มหาราช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาราช เป็นชื่อเรียกกษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนในประเทศหรือเขตการปกครอง โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" โดยเขียนไว้ที่ท้ายชื่อ
[แก้] กษัตริย์ในราชอาณาจักรไทย
- พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้คิดระบบตัวอักษรไทย และได้ทรงขยายอำนาจการปกครอง
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ทรงกอบกู้ประเทศไทยจากพม่าหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้มีการติดต่อการค้าสมาคมกับชาวต่างชาติ รวมถึงการบำรุงทางด้านงานวรรณกรรมและผลงานศิลปะทางด้านต่างๆ
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงกอบกู้ประเทศไทยจากพม่าหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ของราชวงศ์จักรีได้ก่อตั้งกรุงเทพฯ และอาณาจักรรัตนโกสินทร์
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ในราชวงศ์จักรี ได้ทรงกรุณาเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองมาใช้จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก สายกรุงเทพ-อยุธยา
- พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในราชวงศ์จักรี คนไทยทั่วประเทศได้ร่วมลงนามถวายพระราชสัญญานาม มหาราช หลักฐานเก็บไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร
[แก้] อื่นๆ
- พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนา
- อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
[แก้] อ้างอิง
- มหาราชในประเทศไทย จากเว็บกาญจนาภิเษก
มหาราช เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |