การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม (programming paradigm) แบบหนึ่ง โดยกำหนดเซตคุณลักษณะ (attribute) ของคำตอบ แทนที่จะกำหนดขั้นตอนที่ทำให้ได้คำตอบ ภาษาโปรแกรมสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะที่ใช้อย่างกว้างขวาง คือ ภาษาโปรล็อก (Prolog) อีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในเชิงการค้า คือ ภาษาเมอร์คิวรี (Mercury) การเขียนโปรแกรมแบบนี้มีหลักการคือ ความจริง + กฎ = ผลลัพธ์ หลักการอื่นที่แตกต่างให้ดู การเขียนโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัย (Inductive logic programming)
จุดประสงค์ของการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ คือ การนำตรรกศาสตร์รูปนัย (formal logic) มาใช้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาพบว่าตรรกะเป็นเครื่องมือที่ดีในการขยายความเนื้อหาของทฤษฎี ปัญหาหลายๆ ปัญหาสามารถแสดงเป็นทฤษฎีได้อย่างเป็นธรรมชาติ การกล่าวว่าปัญหาต้องการวิธีการแก้ไขก็เหมือนกับการถามว่าสมมติฐานใหม่สอดคล้องกับทฤษฎีที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ตรรกศาสตร์กำหนดหนทางเพื่อพิสูจน์ว่าคำถามนั้นจริงหรือเท็จ และกระบวนการสร้างการพิสูจน์เป็นสิ่งที่รู้กันอย่างดีแล้ว ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงเป็นทางที่เชื่อถือได้ในการหาคำตอบ และระบบการโปรแกรมเชิงตรรกะทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ การพัฒนาการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะนั้นได้รับอิทธิพลอย่างสำคัญจากปัญญาประดิษฐ์
[แก้] อ้างอิง
- Logic programming, วิกิพีเดีย ภาษาอังกฤษ
การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ เป็นบทความเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |