Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เกมผจญภัย - วิกิพีเดีย

เกมผจญภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกมผจญภัยเป็น วิดีโอเกมประเภทหนึ่ง ที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งและต้องกระทำเป้าหมายในเกมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยเน้นไปที่การแก้ปริศนา โดยส่วนมากปริศนาในเกมจะเน้นใช้ตรรกะแก้ปัญหาและใช้สิ่งของที่ผู้เล่นเก็บมาระหว่างผจญภัย นอกจากนั้นผู้เล่นยังคงต้องพูดคุยกับตัวละครตัวอื่นๆอีกด้วย โดยส่วนมากเกมผจญภัยมักจะถูกสร้างมาให้สำหรับเล่นคนเดียว เพราะเนื้อเรื่องและการลำดับเหตุการณ์เหมาะสำหรับเล่นคนคนเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ดีคำว่า เกมผจญภัย นั้นเป็นคำจำกัดความที่กว้าง หลายๆครั้งที่ผู้คนมักจะเข้าใจผิดและเรียกเกมที่มีส่วนผสมของเกมผจญภัยว่าเป็นเกมผจญภัย(เช่น Bio Hazard, The Legend of Zelda)

สารบัญ

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] Colossal Cave Adventure

เกมผจญภัยเริ่มขึ้นช่วงปี 1970 William Crowther พนักงานของบริษัท BB&N สร้างเกม Colossal Cave Adventure เกมผจญภัยเกมแรกขึ้น โดยใช้คุณลักษณะของเกมแบบข้อความนั่นคือ ถ้าอยากเดินต้องพิมพ์ Move ถ้าอยากคุยก็ต้องพิมพ์ Talk พื้นฐานทุกอย่างอยู่ที่การพิมพ์ เกมนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนได้ Don Woods มาช่วยโปรแกรมมิ่งอีกแรงหนึ่ง จุดเด่นของเกม Colossal Cave Adventure นั้น คือเกมผจญภัยในถ้ำ เต็มไปด้วยดาบและเวทย์มนตร์ หลังจากนั้นแฟนเกมของ Colossal Cave Adventure ชื่อ Scott Adams เริ่มพัฒนาเกมแบบเวคเตอร์กราฟฟิค โดยใช้การประมวลผลที่สูงขึ้น เขาเขียนโปรแกรมให้ Colossal Cave Adventure สามารถเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านได้ หลังจากนั้น ในช่วงปี ค.ศ. 1978 Scott ก่อตั้ง Adventure International ผลิตเกมผจญภัยออกมา 12 เกม ก่อนจะล้มละลายในปี 1985

[แก้] Zork

เพื่อนรักสองคน Dave Lebling และ Marc Blank แห่งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเมสซาชูเซท ได้พยายามสร้างเกมแบบ Colossal Cave Adventure ขึ้น โดยร่วมทีมกับ Tim Anderson และ Bruce Daniels พวกเขาสร้างเกมผจญภัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดการ Zork หลังจากเรียนจบ Tim Anderson, Joel Berez, Marc Blank, Mike Broos, Scott Cutler, Stu Galley, Dave Lebling, J. C. R. Licklider, Chris Reeve, และ Albert Vezza ก่อตั้งบริษัท Infocom ขึ้น ในปีค.ศ. 1979 สิ่งแรกที่พวกเขาทำคือวางขายเกม Zork แต่พวกเขาก็ต้องทำการสร้างใหม่ เพราะ Zork เก่ามีขนาดใหญ่เกินกว่าจะบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ ซึ่งทางออกของพวกเขาคือแบ่งเกมออกเป็นตอนๆ ในที่สุดเกม Zork 1 : The Great Underground Empire ก็วางขาย พวกเขาสามารถขายได้ถึง 1ล้านตลับ

