ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชัน (Fission reaction) เป็นปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น ยูเรเนียม แตกแยกตัวออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มี ขนาดเล็ก เช่นแบเรียมและแลนทานัม ปฏิกิริยาฟิซชันจึงเปรียบเสมือนปฏิกิริยาจุดชนวนซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ทำให้เกิดปฏิกิริยาอื่น ๆ เกิดตามมาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ หากขาดการควบคุมจะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันพบว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันจะให้พลังงานน้อยกว่า และผลิตผลที่ได้จะเป็นกัมมันตรังสี
โดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุขนาดใหญ่แยกตัวเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดเล็กลง เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชั่น ซึ่งค่อนข้างจะคุ้นหูสำหรับคนไทยเนื่องจากมีการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง ในปัจจุบันมีการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยาฟิสชั่นมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และ ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น แต่การนำเอาปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชั่นมาใช้นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงมาก ซึ่งเห็นได้จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่โรงงานไฟฟ้าเชอโนเบิล ที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายและยังคงเป็นเรื่องเศร้าใจและน่ากลัวจนถึงทุกวันนี้
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชัน เป็นบทความเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |