คาเฟอีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ,ชา,ลูก kola คาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาติ และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้
[แก้] สถานะทางเคมี
คาเฟอีน เป็นสารอัลคาลอยด์ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล เมทิลแซนทีน ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับสารประกอบ ทีโอฟิลีน และ ทีโอโบรมีน ในสถานะบริสุทธิ์ จะมีสีขาวเป็นผง และมีรสขมจัด สูตรทางเคมีคือ C8H10N4O2,
[แก้] ผลต่อร่างกาย
- คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการตื่นตัวไม่ง่วงซึม เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และหายอ่อนเพลีย
- ฤทธิ์ของคาเฟอีน มีผลต่อคนที่เป็นโรคกระเพาะ โดยไปกระตุ้นให้มีการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะ ทำให้รู้สึกแสบกระเพาะ คลื่นไส้และอาเจียน
- มีผลต่อระบบการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ถ้าได้รับในปริมาณมาก อาจทำให้หัวใจเต้นไม่ปกติ
- มีผลต่อการเพิ่มการขับถ่ายปัสสาวะ เนื่องจากคาเฟอีนไปลดการดูดกลับของน้ำที่ท่อไต และมีผลต่อการเพิ่มระดับ กรดไขมันอิสระในพลาสม่า
- ผู้ได้รับคาเฟอีนบางราย อาจเกิดอาการแพ้ เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว และตกใจง่าย
- คาเฟอีนมีผลต่อทารกในครรภ์ และยังมีผลต่อเด็กๆ โดยเฉพาะกับเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสมองเด็ก กระทรวงสาธารณสุขได้ กำหนดให้เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง แสดงคำเตือนห้ามเด็กและสตรีมีครรภ์ดื่ม
- ขนาดของคาเฟอีนที่ทำให้ผูรับประทานเสียชีวิตคือ 10 กรัม หรือ10,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ขนาดปกติที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อวัน เนื่องจากเป็นขนาดที่แสดงฤทธิ์ทางยา
[แก้] อ้างอิง
- วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฉบับที่ 3