[แก้] Sierra

ภาพของ Roberta Williams
ภาพของ Roberta Williams

หลังจากที่ยุคคอมพิวเตอร์แบบสองสีใกล้จะจบลง สามีภรรยาครอบครัว Williams ซึ่ง Ken Williams ผู้เป็นสามีเปิดบริษัทโปรแกรมมิ่งสำหรับเครื่อง Apple II จนวันหนึ่งเขาและภรรยาของเขา Roberta Willams ได้ลองเล่นเกม Colossal Cave Adventure และ Roberta ก็ชอบมันมาก ในที่สุดเธอได้เสนอกับสามีของเธอให้ทำเกมผจญภัยโดยให้มีภาพขึ้นในจอด้วยและนั่นคือต้นกำเนิดของเกมผจญภัยแบบกราฟฟิค ในที่สุด Ken และ Roberta ตัดสินใจเปิดบริษัท On-Line Systems และ Roberta ได้สร้างเกมแรกของเธอคือ Mystery House ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก And Then There Were None ของ อาการ์ธ่า คริสตี้ (ซึ่งเกมนี้ถูกคิดขึ้นระหว่างการรับประทานอาหารเย็น) โดยเกมนั้นเป็นเกมผสมกันระหว่างเกมแบบ Text Based แต่มีภาพขึ้นในจอช่วยให้ผู้เล่นเข้าใจเกมได้มากขึ้น เกม Mystery House ขายได้ถึง 80,000 ตลับ ตลับละ 25.95 เหรียญ จนเมื่อมาถึงยุคของจอ 4 สี โรเบอร์ต้าก็สร้างเกมผจญภัยอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Wizard and the Princess, Mission Asteroid และ Time Zone (ซึ่งเป็นเกมผจญภัยสุดทะเยอทะยานในยุคนั้น สนนราคาตลับละ 99 เหรียญ ซึ่งแพงกว่าคนยุคนั้นจะจ่ายได้) โดยที่ Ken รับหน้าที่วาดรูปให้ หลังจากที่เกมของ On-Line Systems ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด บริษัทตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น Sierra On-Line Systems ในปี ค.ศ. 1982 Roberta ได้สร้างเกมทีมี่ชื่อต่อท้ายว่า Quest โดยได้แก่ King’s Quest, Space’s Quest, Police’s Quest, Quest for Glory และยังมีเกมอื่นๆอีกทั้งอย่าง Leisure Suit Larry หรือ Gabriel Knight โดยเกมหลังๆส่วนมากจะเป็นเกมแบบกราฟฟิค ไม่ใช่การวาดภาพเหมือนที่ผ่านมา ซีรี่ส์ของ Quest ได้รับความนิยมมาก มีการสร้างภาคต่อมากมาย

ภาพจากเกม Maniac Mansion เกมแรกของโลกที่ใช้ระบบ SCUMM
ภาพจากเกม Maniac Mansion เกมแรกของโลกที่ใช้ระบบ SCUMM

[แก้] Lucasarts

หลังจากที่ Sierra On-Line Systems ครองตลาดเกมผจญภัยแต่เพียงผู้เดียว ในปี ค.ศ. 1987 โปรแกรมเมอร์ชื่อ Ron Gilbert จากบริษัท Lucasfilm Games ได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า SCUMM (มาจากคำว่า Script Creation Utility for Maniac Mansion) เป็นระบบแทนที่จะใช้การพิมพ์คำสั่งในการกระทำต่างๆ พวกเขากลับเลือกใช้เมาส์ในการเลือกคำสั่งแทน (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของเกมแบบพิมพ์) โดยระบบหลักๆของ SCUMM นั้นตัวเกมจะมีแผงคำสั่งอยู่ด้านล่าง โดยแผงคำสั่งนั้นจะเป็นคำสั่งทั่วๆไป เช่น เปิด ใช้ เก็บ คุย ซึ่ง Ron Gilbert ได้พัฒนาระบบนี้สำหรับเกม Maniac Mansion และ Zak McKracken and The Alien Mindbender ซึ่งเป็นเกมแบบ 16 สี และเมื่อถึงยุคของ สี 256 สีและ Windows 3.1 เกมอย่าง Monkey Island (ในชื่อของ The Secret of Monkey Island) และ Indiana Jones and The Fate of Atlantis ก็ถูกพัฒนาขึ้น (ซึ่งระบบ SCUMM นั้นได้รับความนิยมมาก จนกระทั่งหลายๆเกมหรือแม้แต่ Sierra เองก็หยิบยืมไปใช้ด้วยเช่นกัน) และเมื่อยุคสี 16 บิท และ Windows 95 เริ่มต้นขึ้น สุดยอดเกมที่ทาง Lucasarts (ชื่อใหม่ของ Lucasfilm Games) ร่วมมือกับ Stephen Speilberg นาม The Dig ก็กำเนิดขึ้น โดยเอาเนื้อเรื่องไซ-ไฟของมนุษย์ต่างดาวมาเป็นเกมและในปี 1993 เกมสุดฮาอย่าง Day of the Tentacle (โดยตัวเอกเป็นคนเดิมจาก Maniac Mansion) ในรูปแบบของการ์ตูน เกมสองคู่หูจากหนังสือการ์ตูน Sam & Max เกมผจญภัยของสิงห์หนุ่มนักบิด Full Throttle ก็ออกสู่ตลาด Lucasarts กลายเป็นคู่แข่งอย่างเป็นทางการของ Sierra On-Line System และก่อกำเนิดยุคทองของเกมผจญภัย แต่ทว่าในที่สุดกระแสเกม3มิติก็เพิ่มพูนขึ้น ทำให้เกมผจญภัยแบบเมาส์คลิกถดถอยลง จนในที่สุดเกมอย่าง Grim Fadango ซึ่งใช้คียบอร์ดควบคุมแบบสมบูรณ์ก็วางขายในปีค.ศ. 1998และทำให้ระบบ SCUMM ก็ถูกเลิกใช้และเริ่มใชะระบบแบบ GrimE

