เทโพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทโพ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
Pangasius larnaudii Bocourt, ค.ศ. 1866 |
|||||||||||||||
|
เทโพ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร
ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช ปลา หอย แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวายด้วย
เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง " แกงเทโพ " มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " หูหมาด " " หูดำ " หรือ " ปึ่ง " ในภาษาเหนือ เป็นต้น
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: วงศ์ปลาสวาย | ปลาไทย | ปลาน้ำจืด | ปลาตู้