ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำหรับลีกกีฬาอื่นที่ชื่อ พรีเมียร์ลีก ดูที่ พรีเมียร์ลีก (แก้ความกำกวม)
กีฬา | ฟุตบอล |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2539 |
จำนวนทีม | 14 |
ประเทศ | ไทย |
แชมป์ | ม.กรุงเทพ |
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หรือ ไทยลีก เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดในประเทศไทย ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกมีทีมสโมสรทั้งหมด 14 ทีม
การเลื่อนชั้นและการตกอันดับจะนำสองทีมอันดับสุดท้ายตกไปอยู่ ดิวิชัน 1 และสองทีมชนะเลิศจากดิวิชัน 1 จะมาเล่นในพรีเมียร์ลีก
ภายหลังจากการแข่งขันไทยลีก 2549 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูงในเรื่องเงินรางวัล ที่ทางสมาคมไม่สามารถจัดหาให้แด่ผู้ชนะและรวมถึงเงินบำรุงทีมต่างๆ ในลีกดิวิชัน 1[1]
[แก้] ประวัติ
การแข่งขันได้เป็นการแข่งขันโดยทีมที่ร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ก ได้มาแข่งขันกันในระบบลีก ภายใต้ชื่อไทยลีก หรือชื่ออย่างทางการได้เปลี่ยนตลอดตามผู้สนับสนุน โดยมีจำนวนทีมทั้งหมด 12 ทีม จนกระทั่งปี 2545 (ฤดูกาล 2545/46) ได้ลดจำนวนทีมเป็น 10 ทีม และในปี 2549 ได้เพิ่มทีมเป็น 12 ทีมอีกครั้งหนึ่ง ในฤดูกาล 2550 จะเพิ่มทีมอีก 2 ทีม รวมเป็น 14 ทีม
ทางไทยลีกพยายามที่จะรวมเข้ากับโปรลีกหลายครั้ง แต่ยังคงไม่เป็นผล
[แก้] การแข่งขันในระดับเอเชีย
สำหรับทีมที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศในไทยลีกจะได้รับสิทธิร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปีถัดไป แต่ใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2006 ทีมสโมสรจากประเทศไทยส่งรายชื่อในการร่วมแข่งไม่ทันจึงได้ถูกตัดสิทธิ์ในปีนั้น และในปีถัดไป 2007 ทีมจากประเทศไทยจะมีเพียงทีมชนะเลิศทีมเดียวที่มีสิทธิในการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก โดยทีมรองชนะเลิศจะให้ไปเล่นในเอเอฟซีคัพแทน
[แก้] ชื่อทางการของลีก
- 2539-2540 : จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก (จอห์นนีวอล์กเกอร์)
- 2541-2543 : คาลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก (คาลเท็กซ์)
- 2544/45-2545/46 : จีเอสเอ็มไทยลีก (เอไอเอส)
- 2546/47-2549 : ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก
[แก้] ผู้ชนะเลิศ
- 2539/40 - ธนาคารกรุงเทพ
- 2540 - ทหารอากาศ
- 2541 - สินธนา
- 2542 - ทหารอากาศ
- 2543 - บีอีซี เทโรศาสน
- 2544/45 - บีอีซี เทโรศาสน
- 2545/46 - ธนาคารกรุงไทย
- 2546/47 - ธนาคารกรุงไทย
- 2547/48 - พนักงานยาสูบ
- 2549 - มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
[แก้] จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ลีก 2539
ในการแข่งขันฟุตบอลจอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ลีก ครั้งแรก ในปี พ.ศ.2539 มี 18 สโมสร เข้าร่วมแข่งขันและใช้กฎการตัดสินหาทีมชนะเลิศโดยการนำทีมสโมสรที่ได้คะแนนมากที่สุดเมื่อจบแข่งขันแบบลีก 4 อันดับแรก ได้แก่ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย, สโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และ สโมสรฟุตบอลสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ตามลำดับ มาทำการแข่งขันแบบแพ้คัดออก มีผลการแข่งขันดังนี้
[แก้] รอบสุดท้าย
รอบรองชนะเลิศ แข่งขันวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 ที่ สนามธูปะเตมีย์
สโมสรฟุตบอลสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ชนะ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย 2-0 รายชื่อผู้ทำประตูของสโมสรฟุตบอลสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ : อ่อง ไก น.68, 74
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ ชนะ สโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 3-2 รายชื่อผู้ทำประตูของสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ : ครองพล ดาวเรือง น.36, อภิรักษ์ ศรีอรุณ น.45, 47 , รายชื่อผู้ทำประตูของสโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย : อนันต์ ปานทอง น.55, กฤษดา เพี้ยนดิษฐ์ (จุดโทษ)น.67
รอบชิงชนะเลิศ
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ ชนะ สโมสรฟุตบอลสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
รองชนะเลิศ | ชิงชนะเลิศ | ||||||
23 ก.พ. 2540 | |||||||
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ | 2 | ||||||
ธนาคารกสิกรไทย | 0 | ||||||
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ | 0 | ||||||
ธนาคารกรุงเทพ | 2 | ||||||
23 ก.พ. 2540 | |||||||
ธนาคารกรุงเทพ | 3 | ||||||
องค์การโทรศัพท์ฯ | 2 |
[แก้] ตารางอันดับ
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1(3) | ธนาคารกรุงเทพ |
2(4) | ตลาดหลักทรัพย์ |
3(2) | องค์การโทรศัพท์ฯ |
3(1) | ธนาคารกสิกรไทย |
5 | ยูคอมราชประชา |
6 | สินธนา |
7 | ทหารอากาศ |
8 | ทหารบก |
9 | ราชนาวีสโมสร |
10 | ตำรวจ |
11 | การท่าเรือฯ |
12 | สิงห์เทโรศาสน |
13 | พนักงานยาสูบ |
14 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
15 | ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ |
16 | ราชวิถี |
17 | ธนาคารกรุงไทย |
18 | สิงห์ธำรงไทยสโมสร |
[แก้] จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ลีก 2540
หมายเหตุ : 1. สโมสรฟุตบอลสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร และ 2.สโมสรฟุตบอลสิงห์เทโรศาสน ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลเทโรศาสน
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | ทหารอากาศ |
2 | สินธนา |
3 | ธนาคารกรุงเทพ |
4 | การท่าเรือฯ |
5 | เทโรศาสน |
6 | ธนาคารกสิกรไทย |
7 | กรุงเทพมหานคร |
8 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
9 | ทหารบก |
10 | ยูคอมราชประชา |
11 | ตำรวจ |
12 | ราชนาวีสโมสร |
[แก้] คาลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก 2541
หมายเหตุ : 1.สโมสรฟุตบอลเทโรศาสน ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอล บีอีซี เทโรศาสน
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | สินธนา |
2 | ทหารอากาศ |
3 | บีอีซี เทโรศาสน |
4 | การท่าเรือฯ |
5 | ธนาคารกรุงเทพ |
6 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
7 | ทหารบก |
8 | ธนาคารกสิกรไทย |
9 | ธนาคารกรุงไทย |
10 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
11 | กรุงเทพมหานคร |
12 | ยูคอมราชประชา |
[แก้] คาลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก 2542
หมายเหตุ : 1.สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลไดสตาร์กรุงเทพ
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | ทหารอากาศ |
2 | การท่าเรือฯ |
3 | บีอีซี เทโรศาสน |
4 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
5 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
6 | ธนาคารกสิกรไทย |
7 | สินธนา |
8 | ธนาคารกรุงเทพ |
9 | กรุงเทพมหานคร |
10 | ธนาคารกรุงไทย |
11 | ทหารบก |