[แก้] Myst

ถึงแม้ว่าในช่วงปี ค.ศ. 1991 บริษัท Lucasarts จะครองตลาดเกมผจญภัยขณะนั้น พนักงานของ Cyan Inc. นำโดยสองพี่น้อง Rand และ Robbin Miller ได้ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีล่าสุดขณะนั้นสร้างเกมผจญภัยกึ่ง 3มิติเกมแรกของโลกออกมา คือ Myst

ภาพจากเกม Myst
ภาพจากเกม Myst

ถึงแม้ Myst จริงๆแล้วจะเป็นเกม 2มิติ ฉากและแบ๊คกราวนด์ของมันถูกสร้างโดยการเรนเดอร์แบบ 3มิติ และ Myst ยังถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกเกมแนว Puzzle Adventure (เกมผจญภัยแบบปริศนา) ไม่มีการเก็บของ ไม่มีการพูดคุย มีแต่ปริศนาล้วนๆ แนวของ Myst ได้รับความนิยมอย่างสูง จนในที่สุดก็มีเกมคล้ายๆ Myst ออกมามากมาย และเพราะกระแสความนิยมของ Myst ทำให้เกม Myst มีภาคต่อออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Riven, Myst III: Exile, URU: Ages Beyond Myst, Myst IV: Revelation หรือกระทั่ง Myst V: End of Ages และยังมีภาคนิยายออกขายในชื่อ Myst: The Book of Atrus, Myst: The Book of Ti'ana และ Myst: The Book of D'ni.

[แก้] ยุคตกต่ำ

ในช่วงปี ค.ศ. 1994 อิธิพลของเกม 3มิติ เริ่มมีเข้ามามากขึ้น ตลาดเริ่มหันเหไปในเกมที่เน้นแอ๊คชั่น เพราะการมาของ Half Life ทำให้กระแสของเกมผจญภัยถดถอยลง และยังมีลูกผสมของเกมผจญภัย ทั้ง Resident Evil และ The Legend of Zelda ทำให้หลายๆค่ายเกมต่างเริ่มเล็งเห็นจุดอิ่มตัวของเกมผจญภัย จนในที่สุดสัญญาณแห่งความล้มเหลวก็เกิดขึ้น เมื่อ Sierra ตัดสินใจเปลี่ยนเกม King’s Quest ในภาคที่ 8 ชื่อ Mask of Eternity ให้กลายเป็นเกมแบบ Action Adventure เพื่อหวังกระตุ้นยอดขาย แต่โชคร้ายที่ไม่เพียงแต่เกมจะออกมาธรรมดามากๆแล้วบรรดาแฟนเก่าของเกมนี้ต่างต่อว่าและไม่ยอมรับที่ทาง Sierra ทำลายเกมผจญภัยสุดคลาสสิคนี้ และทำให้ Roberta Williams ต้องออกไปพักผ่อนและเขียนนิยาย เธอคอยว่าเมื่อไหร่ที่เกมผจญภัยจะเข้าที่เหมือนเดิม และไม่เพียงแต่ King’s Quest เท่านั้น ซีรี่ส์ Quest อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Police’s Quest ที่กลายมาเป็น Police’s Quest Swat II (เกมแนววางแผนการรบ) และ Quest for Glory ที่ไม่ได้รับความนิยมแม้แต่น้อย สัญญาณอันตรายต่อมาของเกมผจญภัยคือการลาออกจากวงการเกมของเหล่านักพัฒนามือฉมัง ไม่ว่าจะเป็น Ron Gilbert, Tim Scafer, Al Lowe เริ่มออกจากบริษัทของพวกเขา รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Lucasarts ก็เริ่มสร้างเกมผจญภัยน้อยลง จนกระทั่งมาถึงเกมสุดท้ายอย่าง Escape from Monkey Island (ค.ศ. 2000) และ Lucasarts ก็ยกเลิกแผนการสร้างเกมผจญภัยทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภาคต่อของ Full Throttle หรือ Sam & Max

[แก้] ในปัจจุบัน

เกมผจญภัยกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 2001 เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จากยุโรปได้เริ่มสร้างเกมผจญภัยของตัวเองออกมามากมาย (ตรงกันข้ามกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเลิกผลิตเกมผจญภัยแล้ว) ไม่ว่าจะเป็น Syberia, Amerzone หรือ The Longest Journey ทำให้เกมผจญภัยกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง รวมทั้งในปัจุบันเกมประเทศญี่ปุ่นก็มีการสร้างเกมผจญภัยขึ้นมาให้กับเครื่อง นินเทนโด ดีเอส อย่างเช่น เกียคุเทนไซบัน, Trace Memory และ Touch Detective

[แก้] ระบบหลักๆของเกมผจญภัย

เกมผจญภัยเกือบทุกเกมในโลก มักจะมีพื้นฐานการเล่นคล้ายๆกัน โดยส่วนมากผู้เล่นจะได้รับมอบหมายงานมา 1 ชิ้นแล้วต้องไปปริศนาของงานนั้น จึงจะไปสู่งานต่อไปได้ และต้องเก็บของแทบทุกชิ้นที่พบเพื่อนำไปใช้ไขปริศนาสำหรับงานต่อไป

[แก้] การเคลื่อนที่

เกมผจญภัยจะต่างจากเกมแอ็กชั่นหรือเกมสวมบทบาท ตรงที่ว่าผู้เล่นจะมีขอบเขตการเคลื่อนไหวที่จำกัด ถึงแม้สภาพการจะดูเหมือนผู้เล่นจะเคลื่อนที่ไปตรงนั้นได้ก็ตาม ตรงข้ามกับเกมแบบFirst Person Shooter ซึ่งผู้เล่นสามารถเดินไปแทบทุกที่ของพื้นที่ได้ (ถึงแม้จะทำให้ตกเหวตายก็ตาม)

[แก้] การมีปฏิสัมพันธ์

ในเกมผจญภัยเกือบทุกเกม ถ้าเกมนั้นมีตัวละครที่ไม่ใช่ศัตรู ผู้เล่นจะสามารถเข้าไปคุยกับบุคคลนั้นได้ ซึ่งบางเกมก็จะให้คุยไม่กี่ประโยค บางเกมจะให้เลือกคำตอบหรือคำพูดที่ต้องการพูดได้ ซึ่งการพูดคุยนั้นนอกจากทำให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปแล้ว ตัวละครบางตัวจะให้สิ่งของที่จำเป็นสำหรับการไขปริศนาต่อไปอีกด้วย

[แก้] การรวบรวมสิ่งของ

สิ่งที่ผู้เล่นเกมผจญภัยทุกคนพึงจะมีนั้นคือนิสัยเก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถเก็บได้ ในเกมผจญภัยการเก็บสิ่งของนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะปริศนาบางชิ้นหรือบุคคลบางคนในเกมจะมีปฏิสัมพัธ์กับผู้เล่นก็ต่อเมื่อมีวัตถุที่กำหนด ดังนั้นการพยายามรวบรวมวัตถุให้มากที่สุดจะเป็นนิสัยของนักเล่นเกมผจญภัยทุกคน สิ่งที่ทำให้การรวบรวมสิ่งของในเกมผจญภัยต่างจากเกมอื่นๆนั้นตรงที่ สิ่งของทุกชิ้นในเกมมักจะเป็นสิ่งของสำคัญ ทิ้งไม่ได้ และมีเพียงชิ้นเดียว (ต่างจากไอเท็มในเกมสวมบทบาทหรืออาวุธในเกมแอ็กชั่น)

