จังหวัดนครราชสีมา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ความหมายอื่นของ นครราชสีมา ดูที่ นครราชสีมา (แก้ความกำกวม)
สถิติ | |
---|---|
อำเภอเมือง: | อำเภอเมืองนครราชสีมา |
พื้นที่: | 20,494.0 ตร.กม. อันดับที่ 1 |
ประชากร: | 2,548,531 (พ.ศ. 2549 เมษายน) อันดับที่ 2 |
ความหนาแน่น: | 124 คน/ตร.กม. อันดับที่ 34 |
ISO 3166-2: | TH-30 |
ผู้ว่าราชการจังหวัด: | นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2548) |
แผนที่ | |
จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกชื่อที่เป็นที่รู้กคือ โคราช มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดนครนายก, จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
เชื่อว่าในจังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่มีเมืองโบราณอยู่เป็นจำนวนมาก และเคยเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรขอม มีชื่อว่า เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ต่อมามีการสร้างเมืองโคราฆปุระ อยู่ใกล้กัน
อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่า ไม่ว่าเมืองเก่าจะเป็นมาอย่างไรก็ตาม แต่คำว่านครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร+ราชสีมา แปลได้ตรงตัวว่า เมืองใหญ่(นคร)อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร(ราช+สีมา) ตรงกับความในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา ติดกับชายแดนลาว จึงทรงให้มีการย้ายเมืองไปสร้างเมืองใหม่นามว่า เมืองนครราชสีมา โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศษเป็นคนออกแบบ ซึ่งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวด้านละประมาณ 1 กิโลเมตร มีการสร้างประตูเมือง หอรบ และขุดคูเมือง ตามหลักยุทธศาสตร์การรบด้วยอาวุธสั้นในสมัยนั้น
ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หราด , ไทยกลาง: โค-ราด) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก 'ครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมา แบบย่อๆของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ
ช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มีบทบาทในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ และผู้นำในการช่วยเหลือคือ คุณหญิงโม ได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี
ดูเพิ่ม ประตูเมืองนครราชสีมา , ท้าวสุรนารี
[แก้] ประชากร
เข้าใจว่าประชากรดั้งเดิมของนครราชสีมา แต่ก่อนคงเป็นขอมอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมามีพวกมอญได้อพยพมาอยู่อาศัยบ้าง กลุ่มชาวไทยได้อพยพเข้ามาในภายหลังสมัยอยุธยา สำหรับชาวลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชการที่ 3 แห่งราชวงษ์จักรี โดยการกวาดต้อนเข้ามาอยู่เนื่องจากสงคราม
ประชากรหลักได้แก่ ชาวไทยโคราช และไทยลาว(ชาวอิสาน)
[แก้] ไทยโคราช
เป็นชาติพันธ์ไทยอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ เป็นชนกลุ่มใหญ่และมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา ใช้ภาษาเหมือนกับชาวไทยในภาคกลาง แต่สำเนียงแตกต่างไปบ้าง สำเนียงค่อนข้างเหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง บางคำใช้ภาษาไทยลาวปะปนบ้างเล็กน้อย มักใช้ไม้เอกแทนไม้โท เช่น เสื้อ เป็น เสื่อ เป็นต้น แต่รากศัพท์ทั่วไปตรงกับภาษาไทยกลาง ไทยโคราชยึดธรรมเนียมประเพณี และการแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้าอาหารทั่วไปคล้ายไทยภาคกลาง
[แก้] ไทยลาว(ชาวอิสาน)
ไทยลาวเป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังมีจำนวนมากรองจากไทยโคราชอาศัยอยู่ในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน เป็นต้น ไทยลาวพูดภาษาอีสาน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอิสานทั่วไป
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 26 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ 293 ตำบล 3423 หมู่บ้าน
|
|
[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงจากนครราชสีมา
[แก้] บุคคลในประวัติศาสตร์
[แก้] นักกีฬา
- ไก่ชน ส.วรพิน
- นภา เกียรติวันชัย
- พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์
- รัตนชัย ส.วรพิน
- สกัด พรทวี
- อุดมพร พลศักดิ์ - นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
[แก้] นักวิชาการ
- ชัยคุปต์ - นักเขียน
- สิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
[แก้] อื่นๆ
[แก้] ภูมิศาสตร์
ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูล
ตัวเมืองประกอบด้วยประตูเมือง 4 ทิศ คือ ประตูชุมพล (ทิศตะวันตก), ประตูพลแสน (ทิศเหนือ - อีกชื่อคือประตูน้ำ), ประตูพลล้าน (ทิศตะวันออก) และประตูชัยณรงค์ (ทิศใต้-อีกชื่อคือประตูผี) ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 4 สระ คือ สระแก้ว, สระแมว, สระขวัญ และสระบัว
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: สาธร (Millettia leucantha)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ประสาทหิน ดินด่านเกวียน
- อักษรย่อ: นม
[แก้] การศึกษา
จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาชั้นสูงหลายแห่ง
ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยนครราชสีมา
ระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่ วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง วิทยาลัยการอาชีพพิมาย และมีสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นอีกได้แก่วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เป็นต้น
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้] อุทยาน
[แก้] ห้างสรรพสินค้า
จังหวัดนครราชสีมามีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง เช่น เดอะมอลล์ โลตัส บิ๊กซี แมคโคร คลังพลาซ่า(เก่า-ใหม่) ไอทีพลาซ่า