ปัญญาประดิษฐ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญญาประดิษฐ์ |
GOFAI |
---|
การค้นหาในปริภูมิสถานะ |
การวางแผนอัตโนมัติ |
การค้นหาเชิงการจัด |
ระบบผู้เชี่ยวชาญ |
การแทนความรู้ |
ระบบอิงความรู้ |
Connectionism |
ข่ายงานประสาทเทียม |
ชีวิตประดิษฐ์ |
ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย |
การเขียนโปรแกรมเชิงพันธุกรรม |
ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม |
ปัญญากลุ่ม |
Artificial beings |
Bayesian methods |
เครือข่ายแบบเบย์ |
การเรียนรู้ของเครื่อง |
การรู้จำแบบ |
ระบบฟัซซี |
ตรรกศาสตร์คลุมเครือ |
ฟัซซีอิเล็กทรอนิกส์ |
Philosophy |
ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม |
สำนึกประดิษฐ์ |
การทดสอบทัวริง |
ปัญญาประดิษฐ์ (อังกฤษ: Artificial Intelligence – AI) หรือ ปัญญาของเครื่องจักร (Machine Intelligence) โดยทั่วไป คือการศึกษาเกี่ยวกับความฉลาดของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ เพื่อที่จะสร้างความฉลาดเทียมให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักร และคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาได้ โดยทั่วไปแล้ว เราถือกันว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่นักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ท่านเชื่อว่าการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์นั้น เมื่อมองให้ลึกซึ้งแล้ว ครอบคลุมกว้างไกลกว่าศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยได้โยงไปถึงสาขาอื่นๆ เช่น ปรัชญา จิตวิทยา และ ชีววิทยาด้วย เนื่องจากศาสตร์เหล่านี้ ได้มีการศึกษาเรื่องกระบวนการการคิด การให้เหตุผลหรือการอนุมานและการทำงานของสมองมานานแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว นับว่าความเชื่อนี้ถูกต้อง เนื่องจากแนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น
- การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้
- เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง
สารบัญ |
[แก้] นิยามของปัญญาประดิษฐ์
มีคำนิยามของปัญญาประดิษฐ์มากมาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทโดยมองใน 2 มิติ ได้แก่
- ระหว่าง นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์)
- ระหว่าง นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก
ปัจจุบันงานวิจัยหลักๆ ของ AI จะมีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำ AI ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่
นิยามดังกล่าวคือ
- ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
- [AI คือ] ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ ... เครื่องจักรที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985])
- [AI คือ กลไกของ]กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ("[The automation of] activities that we associate with human thinking, activities such as decision-making, problem solving, learning." [Bellman, 1978])
- หมายเหตุ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) เราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
- ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)
- [AI คือ] วิชาของการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์ ("The art of creating machines that perform functions that requires intelligence when performed by people." [Kurzweil, 1990])
- [AI คือ] การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น ("The study of how to make computers do things at which, at the moment, people are better." [Rich and Knight, 1991])
- หมายเหตุ การกระทำเหมือนมนุษย์ เช่น
- สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
- เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
- เรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
- [AI คือ] การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ ("The study of mental faculties through the use of computational model." [Charniak and McDermott, 1985])
- [AI คือ] การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ ("The study of the computations that make it possible to perceive, reason, and act" [Winston, 1992])
- หมายเหตุ คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)
- ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ที่มีปัญญา ("Computational Intelligence is the study of the design of intelligent agents" [Poole et al., 1998])
- AI เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ("AI ... is concerned with intelligent behavior in artifacts" [Nilsson, 1998])
- หมายเหตุ กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น เอเจนต์ (โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น
[แก้] สาขาของปัญญาประดิษฐ์
หนังสืออ้างอิงที่ดีและทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน คือ (Russell & Norvig, 2003)[1] ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเล่มนี้
[แก้] หัวใจของปัญญาประดิษฐ์
- คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision)
- เป็นการศึกษาเรื่องการมองเห็น การรู้จำภาพ มีสาขาย่อยเช่น การประมวลผลภาพ (image processing)
- การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing)
- เป็นการศึกษาการแปลความหมายจากภาษามนุษย์ มาเป็นความรู้ที่เครื่องจักรเข้าใจได้ สาขานี้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics)
- การแทนความรู้ (Knowledge representation)
- เป็นการศึกษาด้านเก็บความรู้ (knowledge) ไว้ในเครื่องจักร โดยมีประเด็นสำคัญคือ
- ทำอย่างไรจะแสดงความรู้ได้อย่างกระทัดรัด ประหยัดหน่วยความจำ
- จะนำความรู้ที่เก็บไว้นี้ไปใช้ในการให้เหตุผลอย่างไร ; และ
- จะมีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง ให้ความรู้ที่ได้อยู่ในรูปแบบความรู้ที่เราออกแบบไว้ได้อย่างไร
- การแทนความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก คือ
- ความรู้ที่แน่นอน (certain knowledge) เช่น การแทนความรู้ด้วยตรรกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น first-order logic หรือ propositional logic
- ความรู้ที่มีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้อง (uncertain knowledge) เช่น ฟัซซี่ลอจิก (fuzzy logic) และเครือข่ายแบบเบย์ ( bayesian networks)
- เป็นการศึกษาด้านเก็บความรู้ (knowledge) ไว้ในเครื่องจักร โดยมีประเด็นสำคัญคือ
- การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning)
- เป็นการศึกษากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้คล้ายมนุษย์ มีสาขาย่อยมากมาย เช่น การสังเคราะห์โปรแกรม(program synthesis)
- การคิดให้เหตุผล (Inference หรือ automated reasoning)
- เป็นการคิดให้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติจากความรู้ที่มีอยู่ในเครื่อง การให้เหตุผลด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับการแทนความรู้ของเครื่อง (knowledge representation)โดยตรง เทคนิคที่นิยมใช้กันมากก็คือ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย first-order logic และ bayesian inference เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย bayesian networks
- การวางแผนของเครื่อง (Automated Planning)
- การค้นหาเชิงการจัด (Combinatorial search)
- เนื่องจากเวลาเราพยายามแก้ปัญหาในงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ วิธีมาตรฐานอย่างหนึ่งคือ พยายามมองปัญหาให้อยู่ในรูปปัญหาของการค้นหา การค้นหาจึงเป็นพื้นฐานของการโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แทบทุกประเภท
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system)
- เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือ ทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
- งานวิจัยด้านนี้มีจุดประสงค์หลักว่า เราไม่ต้องพึ่งมนุษย์ในการแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญยังต้องพึ่งมนุษย์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานในช่วงแรก
- การจะทำงานวิจัยเรื่องนี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การแทนความรู้, การให้เหตุผล และ การเรียนรู้ของเครื่อง (กรอบสีเขียวในรูปข้างบน)
[แก้] สาขาอื่นที่สำคัญและมีบทบาทมากในปัจจุบัน
- วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
- การจะสร้างหุ่นยนต์ที่อาศัยอยู่กับมนุษย์ได้จริง ต้องใช้ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมด นอกจากนั้นยังต้องใช้ความรู้อื่น ๆ ทางเครื่องกล เพื่อสร้างสรีระให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับมนุษย์
- ในวงการวิทยการหุ่นยนต์ เขาก็ถือว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาของเขาเช่นกัน
- ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic algorithm)
- เป็นการประยุกต์นำแนวความคิดทางด้านการวิวัฒนาการที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาใช้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
- เป็นอัลกอริทึมเชิงสุ่ม (stochastic) (ไม่ได้คำตอบเดิมทุกครั้งที่แก้ปัญหาเดิม)
- มักประยุกต์ใช้ในปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (optimization) ที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีมาตรฐานทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
- แนวคิดที่นำเอาหลักการวิวัฒนาการมาใช้นี้ มีรูปแบบอื่นอีกหลายรูปแบบ เช่น การโปรแกรมเชิงพันธุกรรม (genetic programming) และ evolution strategy อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้มีแนวความคิดหลักเหมือนกัน ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น
- ข่ายงานประสาทเทียม (Neural network)
- ชีวิตประดิษฐ์ (Artificial life)
- เป็นการศึกษาพฤติกรรมของชีวิตเทียมที่เราออกแบบและสร้างขึ้น
- ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย (Distributed Artificial Intelligence)
[แก้] สาขาอื่นที่ยังไม่มีบทบาทมากนัก
- Swarm Intelligence
- Artificial being
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ↑ Stuart J. Russell, Peter Norvig (2003) "Artificial Intelligence: A Modern Approach" (2nd Edition), Prentice Hall, New Jersey, ISBN 0137903952.
- รศ. ดร. บุญเสริม กิจศิริกุล (2003) "ปัญญาประดิษฐ์ เอกสารคำสอนวิชา 2110654", http://www.cp.eng.chula.ac.th/~boonserm/teaching/artificial.htm .
- รศ. ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา เอกสารการสอนเกี่ยวกับ โปรแกรมเชิงพันธุกรรม , ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง, http://www.cp.eng.chula.ac.th/~piak/ .
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ทั่วไป
- AI web category on Open Directory
- Programming:AI @ Wikibooks.org
- University of Berkeley AI Resources linking to about 869 other WWW pages about AI เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลทาง internet เกี่ยวกับ AI ไว้มากที่สุดแหล่งหนึ่ง
- Loebner Prize website
- AIWiki - a wiki devoted to AI.
- AIAWiki - AI algorithms and research.
- Mindpixel "The Planet's Largest Artificial Intelligence Effort"
- OpenMind CommonSense "Teaching computers the stuff we all know"
- Artificially Intelligent Ouija Board - creative example of human-like AI
- Heuristics and AI in finance and investment
- SourceForge Open Source AI projects - 1139 projects
- Ethical and Social Implications of AI en Computerization
- AI algorithm implementations and demonstrations
- Marvin Minsky's Homepage
- Why Programming is a Good Medium for Expressing Poorly Understood and Sloppily Formulated Ideas
[แก้] กลุ่มวิจัย
- German Research Center for Artificial Intelligence หรือ DFKI
- AI Lab, Zurich
- Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory, MIT
- Department of Informatics, University of Sussex
- School of Informatics, the University of Edinburgh - มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
- Knowledge Representation Laboratory - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- Intelligent Systems Laboratory (ISL) - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Knowledge Information & Data Management Laboratory (KIND) - ห้องวิจัยการจัดการข้อมูล, สารสนเทศ, และความรู้ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Image and Vision Computing Laboratory ห้องวิจัยการคำนวณภาพและวิทัศน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้] หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ AI
- American Association for Artificial Intelligence
- European Coordinating Committee for Artificial Intelligence
- The Association for Computational Linguistics
- Artificial Intelligence Student Union
- Association for Uncertainty in Artificial Intelligence
- Singularity Institute for Artificial Intelligence
- The Society for the Study of Artificial Intelligence and the Simulation of Behaviour (United Kingdom)