พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร (พ.ศ. 2420-2496) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา [1]
สารบัญ |
[แก้] พระประวัติ
หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และรับราชการทหาร ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขต กับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี หม่อมเจ้าบวรเดช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472
พระวรวงศ์ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี 2474 เนื่องจากทรงขัดแย้งกับจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก [2]
[แก้] คณะกู้บ้านกู้เมือง และกบฏบวรเดช
- ดูบทความหลัก กบฏบวรเดช
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความแตกแยกในคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนาก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นยุคที่สถาบันพระมหากษัตริย์ตกต่ำ ถึงขนาดปล่อยให้ประชาชน นายถวัติ ฤทธิ์เดช เป็นโจทย์ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว [3] สร้างความไม่พอใจให้กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช มีการรวมตัวกันของนายทหาร เรียกว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง เรียกร้องให้พระยาพหลพลพยุหเสนา แก้ไขการปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แต่เกิดความเข้าใจผิดกัน จนเกิดการสู้รบขึ้น
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงส่งกำลังทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี เคลื่อนกำลังทางรถไฟเข้ายึดสถานีรถไฟบางเขนและสถานีรถไฟดอนเมือง เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา กระทำตามเงื่อนไข แต่ถูกกองทหารฝ่ายรัฐบาล นำโดยพันโทหลวงพิบูลสงครามตอบโต้ จนทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพถูกยิงตายในที่รบที่อำเภอปากช่อง และพ่ายแพ้ฝ่ายรัฐบาลไป ในวันที่ 17 ตุลาคม พระองค์เจ้าบวรเดชเสด็จทางเครื่องบินออกจากฐานบินโคราช พร้อมด้วย หลวงเวหนเหิรเห็จ นักบิน ไปทรงลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียตนาม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา เมื่อ พ.ศ. 2491
[แก้] พระโอรส-ธิดา
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงเสกสมรสกับ
- เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2426 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) มีพระธิดา 1 คน อนิจกรรมตั้งแต่คลอด [5]
- เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ พระขนิษฐาใน เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ มีพระโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ จิรเดช กฤดากร
- หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร (พ.ศ. 2426-2524) พระขนิษฐาต่างมารดา
[แก้] อ้างอิง
- ↑ http://www.kridakorn.org/html/kridakorn_t.html
- ↑ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/event2475/index.htm
- ↑ http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=45&filename=revolutionary3.htm
- ↑ http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_14.html
- ↑ http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main2/main9.php