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าราชบุตร น้อยสุริยฆาต, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ - พระไปยกา (เจ้าตาทวด) ใน "เจ้าหญิงทิพวัน กฤดากร" และ "เจ้าหญิงศรีนวล กฤดากร" ชายา ใน "พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"
- พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖
- เจ้าหนานมหาวงศ์ - พระอัยกา (เจ้าปู่) ใน เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ และ พระไปยกา (เจ้าตาทวด) ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เจ้าหญิงคำใส
- เจ้าหนานไชยเสนา
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.๒๓๙๙ และเสด็จพิราลัยใน พ.ศ.๒๔๑๓ รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร ๑๖ ปี สิริพระชนมายุได้ - ชันษา
[แก้] ราชโอรส ราชธิดา
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงมีราชธิดา รวม ๒ พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
ใน แม่เจ้าอุษาราชเทวี (มีราชธิดา ๒)
- แม่เจ้าทิพไกรสรราชเทวี - พระราชเทวีใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ และทรงเป็น พระราชมารดาใน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เจ้าหญิงอุบลวรรณา ณ เชียงใหม่ - พระอัยยิกา (เจ้าย่า) ใน เจ้าหญิงศิริมา ณ เชียงใหม่ พระชายาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี
[แก้] เอกสารอ้างอิง
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, ๒๕๔๐.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง).
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ ๑๐๐ ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๓๘๗ - ๒๔๕๖. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., ๒๕๔๖
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html.
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราชวงศ์เจ้าเจ็ตตน | ||
---|---|---|
พระเจ้ากาวิละ · พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา·เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น· เจ้าหลวงพุทธวงศ์ · พระเจ้ามโหตรประเทศ · พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ · พระเจ้าอินทวิชยานนท์ · เจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ · เจ้าแก้วนวรัฐ | ||
แก้ |