[แก้] การไขปริศนา

เกมผจญภัยผู้เล่นมักจะต้องใช้สมองมากหน่อยในการไขปริศนา เหมือนดังที่ Guybrush Threepwood จากเกม Monkey Island เคยกล่าวไว้ว่า “กึ๋นของเจ้าต้องคมกว่าดาบของเจ้า” โดยส่วนมากปริศนาในเกมผจญภัยมักจะไม่ใช่การดันกล่องหรือการหากุญแจแบบธรรมดา ปริศนาในเกมผจญภัยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ

  1. ปริศนาแบบตรรกะ
    คือปริศนาที่ต้องใช้สมองและการคำนวณในการไขปริศนาออกมา เช่น การคำนวณวิถีโค้งปืนใหญ่, การคำนวณหาระดับอ๊อกซิเจน หรือ การไขปริศนาตู้เซฟ ซึ่งปริศนาประเภทนี้มักจะไม่ต้องใช้สิ่งของมาแก้ปริศนา (ยกเว้นต้องเอาสิ่งของมาใช้เพื่อให้เกิดปริศนา) และมักใช้สภาพรอบด้านเป็นตัวไขปริศนา เกมที่มักมีปริศนาประเภทนี้มักจะเป็นเกม Puzzle Adventure ซะส่วนใหญ่ เช่น Myst
  2. ปริศนาแบบสามัญสำนึก
    คือปริศนาที่ต้องใช้ความคุ้นเคยกับสถานการณ์และวัตถุแก้ปริศนาออกมา โดยส่วนมากมักเป็นปริศนาที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การเอาบัตรแข็งๆสอดข้างประตูเพื่อสะเดาะกลอน, พ่นควันใส่ในห้องเพื่อให้มองเห็นสัญญาณเลเซอร์ หรือ เอาถังดับเพลิงคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มาฉีดใส่แผงวงจรทำให้เกิดการลัดวงจร เกมประเภทนี้โดยส่วนมากมักจะเป็นเกมที่ตัวละครเป็นคนธรรมดา เช่น Nancy Drew, The Moment of Silence, Fahrenheit
  3. ปริศนาเฉพาะตัว
    คือปริศนาที่เกิดขึ้นได้เฉพาะในเกมเท่านั้น ไม่สามารถเกิดได้ในโลกจริง ปริศนาประเภทนี้ผู้เล่นต้องใช้จินตนาการที่สูงมาก จนหลายๆครั้งผู้เล่นอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้ เช่น ปริศนา "สวม" สุนัข, ปริศนากดไดรฟ์ซีดีรอม หรือ การเอาตุ้มหู, สร้อย ไปให้หุ่นหัวเรือ ปริศนาประเภทนี้โดยส่วนมากมักพบในเกมที่มีเนื้อหาอยู่บนโลกจินตนาการ เช่น Simon the Sorcerer, Monkey Island, The Legend of Kyrandia

[แก้] ความตาย

เกมผจญภัยบางเกมจะให้ผู้เล่นสามารถตายได้ แต่ต่างจากเกมอื่นๆ เกมผจญภัยจะให้ผู้เล่นตายได้ในเฉพาะจุดที่กำหนดเท่านั้น ตราบใดที่ผู้เล่นยังไม่ถึงจุดที่จะตายผู้เล่นจะไม่สามารถตายได้ แต่โดยส่วนมาเกมผจญภัย มักจะไม่ให้ผู้เล่นตายเพื่อจะได้มีเวลาไขปริศนา

[แก้] เนื้อหา

เกมผจญภัยส่วนมากมักจะมีเนื้อหาค่อนข้างเบา, มีความรุนแรงต่ำและเน้นไปที่มุขและคำพูดตลกขบขัน ทำให้เกมผจญภัยส่วนมากมักจะเล่นได้ทุกวัย แต่ถึงกระนั้นเกมผจญภัยบางเกมก็สร้างเนื้อหาให้โหดร้าย หรือกระทั่งใช้คำหยาบคายเต็มไปหมด รวมทั้งบางเกมยังมีเรื่องของศพ, เลือดและภาพคนเปลือยกาย ซึ่งรุนแรงพอๆกับเกมแอ็กชั่นเลยทีเดียว