12 | ไดสตาร์กรุงเทพ |
[แก้] คาลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก 2543
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | บีอีซี เทโรศาสน |
2 | ทหารอากาศ |
3 | ธนาคารกสิกรไทย |
4 | กรุงเทพมหานคร |
5 | การท่าเรือฯ |
6 | ราชนาวีสโมสร |
7 | ตำรวจ |
8 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
9 | ธนาคารกรุงเทพ |
10 | ธนาคารกรุงไทย |
11 | สินธนา |
12 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
[แก้] จีเอสเอ็มไทยลีก 2544/45
หมายเหตุ : 1.สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลรัตนบัณฑิตกรุงเทพ และ 2.สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ได้ทำการยุบสโมสรและไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันใดๆของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | บีอีซี เทโรศาสน |
2 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
3 | ธนาคารกรุงเทพ |
4 | ทหารอากาศ |
5 | สินธนา |
6 | การท่าเรือฯ |
7 | ธนาคารกรุงไทย |
8 | พนักงานยาสูบ |
9 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
10 | ราชนาวีสโมสร |
11 | ตำรวจ |
12 | รัตนบัณฑิตกรุงเทพ |
[แก้] จีเอสเอ็มไทยลีก 2545/46
ลำดับ | ทีม |
---|---|
1 | ธนาคารกรุงไทย |
2 | บีอีซี เทโรศาสน |
3 | การท่าเรือฯ |
4 | ธนาคารกรุงเทพ |
5 | ทหารอากาศ |
6 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา |
7 | สินธนา |
8 | พนักงานยาสูบ |
9 | องค์การโทรศัพท์ฯ |
10 | กรุงเทพคริสเตียน |
[แก้] ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2546/47
ในการแข่งขันนี้มีอยู่ 10 ทีมร่วมแข่งขัน โดยทีมทั้งหมดมาจากเขตกรุงเทพ ผู้ชนะคือ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย โดยการแข่งขันจัดขึ้นเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในการแข่งขันนี้ ทีม ม.กรุงเทพ และ สโมสรฟุตบอลราชนาวีสโมสร เป็นสองทีมใหม่ที่เลื่อนลำดับจาก ดิวิชัน 1 และสิ้นสุดการแข่งขันทีม ทหารอากาศ พร้อมกับ สินธนา ตกอันดับไปอยู่ ดิวิชัน 1
ลำดับ | ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | แต้ม | +/- |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ธนาคารกรุงไทย | 18 | 12 | 2 | 4 | 33 | 18 | 38 | 15 |
2 | บีอีซี เทโรศาสน | 18 | 10 | 4 | 4 | 33 | 22 | 34 | 11 |
3 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา | 18 | 10 | 3 | 5 | 43 | 23 | 33 | 20 |
4 | ม.กรุงเทพ | 18 | 9 | 4 | 5 | 26 | 22 | 31 | 4 |
5 | การท่าเรือฯ | 18 | 9 | 1 | 8 | 29 | 28 | 28 | 1 |
6 | ธนาคารกรุงเทพ | 18 | 7 | 5 | 6 | 28 | 21 | 26 | 7 |
7 | ราชนาวีสโมสร | 18 | 5 | 4 | 9 | 18 | 27 | 19 | -9 |
8 | พนักงานยาสูบ | 18 | 4 | 7 | 7 | 16 | 18 | 19 | -2 |
9 | ทหารอากาศ | 18 | 4 | 4 | 10 | 14 | 38 | 16 | -24 |
10 | สินธนา | 18 | 2 | 2 | 14 | 18 | 41 | 8 | -23 |
[แก้] ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2547/48
ในการแข่งขันนี้มีอยู่ 10 ทีมร่วมแข่งขัน โดยทีมทั้งหมดมาจากเขตกรุงเทพ ผู้ชนะคือ สโมสรฟุตบอลพนักงานยาสูบ โดยการแข่งขันจัดขึ้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ในการแข่งขันนี้ ทีม การไฟฟ้าฯ และ ทีโอที เอฟซี เป็นสองทีมใหม่ที่เลื่อนลำดับจาก ดิวิชัน 1 และสิ้นสุดการแข่งขันทีม ราชนาวีสโมสร พร้อมกับ ทีโอที ตกอันดับไปอยู่ ดิวิชัน 1
ลำดับ | ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | แต้ม | +/- |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | พนักงานยาสูบ | 18 | 9 | 7 | 2 | 26 | 11 | 34 | 15 |
2 | การไฟฟ้าฯ | 18 | 9 | 5 | 4 | 23 | 19 | 32 | 4 |
3 | สโมสรฟุตบอลโอสถสภา | 18 | 9 | 5 | 4 | 34 | 20 | 32 | 14 |
4 | การท่าเรือฯ | 18 | 7 | 5 | 6 | 26 | 27 | 26 | -1 |
5 | ธนาคารกรุงไทย | 18 | 6 | 7 | 5 | 24 | 22 | 25 | 2 |
6 | บีอีซี เทโรศาสน | 18 | 6 | 7 | 5 | 19 | 18 | 25 | 1 |
7 | ม.กรุงเทพ | 18 | 5 | 7 | 6 | 16 | 21 | 22 | -5 |
8 | ธนาคารกรุงเทพ | 18 | 5 | 5 | 8 | 25 | 28 | 20 | -3 |
9 | ทีโอที เอฟซี | 18 | 3 | 7 | 8 | 20 | 25 | 16 | -5 |
10 | ราชนาวีสโมสร | 18 | 3 | 1 | 14 | 11 | 33 | 10 | -23 |
[แก้] ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549
[แก้] รางวัล
ทีมชนะเลิศ ได้เงินรางวัล 10,000,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลครอง 1 ปี ทีมรองชนะเลิศได้ 3,000,000 บาท อันดับสามได้ 2,000,000 บาท และ อันดับสี่ได้ 1,000,000 บาท
[แก้] ผลคะแนน
ลำดับ | ทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | แต้ม | +/- |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ม.กรุงเทพ | 22 | 11 | 6 | 5 | 25 | 17 | 39 | 8 |
2 | โอสถสภา เอ็ม-150 | 22 | 10 | 8 | 4 | 35 | 20 | 38 | 15 |
3 | บีอีซี เทโรศาสน | 22 | 9 | 9 | 4 | 32 | 14 | 36 | 18 |
4 | พนักงานยาสูบ | 22 | 9 | 8 | 5 | 30 | 24 | 35 | 6 |
5 | ธนาคารกรุงเทพ | 22 | 10 | 4 | 8 | 26 | 28 | 34 | -2 |
6 | ทหารบก | 22 | 7 | 9 | 6 | 31 | 38 | 30 | -7 |
7 | การท่าเรือฯ | 22 | 7 | 7 | 8 | 21 | 28 | 28 | -7 |
8 | ชลบุรี | 22 | 5 | 12 | 5 | 29 | 28 | 27 | 1 |
9 | ธนาคารกรุงไทย | 22 | 5 | 10 | 7 | 22 | 26 | 25 | -4 |
10 | การไฟฟ้าฯ | 22 | 6 | 4 | 12 | 23 | 32 | 22 | -9 |
11 | ไทยฮอนด้า | 22 | 4 | 9 | 9 | 23 | 26 | 21 | -3 |
12 | สุพรรณบุรี | 22 | 4 | 4 | 14 | 18 | 34 | 16 | -16 |
[แก้] ผู้ทำประตูสูงสุด
9 ประตู
- ขวัญชัย เฟื่องประกอบ (พนักงานยาสูบ)
8 ประตู
- ธงชัย รัตนไชย (สุพรรณบุรี)
- พิพัฒน์ ต้นกันยา (บีอีซี เทโรศาสน)
7 ประตู
- พิภพ อ่อนโม้ (ชลบุรี)
- ศุภกิจ จินะใจ (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
- อุบล ไก่แก้ว (ม.กรุงเทพ)
- Coulibaly Cheick Ismael (ไทยฮอนด้า 3, ชลบุรี 4)
6 ประตู
[แก้] เกร็ดข้อมูล
- ลูกฟุตบอลที่ใช้เป็นของไฟว์สตาร์
- ในกฎข้อบังคับ ห้ามชุดนักกีฬามีการโฆษณาเกี่ยวกับบุหรี่
[แก้] อ้างอิง
- ↑ เงียบกริบเงินรางวัลไทยลีกล่องหน ข่าวจากผู้จัดการ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- ข้อมูลข่าวสารไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก จาก soccerthai.net
- กระทู้บอลไทย
- ((อังกฤษ)) สถิติผลฟุตบอล จาก rsssf.com
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (ฤดูกาล 2550) | |
การท่าเรือ | การไฟฟ้าฯ | ชลบุรี | ตำรวจ | ทหารบก | ไทยฮอนด้า | ธนาคารกรุงเทพ | ธนาคารกรุงไทย | บีอีซี เทโรศาสน | พนักงานยาสูบ | ม.กรุงเทพ | ราชนาวีสโมสร | สุพรรณบุรี | โอสถสภา |
ฟุตบอลในประเทศไทย | |
ฟุตบอลชายทีมชาติไทย | ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย | ฟุตซอลทีมชาติไทย | |
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก | โปรลีก | คิงส์คัพ | ควีนสคัพ | ดิวิชัน 1 | ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน |
ฟุตบอลลีกสูงสุด |
พรีเมียร์ลีก เซเรียอา บุนเดสลีกา ลาลีกา ลีกเอิง เจลีก เค-ลีก เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ไทยลีก โปรลีก เอส.ลีก ลีกาอินโดนีเซีย วีลีก ซูเปอร์ลีก |