กบฏ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏ (ภาษาอังกฤษ : Renegade) เป็นความผิดอาญาฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ, ขบถ ก็ใช้
[แก้] กบฎในประเทศไทย
กบฏในประเทศไทยเกิดขึ้นมาทั้งหมด 12 ครั้ง
- กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) โดย คณะ 130
- กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม พ.ศ. 2476) โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
- กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2478) โดย สิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า
- กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ (29 มกราคม พ.ศ. 2482) มี พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า
- กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
- กบฏแบ่งแยกดินแดน (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
- กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
- กบฏเเมนฮัตตัน (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
- กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497)
- กบฏ 26 มีนาคม 2520 โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
- กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
- กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า