สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด | |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 |
สถานที่ตั้ง | 998/1 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | สุรางค์ เปรมปรีดิ์ กรรมการผู้จัดการ |
อุตสาหกรรม | สื่อสารมวลชน |
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ | สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |
ยอดขาย | ไม่ทราบ |
พนักงาน | ไม่ทราบ |
เว็บไซต์ | www.ch7.com |
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (Bangkok Broadcasting Television Channel 7) หรือ ช่อง 7 สี เป็นสถานีโทรทัศน์สี แห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กองทัพบก ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เป็นผู้นำด้านรายการละคร และรายการกีฬา ในประเทศไทย มีคำขวัญว่า "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ"
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ CCIR 625 เส้น ในระบบ PAL เป็นครั้งแรกของไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ด้วยการ ถ่ายทอดสด การประกวดนางสาวไทย ที่จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จาก พระราชวังสราญรมย์
จากนั้น จึงได้เปิดสถานีออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2511 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้ทำสัญญา มอบ เครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ ให้แก่กองทัพบก พร้อมทั้ง ทำสัญญาเช่า เพื่อดำเนินการบริหาร สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ได้ใช้ห้องส่งร่วมกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ชั่วคราวก่อน ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ก็นำไปติดตั้งในรถเมล์ จำนวน 3 คัน โดยรื้อที่นั่งออกทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงได้ย้ายเข้าไปยัง อาคารที่ทำการถาวร บริเวณด้านหลัง สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) แห่งเก่า
ในปี พ.ศ. 2521 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียม ปาลาปา ของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณ จากกรุงเทพมหานคร ไปสู่ สถานีเครือข่ายของทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้เช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย
ในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้ริเริ่ม การใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียม ใช้ย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และ รถถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว ถ่ายทอดสด งานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และ เหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
[แก้] รายการประเภทข่าว
ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง
ปัจจุบัน รายการข่าว ของ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นำเสนอข่าวสาร แบบ เกาะติดสถานการณ์ ตลอดทั้งวัน ทางรายการ ข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ รวมถึง ข่าวเด็ด 7 สี และ เด็ดข่าวดึก ซึ่งได้ทำหน้าที่กระจก ที่สะท้อนวิถีชิวิต และสภาพปัญหา ของประชาชน ในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น ข่าวช่วยชาวบ้าน สกู๊ปชีวิต ด้วยลำแข้ง รายงานของ นายคำรณ หว่างหวังศรี ตลอดรวมถึง สะเก็ดข่าว และ ภาพกีฬามันมันส์ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม
ตลอดระยะเวลา เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ ได้เก็บรักษา และรวบรวม แฟ้มข่าวในประเทศ และ แฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่า ไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บที่รัดกุม จนมีการก่อตั้ง ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์ ของสถานีฯ ขึ้น เพื่อให้บริการ แฟ้มข่าว และ แฟ้มภาพข่าว ดังกล่าว แก่ สถานีโทรทัศน์ และ สำนักข่าวต่างประเทศ
[แก้] รายการประเภทละคร
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] รายการประเภทกีฬา
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] สถานีถ่ายทอดสัญญาณส่วนภูมิภาค และ ศูนย์ข่าวภูมิภาค
เมื่อปี พ.ศ. 2516 สถานีฯ ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้ง สถานีถ่ายทอดสัญญาณในส่วนภูมิภาค จนถึงปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
|
|
นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มในการจัดตั้ง ศูนย์ข่าวภูมิภาค เพื่อรายงานข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ให้ประชาชนทั่วประเทศ ได้รับทราบไปพร้อมๆ กับคนในท้องถิ่น ขณะนี้ มีรวม 9 แห่ง ได้แก่
|
|
โดยมี ศูนย์ข่าวภูมิภาค 4 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดระยอง และ อำเภอหาดใหญ่ เป็นศูนย์ข่าวหลัก ในการรายงานข่าว และแพร่ภาพออกอากาศ