[แก้] ระบบอื่นๆ

นอกเหนือจากระบบหลักๆในข้างต้น เกมผจญภัยบางเกมได้ใส่ระบบอื่นไว้ เช่น ระบบกดปุ่มตามจังหวะ (Fahrenheit), ระบบต่อสู้ (Dreamfall: the Longest Journey), ระบบทิ้งสิ่งของ (The Legend of Kyrandia), ระบบเวลาจริง (The Last Express) หรือ ระบบค่าประสบการณ์ (Quest for Glory)

[แก้] ประเภทของเกมผจญภัย

เกมผจญภัยนั้นมีหลากหลายประเภท แบ่งออกได้ใหญ่ๆเป็น 3 ประเภทดังนี้

[แก้] Text Based Adventure

คือเกมผจญภัยที่ใช้การพิมพ์เป็นสำคัญ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เกมประเภทนี้ผู้เล่นต้องอ่านภาษาอังกฤษค่อนข้างแข็งเพราะตัวเกมบรรยายเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และจินตนาการต้องกว้างพอที่จะสร้างภาพในหัวได้เพราะเกมนี้ไม่มีการแสดงภาพ ระบบพิมพ์ในเกมถูกเรียกอีกอย่างว่า Parser Interface

ภาพจากเกม King's Quest I: Quest for the Crown ซึ่งเป็นแกมแรกๆที่ผสมระบบ Parser Interface เข้ากับ Graphical Adventure
ภาพจากเกม King's Quest I: Quest for the Crown ซึ่งเป็นแกมแรกๆที่ผสมระบบ Parser Interface เข้ากับ Graphical Adventure

[แก้] Graphical Adventure

หรือเรียกอีกอย่างว่า Point 'n Click Adventure คือประเภทเกมผจญภัยที่มีการผลิตออกมาเยอะที่สุด เพราะมีการแสดงภาพ ทำให้ผู้เล่นสามารถรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอ่านได้ เกมประเภทนี้ช่วงแรกๆจะผสมกับระบบ Parser Interface (อย่าง Mystery House) แต่พอหลังจากที่ Lucasarts พัฒนาระบบ SCUMM ขึ้นมา เกมประเภท Point 'n Click ก็เกิดขึ้นมามากมาย (แม้กระทั่ง Sierra เคยเอาระบบนี้ไปใช้กับเกม Quest ภาคแรกๆของพวกเขาที่เอามาสร้างใหม่ด้วย) จนเมื่อมาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในยุคของเกม 3มิติ เกมใช้เมาส์ก็เริ่มลดลง ผู้พัฒนาหลายๆคนจึงเริ่มนำระบบการเดินแบบเกมแอ๊คชั่นมาใช้ ทำให้ทุกวันนี้เกมประเภทนี้จะถูกเรียกว่า Graphical Adventure

[แก้] Puzzle Adventure

หลังจากที่ Myst วางขาย เกมหลายๆเกมก็เริ่มตามรอย Myst เกมประเภท Puzzle จะไม่มีการเก็บของ, ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นๆ มีแต่การไขปริศนาอย่างเดียว เกมปรเภทนี้นอกจาก Myst แล้วยังมีเกมอย่าง Pyst (เกมล้อ Myst), Schizm และ Riddle of the Sphinx

[แก้] เกมผจญภัยที่น่าสนใจประเภทเกมชุด

  • เกมชุด Monkey Island
  • เกมชุด Gabriel Knight
  • เกมชุด King's Quest
  • เกมชุด Broken Sword
  • เกมชุด Discworld
  • เกมชุด Nancy Drew
  • เกมชุด Myst
  • เกมชุด The Legend of Kyrandia
  • เกมชุด Indiana Jones
  • เกมชุด Simon the Sorcerer
  • เกมชุด The Longest Journey

[แก้] เกมผจญภัยที่น่าสนใจที่ไม่ใช่เกมชุด

  • Fahrenheit (หรือ Indigo Prophecy ใน ประเทศสหัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา
  • Grim Fandango
  • The Dig
  • The Neverhood
  • Beneath a Steel Sky
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com