RSA
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
RSA คืออัลกอริทึมสำหรับการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์ (public-key encryption) เป้นอัลกอริทึมแรกที่ทราบว่าเหมาะสำหรับลายเซ็นดิจิตอลรวมถึงการเข้ารหัส เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าครั้งใหญ่ครั้งแรกในการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์ RSA ยังคงใช้ในโปรโตคอลสำหรับการค้าอิเล็กทรอนิก (electronic commerce) และเชื่อว่ามีความปลอดภัย เมื่อมีคีย์ที่ยาวพอ
[แก้] ประวัติ
อัลกดอริทึมได้ถูกอธิบายเมื่อพ.ศ. 2520 โดย รอน ริเวสต์ (Ron Rivest) อาดี ชามีร์ (Adi Shamir) และเล็น แอเดิลแมน (Len Adleman) ที่ MIT โดยที่ RSA มาจากนามสกุลของทั้ง 3 คน เป็นที่เล่ากันว่า คิดค้นระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาของชาวยิว (Passover seder) ในเมืองสเกเน็กตาดี มลรัฐนิวยอร์ก (Schenectady, NY)
คลิฟฟอร์ด ค็อกส์ (Clifford Cocks) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษที่ทำงานใน GCHQ ได้อธิบายระบบที่เหมือนกันในเอกสารภายใน เมื่อพ.ศ. 2516 เนื่องจากในตอนนั้น จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ราคาแพงเพื่อนำไปใช้จริง จึงถือเป็นความแปลกใหม่ และเท่าที่ปรากฏต่อสาธารณะ ไม่เคยใช้งานจริง นอกจากนี้ การค้นพบครั้งนี้ ไม่ถูกเปิดเผยจนถึงพ.ศ. 2540 เนื่องจากได้จัดเป็นความลับ
อัลกอริทึมนี้ได้จดสิทธิบัตรโดย MIT เมื่อพ.ศ. 2526 ในสหรัฐอเมริกา เป็น สิทธิบัตรหมายเลข 4,405,829 ซึ่งได้สิ้นสุดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 เนื่องจากอัลกอริทึมได้พิมพ์แล้วก่อนที่จะจดสิทธิบัตร กฎหมายในส่วนอื่น ๆ ของโลกทำให้ไม่สามารถจดสิทธิบัตรที่อื่นได้ และในกรณีที่ผลงานของค็อกส์ได้เป็นที่รู้จักกันในสาธารณะ การจดสิทธิบัตรในสหรัฐฯก็ไม่สามารถจะกระทำได้เช่นกัน
RSA เป็นบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |